หลักพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์

บทที่ 4


หลักพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์



ทฤษฎีการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ( 2520 : 227 )

1. ให้มนุษย์มีความสุข ( Happy )

2. ให้การยอมรับแก่เพื่อนมนุษย์ ( Acceptable )

3. ให้เพื่อนมนุษย์ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ( Productivity )

จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่า ทุกชีวิตที่เกิดขึ้นมา และกำลังดำเนินอยู่ แม้ว่าทุกคนจะมีความแตกต่างกันแต่ทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน ต่างก็ต้องการให้ตัวเองมีความสุขปราศจากโรคภัยเบียดเบียนมีร่างกายที่สะอาดและงามตามที่ธรรมชาติกำหนด มนุษย์ทุกคนมีความต้องการสิ่งต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวกสบายให้แก่บุคคล ดังเช่น แนวความคิดของมาสว์โล เมื่อความต้องการลำดับต้นๆ ได้รับการตอบสนองแล้วมนุษย์ก็จะต้องการสิ่งอื่นๆ อีก จนไปถึงขั้นสุดท้ายก็เพื่อจะรู้ว่าแท้จริงแล้วในความเป็นมนุษย์นี่เราต้องการและปรารถนาอะไร ในการอยู่ร่วมกันกับคนอื่นๆ บุคคลยังต้องการการยอมรับและต้องการให้เพื่อนมนุษย์ได้รับประโยชน์ร่วมกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้นมนุษย์ปฏิเสธการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ได้และเพื่อให้เป็นที่รักของคนอื่นเราทุกคนก็ต้องพัฒนาตน แนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาตนได้คือการสร้างความมีมนุษยสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ คือ

1. การจะสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นให้ดีได้สิ่งสำคัญคือ เราต้องสำรวจตัวเราเองก่อนว่าเรามีจุดดีจุดด้อยอย่างไร แล้วจึงพัฒนาตน

2. ศึกษาจากตำรา เอกสาร สื่อต่างๆ ที่ทำให้เราเห็นตัวแบบในการแสดงบุคลิกภาพแล้ว ฝึกหัดการเป็นคนช่างสังเกตจะทำให้เราเกิดการเรียนรู้และแสดงพฤติกรรมได้ถูกต้องตาม กาลเทศะ

3. พยายามปรับปรุงบุคลิกภาพของตนอยู่เสมอ ตั้งแต่เส้นผม จนถึงปลายเท้าเราต้องดี รักษาความสะอาดของร่างกายเสื้อผ้าอาภรณ์ให้ดี รู้จักแต่งตัวตามยุคตามสมัย ไม่เชยจนเกินไปและไม่ล้ำยุคล้ำแฟชั่นจนดูไม่ดีนัก

4. ฝึกพูดจาให้เป็น พูดอย่างสร้างสรรค์ สื่อความชัดเจนตรงไปตรงมา จริงใจ ในคำพูด ควรอ่อนน้อม ไม่แข็งจนเกินไป ไม่ใช้อำนาจในคำพูดแม้ว่าเราจะมีอำนาจก็ตาม

5. หัดเป็นผู้กระทำสิ่งใดๆ ให้ผู้อื่นบ้าง เช่น รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ให้การยอมรับนับถือ ให้

เกียรติ รู้จักเคารพผู้อาวุโสกว่า รู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่เอาเปรียบคนอื่นเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย บ้างครั้งเป็นผู้นำได้ บางครั้งก็เป็นผู้ตามได้ ทำตัวให้คงเส้นคงวา มีความมั่นคงทางอารมณ์เป็นต้น

6. ให้ตระหนักเสมอว่าเราอยู่ตัวคนเดียวในโลกไม่ได้เราต้องสัมพันธ์กับคนอื่นเมื่อจะต้องอยู่

