องค์ประกอบของหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์

บทที่ 6


องค์ประกอบของหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์



องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์เกิดได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1. ต้องมีความเข้าใจตนเอง

2. ต้องมีความเข้าใจบุคคลอื่น

3. ต้องยอมรับความแตกต่างของบุคคลอื่น



ความเข้าใจตนเอง หมายถึง ความเข้าใจในความต้องการของตนเอง การรู้จุดเด่นจุดด้อย

ของตนการรู้ถึงจุดที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาคน

ความเข้าใจบุคคลอื่น หมายถึง การที่เรารู้ถึงความต้องการหรือปัญหาของบุคคลอื่น บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลนั้น ๆ และธรรมชาติของคน

ความแตกต่างของบุคคล หมายถึง ลักษณะที่ทำให้คนแต่ละคนไม่เหมือนกันซึ่งแต่ละคนย่อมมีความคิด จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ เจตคติ ประสบการณ์ต่าง ๆ กัน สิ่งที่ทำให้มนุษย์เราแตกต่างกันไม่เหมือนกันนั้นมาจากหลายสาเหตุด้วยกันอาจประมวลได้ดังนี้คือ รูปร่างหน้าตา ( appearance) อารมณ์ ( emotion )นิสัย ( habit ) เจตคติ ( attitude ) พฤติกรรม ( behavior ) ความถนัด ( aptitude ) ความสามารถ ( ability ) สุขภาพ ( health )รสนิยม ( taste )และสังคม ( social )ความแตกต่างจากสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุให้มนุษย์ขัดแย้งกันไม่สามารถเข้ากันหรือสัมพันธ์กันได้หากขาดความรู้ความเข้าใจเกิดการดูหมิ่นเหยียดหยามไม่เคารพสิทธิไม่ให้เกียรติเคารพนับถือในความแตกต่างกัน ถือว่าเป็นสิ่งธรรมดาสามัญทั่วไป ถ้าเราได้เข้าใจในเรื่องเหล่านี้แล้วความขัดแย้งก็จะลดน้อยลงหรือสามารถขจัดออกไปได้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็จะดีขึ้น วิจิตร อาวะกุล. (2542:34)



องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์

องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์แบ่งเป็น 3 ประการคือ

1. การเข้าใจตนเอง เป็นลักษณะการรู้จักตนเองอย่างแท้จริงว่าตนเองเป็นใคร มีความรู้ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์แค่ไหนระดับใด มีจุดแข็งคือความเก่งและจุดอ่อนคือความไม่เก่งในด้านใดบ้างเรื่องใดบ้าง การเข้าใจตนเองทำให้บุคคลเกิดการรู้สึกยอมรับในคุณค่าแห่งตน นับถือตนเองและรู้จักเข้าใจสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเอง สิ่งที่สำคัญในการเข้าใจตนเองจะช่วยให้เรารู้จักปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้ดีมาก

2. การเข้าใจบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของคน ความแตกต่างระหว่างบุคคลความต้องการของบุคคล แรงจูงใจของบุคคล สภาพสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดประโยชน์ ในการนำไปใช้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้นานัปการ เมื่อเราต้องการไปติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลใดเราต้องทราบก่อนว่าบุคคลนั้นชื่อใดเป็นใคร มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ทางด้านใดอยู่ในระดับใดชอบสิ่งใดไม่ชอบสิ่งใด โปรดปรานในสิ่งใดเป็นพิเศษ มีคุณลักษณะที่เด่นทางด้านใดบ้างเมื่อเรานำเอาบุคคลอื่นที่เราต้องการติดต่อสัมพันธ์มาพิจารณาดูว่า เรามีความเข้าใจในตัวเขาอย่างไร เรายอมรับในตัวเขาได้แค่ไหน เพื่อจัดระดับคุณค่าและความสำคัญของบุคคลที่เราจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์รวมทั้งการที่เรารู้จักปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นได้ในการติดต่อสัมพันธ์กัน

3. การเข้าใจสิ่งแวดล้อม เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราและบุคคลอื่นซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีส่วนสัมพันธ์กับมนุษยสัมพันธ์ได้แก่ สภาพการณ์เหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต ล้วนแต่มีอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้นได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันที่เป็นองค์การ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน รัฐบาล ศาสนา องค์การระหว่างประเทศ ความรู้จากการเข้าใจสิ่งแวดล้อมสามารถนำมาปรับใช้กับตัวเราในการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้ดีมากขึ้น อำนวย แสงสว่าง ( 2544:101)

