บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน 24, 2010

จิตตปัญญาศึกษา

รูปภาพ
จิตตปัญญาศึกษา ฐานิกา บุษมงคล 1. จิตตปัญญาศึกษา      คือ การศึกษาที่ทำให้เข้าใจด้านในของตัวเอง รู้ตัว เข้าถึงความจริง ทำให้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น จากการทำงานศิลปะ โยคะ ความเป็นชุมชน การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา เป็นต้น  (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี) 2. สังเขปแนวคิดจิตปัญญาศึกษา 3. จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ การเข้าถึงความจริงแท้หรือสัจธรรม คือเป้าหมายในชีวิตของ “มนุษย์” ที่ยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรมของตนบนโลกนี้ยึดถือการปฏิบัติมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม กระแสของทุนนิยมมีความเชี่ยวกราดกว่ากระแสธรรม โลกจึงต้องพบกับความหายนะอย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ เพราะ “คน” บนโลกต่างพากันยึดเอาทุนนิยมที่ดำรงสภาพอยู่ได้ด้วยหิวกระหายในการบริโภคมาเป็นตัวตั้งความสุขที่เกิดจากการได้เสพ จึงเป็นจึงเป็นความสุขเดียวที่คนในยุคนี้รู้จัก ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากการไม่ปรุงแต่ง ที่ผุดขึ้

สุดยอดเด็กฉลาด

แบบทดสอบตนเอง

บทที่ 3 แบบทดสอบตนเอง แบบทดสอบทายนิสัย สั้นๆ 4 ข้อเท่านั้น ก็รู้นิสัยแล้ว แต่ห้ามดูเฉลยก่อนนะ เดี๋ยวไม่แม่น เลือกข้อที่ใกล้เคียงมากที่สุดนะ 1.บุคคลิกภาพของคุณเป็นอย่างไร? (I) ชอบสันโดษ , คิดก่อนทำ , มีแรงบันดาลใจหรือความคิดจากตัวเองเป็นใหญ่ (E) ชอบเข้าสังคม , ชอบไปงานสังสรรค์ , ทำก่อนคิด , มีแรงบันดาลใจหรือความคิดจากคน. สิ่งของ , สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ 2.เมื่อคุณมีข้อมูลที่ต้องพิจารณา คุณจะพิจารณาข้อมูลเหล่านั้นอย่างไร? (S) ดูถึงรายละเอียดของข้อมูล , ดูถึงปัญหาปัจจุบัน , ดูถึงหลักความเป็นจริง (N) ดูถึงภาพรวมหรือข้อสรุปของข้อมูล , คาดการณ์ล่วงหน้า , ดูถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น 3.คุณใช้อะไรในการตัดสินใจกับปัญหา? (โดยสัญชาตญาณของคุณ) (T) ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ , ใช้หลักตรรกวิทยาความถูกต้อง , คิดถึงผลที่จะตามมาจากการตัดสินใจ (F) ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจ , ตัดสินใจจากความชอบ , ความต้องการ , คิดถึงความต้องการ และการตอบสนองของตน 4.คุณมีวิธีการดำเนินชีวิตอย่างไร? (J) ชอบวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวัน , ชอบตั้งเป้าหมาย ระยะเวลา วันที่ในการทำ , ชอบตัดสินใจเ

