บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน 12, 2010

การพยาบาลผู้ป่วยที่มีไข้

รูปภาพ
ความหมาย “ ไข้ ” (Fever, Febrile, Pyrexia) หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ (36 – 37.4  องศาเซลเซียส หรือ 96.8 – 99.3 องศาฟาเรนต์ไฮน์ ) หากอุณหภูมิขึ้นสูงถึง 41  องศาเซลเซียส จะมีการทำลายเซลล์สมอง และสูงถึง 43 องศาเซลเซียส   ก็จะหมดสติเสียชีวิตได้ ในทางตรงกันข้ามหากอุณหภูมิต่ำกว่า 34.0  องศาเซลเซียส มนุษย์ก็จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์จะไม่เป็นไปตามสิ่งแวดล้อม โดยมีศูนย์ควบคุมอุณหภูมิที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งมีการตอบสนองไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย  แม้เพียงเล็กน้อยโดยที่ด้านหน้าของไฮโปทาลามัสจะควบคุมการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย  ในขณะที่ส่วนด้านหลังจะควบคุมการผลิตความร้อน สาเหตุของการเกิดไข้ 1. การติดเชื้อ การอักเสบ 2. การบาดเจ็บของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น หลอดเลือดในสมองแตก 3. โรคมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง 4. คอพอกเป็นพิษ 5. ภาวะขาดน้ำ หรือได้รับความร้อนมากเกินไป 6. การได้รับยามอร์ฟีนนานเกินไป ระดับของไข้ ระดับของการมีไข้สามารถแบ่งออกเป็น หลายระดับ ดังนี้ 1. ไข้ต่ำ (Low fever

ชีพจร (Pulse)

สัญญาณชีพ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไป สัญญาณชีพหมายถึง อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ และค่าความดันโลหิต การประเมินสัญญาณชีพจะถี่ห่างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย พยาบาลจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเหมาะสม ชีพจร (Pulse)   การประเมินชีพจรในบุคคลที่มีสุขภาพดี ชีพจรจะสะท้อนให้ทราบถึงตำแหน่งการเต้นของหัวใจ ดังนั้นจำนวนครั้งของชีพจรจะเป็นค่าเดียวกับจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจ โดยมีตำแหน่งของหลอดเลือดแดงที่ใช้ ประเมินชีพจรมีทั้งหมด 9 แห่งดังนี้ 1. Temperal artery หลอดเลือดแดงนี้จะทอดผ่านบริเวณขมับซึ่งอยู่ด้านข้างของตาซ้ายและตาขวา เยื้องขึ้นด้านบนเล็กน้อย 2.Carotid artery อยู่บริเวณด้านข้างของคอ หลอดเลือดแดงนี้จะทอดผ่านหลอดลมและกล้ามเนื้อSternomastoid ไม่ควรประเมินชีพจรนี้พร้อมกัน 2 ข้าง นิยมประเมินในระยะช็อคหรือหัวใจหยุดเต้น 3.Apical บริเวณยอดหัวใจ ในผู้ใหญ่จะอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณซี่โครงที่ 5 ในเด็กต่ำกว่า 4 ปีจะอยู่ช่องซี่โครงที่ 4 4.Bracial artery อยู่บริเวณกล้ามเนื้อด้านในของแขน(กล้ามเนื้อ biceps) อยู่กึ่งกลาง

อุณหภูมิของร่างกาย ( Body temperature)

สัญญาณชีพ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไป สัญญาณชีพหมายถึง อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ และค่าความดันโลหิตการประเมินสัญญาณชีพจะถี่ห่างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย พยาบาลจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเหมาะสม อุณหภูมิของร่างกาย ( Body temperature) อุณหภูมิปกติของร่างกาย หมายถึง อุณหภูมิที่วัดได้จากคนปกติในระยะพักที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความร้อนใดๆ คนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่ที่ 37องศาเซลเซียส ความร้อนที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นเป็นผลที่ได้มาจากกระบวนการเผาผลาญอาหารซึ่งเกิดขึ้นภายในเซลของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทออกสิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้เพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิคงที่ การมีไข้ หมายถึง สภาพที่ร่างกายมีอุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศา (เมื่อวัดทางปาก) การมีไข้ถือว่ามีประโยชน์ เพราะใช้เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่าร่างกายมีความผิดปกติควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ การวัดอุณหภูมิร่างกายทางปาก การวัดอุณหภูมิร่างกายทางปากเหมา