นอกจากนี้แล้วองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง พฤติกรรมการจูงใจขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม เจตคติ นิสัย ระบบสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เกิดเป็นพฤติกรรมที่น่าพึงพอใจแก่บุคคลอื่น ๆ ที่เรียกว่า “มนุษยสัมพันธ์”



องค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริมให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

การที่จะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงองค์ประกอบที่จะ

ช่วยส่งเสริมให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีดังต่อไปนี้

1. พฤติกรรมของคน (Human Behavior) ในการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสุขในการดำเนินชีวิตหรือเพื่อการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นในหน่วยงานเราทุกคนต้องเข้าใจพฤติกรรมของคน

2. การจูงใจ (Motivation) เป็นแรงกระตุ้น เป็นพลังให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่ออำนวยประโยชน์และสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

3. กลุ่มพวกในการปฏิบัติงาน (Team work) ตามรูปแบบของปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างความเป็นมนุษย์ที่ดำรงตนด้วยการเคารพนับถือซึ่งกันและกันหรือเคารพนับถือในความแตกต่างระหว่างบุคคล

4. การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อหน่วยงานหรือองค์การ มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ แบ่งแยกกลุ่มไปตามลักษณะของความต้องการ มีการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน



บรรณานุกรม




กองบริการการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Online]. Available URL: http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm

จิตรลดา วัฒนาพรรณกิตติ.(มปป.) เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏลำปาง.

ชัยพร วิชชาวุธ .มูลสารจิตวิทยา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,491 หน้า, 2525.

ชุติมา วงษ์สวัสดิ์. [Online]. Available URL: http://www.neepandin.com/data/society/society2b.htm

นารี จิตรรักษา.ราชภัฎเชียงราย. [Online]. Available URL: http://www.edu.ricr.ac.th/naree/

บริษัทมีดส์จอนสัน.. [Online]. Available URL: http://www.meadjohnson.bms.co.th/t_momsm1.htm

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ .มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงแก้ไข) คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ.

[Online]. Available URL: http://www.chula.ac.th/services/cupress/04.htm

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). [Online]. Available URL: http://www.wfb-hq.org/specth4.htm

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 930 หน้า,2525.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2538.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Online]. Available URL:http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/

eda/2538/eda380038t.html

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Online]. Available URL: http://sut2.sut.ac.th/ Human_Resources/ development.htm

ยงยุทธ เกษสาคร.ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม,2521.

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. [Online]. Available URL: http://www.yupparaj.ac.th/webpage/business/page6.html

โรงเรียนปราสาทวิทยาคาร จ.สุรินทร์. [Online]. Available URL:http://www.pwk.ac.th/ data_school/

hope2.html

วิจิตร อาวะกุล. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 8,กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง,300 หน้า,2542.

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. [Online]. Available URL:http://www.nationejobs.com/nationjob /tips_tools/

howto/ht020520.html

ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์. กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน. หน้า 52 -55 .

สวัสดิ์ บรรเทิงสุข มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .[Online].

Available URL: http://edpg730.hypermart.net/ccop2.htm

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.22 เมษายน 2544. [Online]. Available URL:http://www. bkknews.com/jud /

sun/20010404/page18.html

อำนวย แสงสว่าง. (2544).จิตวิทยาอุตสาหกรรม Industrial Psychology.พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร :

อักษราพิพัฒน์, 207 หน้า.

อาภา จันทรสกุล. (2529).ทฤษฏีและวิธีการให้คำปรึกษาในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Copyright 2000-2001 Thai Smart Kids. [Online]. Available URL: http://www.thaismartkids.net/teacher/

Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com /

IdeaBoard/Question.asp?GID=4

David, Keith. Human Behavior at Work., New York : Graw-Hill,Co.,1977.

http://www.ESIE HR CLUB - Human Relations มนุษยสัมพันธ์.html

http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=173

http://teacher.stjohn.ac.th/tgkhem/lesson/01meaning.html

http://www.sombatlegal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=421797

http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2531/eda310002t.html

Titannetwork co.,ltd. [Online]. Available URL: http://www.thainetway.com/test/test5.php

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1