ร่วมกับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือคนในสังคมอื่นๆเช่นที่สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน เราจะต้องปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างดี ให้เกียรติกันและกัน สิ่งที่เราปฏิบัติให้กับผู้อื่นเราก็จะได้สิ่งนั้นคืนเช่นกัน แต่ถ้าเผอิญเราไม่ได้สิ่งดีๆตอบก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเลิกยึดถืดแนวปฏิบัติให้ยอมรับว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ถูกอบรมเลี้ยงดูมาไม่เหมือนกัน เราทำอะไรกับใคร ไม่จำเป็นต้องหวังสิ่งที่จะกลับมา เช่นเราทำดี ก็ให้รู้ว่าเราต้องการที่จะทำดี แต่ไม่ได้หมายความว่าดีนั้นต้องสนองเรา จงทำตัวเหมือนงูที่ลอกคราบแล้วทิ้งคราบมันฉันใด ความดีก็เช่นกัน ทำแล้วเรารู้สึกภูมิใจ สุขใจนั่นคือสิ่งที่เราได้แล้ว ส่วนใครจะเห็นหรือไม่เห็นไม่ใช่สาระ

7. การสร้างความสัมพันธ์โดยใช้หลักศาสนาก็ทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขได้ เช่น หลักธรรมในเรื่องสังคหวัตถุ 4 ก็จะอธิบายเรื่องการแบ่งปัน การให้ความช่วยเหลือคนอื่น การพูดจริง การพูดไพเราะน่าฟัง การปฏิบัติตนให้มีค่ามีประโยชน์ต่อคนอื่นและมีความเสมอต้นเสมอปลายในการปฏิบัติตน นอกจากนี้ก็มีเรื่องทิศ 6 ที่อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลว่าแต่ละคนควรจะปฏิบัติตนอย่างไรหรือแม้กระทั่งหลักธรรมในเรื่องสัปปุริสธรรม 7 ประการอันได้แก่คุณธรรมหรือแนวทางการปฏิบัติของคนดีที่พึงปฏิบัติ

8. การศึกษาแนวความคิดทางจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ทฤษฎีต่างๆ ก็จะเป็นแนวทางให้ตัวเราบุคคลพัฒนาและปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองได้ เช่น ในทางจิตวิทยาอธิบายเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องรู้จักยอมรับนับถือ มีความจริงใจ รู้จักเปิดเผยตนเอง รู้จักการสร้างสัมพันธภาพในขณะนั้น และรู้จักที่จะเผชิญหน้ากับคนอื่น ทำตัวให้เข้ากับใครง่ายๆ เป็นต้น

9. การให้ความร่วมมือกับคนอื่น ๆ ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ไม่ใช่สร้างวันสองวันแต่เป็น

การสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนาน และแบบของพฤติกรรมเราเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ของสังคม เราเป็นคนมือไม่นิ่งช่วยเหลือคนอื่นอย่างเต็มใจ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเสน่ห์ให้ใครๆ ก็รัก ใครๆ ก็ปรารถนาที่จะช่วยหรือเกื้อกูล เพราะรู้จักให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเสมอๆ

10. ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ เรียกว่า รักษาคำพูดรักษาเวลา มีความกระตือรือร้นในงานที่ทำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานสนุกอารมณ์ดี

ถ้าบุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นก็จะเกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองได้พัฒนาขึ้นและในเรื่องนี้จะช่วยให้บุคคลสามารถทำงานและอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข

การเริ่มทำงานทุกงานทั้งภาครัฐและเอกชน ความรู้เรื่องมนุษยสัมพันธ์สามารถจะช่วยให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างมั่นใจจากพระบรมราโชวาทในเรื่องงาน “การทำงานยากลำบากกว่าการเรียนยิ่งนัก การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตรหรือเรียนวิชาต่างๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดหลักสูตรให้ แต่สำหรับการทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ ผู้ทำงานต้องศึกษาระบบงานเองและจะต้องใช้ความคิดริเริ่มและความคิดพิจารณาด้วยตนเองในอันที่จะกระทำสิ่งใด อย่างไรเมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาความรู้อยู่กับตัวมากเพียงใด ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวผู้ทำงานนัก ดังนั้นผู้ที่เริ่มจะทำงานใหม่ควรศึกษางานที่จะต้องทำให้ถ่องแท้ มีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลในองค์กรให้ได้ทั้งที่ต่ำกว่าเรา เสมอเราหรือเหนือกว่าเราให้ได้”