การสร้างแรงจูงใจ

การสร้างแรงจูงใจ ความหมาย ความสำคัญ ของแรงจูงใจในการทำงาน ความหมายของแรงจูงใจ แรงจูงใจมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Motivation มีรากคำเดิมเป็นภาษาละตินว่า movere ซึ่งแปลว่า เงื่อนไขหรือสภาวะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสามทิศทาง หมายถึง เงื่อนไขหรือสภาวะที่ไปทำให้เกิดพฤติกรรมชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือที่ไปยับยั้งพฤติกรรม หรือที่ไปกำหนดแนวทางให้พฤติกรรมที่จะแสดงออก แรงจูงใจมีผู้รู้ให้ความหมายไว้มากมายอาจสรุปความหมายของแรงจูงใจได้ดังนี้ แรงจูงใจ หมายถึง ความเต็มใจที่จะใช้พลังเพื่อดำเนินไปถึงจุดหมายที่วางไว้ได้สำเร็จ แรงจูงใจ หมายถึง องค์ประกอบภายใน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นหรือนำทาง หรือเป็นตัวรวมพฤติกรรมต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และเราจะอนุมานเกี่ยวกับแรงจูงใจได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา แรงจูงใจ หมายถึง ภาวะภายในที่คอยเสริมกำลังหรือกระตุ้น หรือทำให้เคลื่อนไหว เพื่อที่จะนำทางพฤติกรรมหรือเพื่อชี้หาแนวทางพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ แรงจูงใจ หมายถึง การกระกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้ผลสูงสุดและมีความรับผิดชอบในผลงานของตน แรงจูงใจ หมายถึง แรงจูงใจในแง่ทางสรีรวิทยา (Biological importan

กลยุทธ์ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน

บทที่ 13 กลยุทธ์ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน การสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย และสำหรับหน้านี้เรามีเคล็ดลับ 6 ประการ ที่จะช่วยให้คุณ เป็นที่ชื่นชอบของบุคคลอื่น ๆ มาฝาก 1.การสนใจในตัวบุคคลอื่น มีคำกล่าวไว้ว่าถ้าเรามีความสนใจในตัวบุคคลอื่นแล้วเราอาจจะหาเพื่อนใหม่ได้ภายใน 2 เดือน แต่ถ้าหากเราจะหาเพื่อนใหม่ โดยการจูงใจให้เขามาสนใจในตัวเรา อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 2 ปี เราจะสังเกตได้ว่าบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความสนใจในตัวบุคคลอื่น ดังนั้นถ้าเราอยากเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น จึงต้องรู้จักแสดงความสนใจในตัวบุคคลอื่นอาจจะโดยการไต่ถามสารทุกข์สุขดิบส่งการ์ดอวยพรหรือของขวัญให้เขาในวันเกิด หรือเทศกาลสำคัญๆ ส่งบทความ การ์ตูน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คิดว่าน่าสนใจให้แก่เพื่อนร่วมงาน สมาชิกในทีมงานโดยอาจจะส่งทาง E-mail ก็ได้และเมื่อเพื่อนร่วมงานมีปัญหาก็ควรเสนอตนเองช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ 2.การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บุคคลที่จะเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นมาที่สุด และนานที่สุดก็คือ บุคคลที่มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ

หลักและเทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์

บทที่ 12 หลักและเทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ สำหรับการศึกษาเรื่องหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 10 ข้อ คือ 1. บุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน (Individual difference) บุคคลโดยทั่วไปนั้นถ้าพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วจะเห็นว่าเหมือน ๆ กัน แต่แท้จริงแล้วบุคคลแต่ละคนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (Uniqueness) แต่ละคนย่อมแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม สติปัญญา อารมณ์ เจตคติ ค่านิยม อุดมคติ วัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ นิสัยใจคอ วินัยจรรยา การศึกษาที่มีมาตลอดชีวิต หรือกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization Process) สถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจก็ตาม เป็นเหตุผลทำให้บุคคลแตกต่างกันทั้งสิ้น จะหาบุคคลที่เหมือนกันทุกระเบียดนิ้วสักคู่หนึ่งก็ไม่มี แม้แต่ลูกแฝดก็ตามที มนุษย์มีความแตกต่างกัน (Man is different) ยากที่จะเข้าถึงจิตใจของคนทุกคนได้เพราะนานาจิตตัง “จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง” เมื่อแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดหรือทำเหมือนคนอื่นไปเสียทุกอย่างด้วย ความแตกต่างของบุคคลนี้มีความสำคัญ