พระบรมราโชวาท โดยสรุปนี้ให้กับบัณฑิตใหม่ ที่กำลังจะก้าวไปสู่ตลาดแรงงาน ก้าวไปสู่อาชีพ เพื่อสร้างตัว สร้างฐานะ การศึกษาที่หลายท่านร่ำเรียนมา จะมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ และรายได้ที่ได้มาโดยหยาดเหงื่อของเรา มันจะสร้างความภูมิใจให้กับตัวเรา แต่มีหลายคนที่เมื่อเข้าสู่ระบบงานแล้วไม่สามารถทำงานตามที่ตนมีความรู้ ความสามารถให้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้







ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์

ปรัชญาพื้นฐาน หมายถึง ความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ในเรื่องมนุษย์ ซึ่งมีดังนี้ คือ

1. มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี ในการติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นต้องยอมรับว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าของความเป็นคนเท่ากัน มนุษย์มีความสามารถเฉพาะตัวทุกคนอยากจะได้รับการยอมรับนับถือ การยกย่องสรรเสริญ แต่ไม่ปรารถนาจะได้รับการดูถูกเหยียดหยามไม่ว่าเขาจะเป็นใคร

2. มนุษย์ต้องการการจูงใจ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของมนุษย์ย่อมเกิดจากแรงจูงใจภายใน อันได้แก่ ความต้องการพื้นฐานซึ่งมาสโลว์ กล่าวไว้ในแนวคิดข้อหนึ่งว่า “มนุษย์ทุกคนมีความต้องการและความต้องการเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีที่สิ้น



แนวคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์

แนวคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์เป็นความรู้เบื้องต้น ที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์แนวคิดของมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 3 แนวคิด คือ แนวคิดในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แนวคิดในเรื่องของสังคมไทย และแนวคิดในเรื่องขององค์การ ดังนี้ คือ

1. แนวคิดในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างบุคคล การคำนึงถึงบุคคลในลักษณะผลรวม พฤติกรรมของมนุษย์ย่อมก่อให้เกิดขึ้นได้และจูงใจได้ มนุษย์มีคุณค่าและศักดิ์ศรี มนุษย์มีความซับซ้อน มีรายละเอียดดังนี้

1.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) นอกจากบุคคลจะมีความคล้ายคลึงกันแล้วบุคคลยังมีความแตกต่างกันมากมายหลายประการ

1.2 การคำนึงถึงบุคคลในลักษณะรวม (A whole person) เราไม่อาจศึกษาบุคคลโดยการแยกศึกษาเป็นส่วนย่อย ๆ แต่ละส่วน

1.3 พฤติกรรมเป็นสิ่งก่อให้เกิดขึ้นได้และจูงใจได้ (A eaused behavior) ทางจิตวิทยาเชื่อว่า พฤติกรรมเกิดจากความต้องการ ซึ่งถือว่าความต้องการเป็นแรงขับหรือแรงจูงใจภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรม นอกจากพฤติกรรมจะเกิดจากแรงจูงใจภายในแล้วเรายังสามารถทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมโดยใช้สิ่งจูงใจภายนอกได้

1.4 มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นคน (Dignity) มนุษย์ทุกคนเป็นคนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ฉะนั้นการปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานในองค์การควารเป็นไปในลักษณะของการยกย่องให้เกียรติ สุภาพ อ่อนน้อม ไม่วางอำนาจ หรือขู่บังคับ

1.5 มนุษย์มีความซับซ้อนและมีความผันแปรเป็นอย่างมาก (Complex) มนุษย์เป็นสัตว์ชั้นสูงที่มีความซับซ้อนและพฤติกรรมผันแปรอยู่ตลอดเวลาตามความต้องการหรือแรงจูงใจที่มีอยู่

2. แนวคิดในเรื่องลักษณะของสังคมไทย ลักษณะสังคมไทยที่เกี่ยวข้องมนุษยสัมพันธ์มีหลายประการ เช่น เป็นสังคมที่เน้นตัวบุคคลมากกว่าปัญหาเป็นสังคมอำนาจนิยม

2.1 เป็นสังคมที่เน้นตัวบุคคลมากกว่าปัญหา คือ คนไทยจะให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคลมากกว่าหลักการ

2.2 เป็นสังคมอำนาจนิยม (Thinapan Nakata. 1975 : 55) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นไปในลักษณะของผู้ใหญ่กับผู้น้อย

3. แนวคิดในเรื่องธรรมชาติขององค์การ มีข้อสมมติฐานว่า องค์การมีธรรมชาติ ดังนี้

3.1 องค์การเป็นระบบสังคม กิจกรรมทางสังคมภายในองค์การจึงอยู่ภายใต้กฎของสังคม

3.2 องค์การเป็นศูนย์รวมความสนใจ องค์การเกิดขึ้นเพราะคนมีความสนใจร่วมกัน

แนวคิดดังกล่าวจะเป็นแนวทางให้บุคคลในองค์การ ในสังคม ได้ตระหนักและใช้เป็นประโยชน์ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ



บรรณานุกรม




กองบริการการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Online]. Available URL: http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm

จิตรลดา วัฒนาพรรณกิตติ.(มปป.) เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏลำปาง.

ชัยพร วิชชาวุธ .มูลสารจิตวิทยา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,491 หน้า, 2525.

ชุติมา วงษ์สวัสดิ์. [Online]. Available URL: http://www.neepandin.com/data/society/society2b.htm

นารี จิตรรักษา.ราชภัฎเชียงราย. [Online]. Available URL: http://www.edu.ricr.ac.th/naree/

บริษัทมีดส์จอนสัน.. [Online]. Available URL: http://www.meadjohnson.bms.co.th/t_momsm1.htm

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ .มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงแก้ไข) คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ.

[Online]. Available URL: http://www.chula.ac.th/services/cupress/04.htm

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). [Online]. Available URL: http://www.wfb-hq.org/specth4.htm

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 930 หน้า,2525.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2538.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Online]. Available URL:http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/

eda/2538/eda380038t.html

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Online]. Available URL: http://sut2.sut.ac.th/ Human_Resources/ development.htm

ยงยุทธ เกษสาคร.ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม,2521.

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. [Online]. Available URL: http://www.yupparaj.ac.th/webpage/business/page6.html

โรงเรียนปราสาทวิทยาคาร จ.สุรินทร์. [Online]. Available URL:http://www.pwk.ac.th/ data_school/

hope2.html

วิจิตร อาวะกุล. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 8,กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง,300 หน้า,2542.

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. [Online]. Available URL:http://www.nationejobs.com/nationjob /tips_tools/

howto/ht020520.html

ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์. กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน. หน้า 52 -55 .

สวัสดิ์ บรรเทิงสุข มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .[Online].

Available URL: http://edpg730.hypermart.net/ccop2.htm

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.22 เมษายน 2544. [Online]. Available URL:http://www. bkknews.com/jud /

sun/20010404/page18.html

อำนวย แสงสว่าง. (2544).จิตวิทยาอุตสาหกรรม Industrial Psychology.พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร :

อักษราพิพัฒน์, 207 หน้า.

อาภา จันทรสกุล. (2529).ทฤษฏีและวิธีการให้คำปรึกษาในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Copyright 2000-2001 Thai Smart Kids. [Online]. Available URL: http://www.thaismartkids.net/teacher/

Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com /

IdeaBoard/Question.asp?GID=4

David, Keith. Human Behavior at Work., New York : Graw-Hill,Co.,1977.

http://www.ESIE HR CLUB - Human Relations มนุษยสัมพันธ์.html

http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=173

http://teacher.stjohn.ac.th/tgkhem/lesson/01meaning.html

http://www.sombatlegal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=421797

http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2531/eda310002t.html

Titannetwork co.,ltd. [Online]. Available URL: http://www.thainetway.com/test/test5.php

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1