บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน 21, 2011

แบบฝึกหัดหัวข้อ ปัญหาการวิจัย

การเลือกปัญหาในการวิจัย 1. จงบอกความหมายของปัญหาการวิจัย ตอบ 2. ปัญหาการวิจัยมีที่มาจากแหล่งใดบ้าง อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง ตอบ 3. จงอธิบายขั้นตอนของการกำหนดปัญหาการวิจัย ตอบ 5. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีประโยชน์ต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง ตอบ 6. จงยกตัวอย่างแหล่งของเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ตอบ 7. ในการเลือกศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีเกณฑ์อะไรบ้าง ที่เป็นแนวทางในการพิจารณาคุณค่าของเอกสารที่ศึกษา ตอบ

การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักการสำคัญในการศึกษา @ เพื่อเป็นการค้นคว้าหาหัวข้อวิจัยว่า มีประเด็นปัญหาอะไรที่น่าจะนำมาเป็นปัญหา(ซึ่งผู้วิจัยยังไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไร) @ เพื่อศึกษาว่าในเรื่องที่ผู้วิจัยจะทำวิจัยนี้ มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง ถ้าทำแล้วมีผลอย่างไร จะต้องเสริมจุดไหนที่ยังไม่ชัดเจน (ซึ่งแสดงว่าเรื่องที่จะทำวิจัย ยังไม่ชัดเจนถึงขนาดตั้งเป็นชื่อเรื่องได้) จุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเอกสารผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 1. เพื่อเลือกปัญหาที่จะทำวิจัย : เป็นการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปกำหนดขอบเขตการศึกษา และเลือกปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น 2. เพื่อให้เกิดความกระจ่างในปัญหาที่จะทำวิจัย : เป็นการตัดสินใจว่าควรจะทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหานั้นต่อไป หรือควรเปลี่ยนปัญหาที่จะทำวิจัยใหม่ 3. เพื่อหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น : หากพบว่ามีผู้ทำแล้วไม่ควรทำวิจัยซ้ำ นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการวิจัย หลังจากเวลาเปลี่ยนแปลงไปว่าผลการวิจัยยังเหมือนเดิมหรือไม่ 4. เพื่อค้นหาเทคนิคและวิธีการในการทำวิจัย : ช่วยให้เกิดแนวความคิดในการตัดสินใจว่าจะใช้เทคนิคใด 5. เพื่อช่วยในการแปลความหมายข้อมูล : โดย

หลักเกณฑ์สำคัญในการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย

• เขียนประเด็นให้ชัดเจน ในกรอบของเรื่องที่ทำวิจัย เขียนให้กระชับ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย • เขียนเป็นรูปแบบประโยคบอกเล่า หรือประโยคการเปรียบเทียบ หรือประโยคความสัมพันธ์ซึ่งขึ้นกับสิ่งที่ต้องการศึกษาวิจัย • เขียนให้ชัดเจนว่าจะศึกษาในประเด็นใดที่อยู่ในกรอบของการวิจัย ไม่ออกนอกเรื่อง ที่ทำวิจัย • จำนวนข้อขึ้นอยู่กับขอบเขตของการวิจัย • วัตถุประสงค์ทุกข้อที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ นั่นคือ ต้องถามตัวเองว่าทำได้ วัดได้ เก็บข้อมูลได้ ทั้งหมดหรือไม่ • ห้ามนำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการวิจัยมาเขียนเป็นวัตถุประสงค์การวิจัย

คำถามวิจัย

คำถามที่นักวิจัยกำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบซึ่งจะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาวิจัย นิยมตั้ง คำถามวิจัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น  ตั้งแต่สองเรื่องขึ้นไปมีลักษณะเป็นอย่างไร ? คำถามวิจัย หมายถึง ข้อความที่ชัดเจนแสดงถึงสิ่งที่ต้องการทราบ คำตอบ ลักษณะคำถามการวิจัย 1.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 2.ชัดเจน ,อย่างไร ,อะไร สัมพันธ์ หรือ แตกต่างกัน หรือไม่ 3.ถาม 1เรื่องใน 1คำถาม

หลักการเขียนความสำคัญของปัญหาวิจัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหานั้นเป็นเสมือนบทนำหรือภูมิหลังของการวิจัยเรื่องนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องการศึกษาวิจัยเรื่องนั้น การเขียนจะมุ่งเน้นความอยากรู้ในเรื่องที่ต้องการศึกษาในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ได้แนวคิด ทฤษฎี วิธีการหรือองค์ความรู้ใหม่ๆไปใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นการสื่อที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาที่ศึกษาว่าคืออะไร มีความสำคัญในแง่มุมใดบ้างที่น่าจะทำการวิจัย ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะต้องหามาสนับสนุนอย่างน้อยควรมี ๔ ประการ ได้แก่ 1. สภาพที่เป็นปัญหาในอดีต ปัจจุบันและ แนวโน้มในอนาคต 2. แนวคิดและทฤษฎี 3. ผลการวิจัยของผู้อื่น 4. กลุ่มเป้าหมายและตัวแปรที่จะศึกษา หลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียนให้ตรงประเด็นโดยเริ่มจากสภาพปัญหาในระดับมหภาคไล่ลงมาจนถึงปัญหาระดับจุลภาคและเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทำการศึกษาวิจัย เน้นปัญหาถูกจุด ไม่ควรให้ยืดเยื้อให้เนื้อความครอบคลุมประเด็นสำคัญที่จะศึกษาทุกประเด็น ใช้ภาษาง่ายๆจัดลำดับประเด็นที่เสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ถ้ามีการอ้างอิงควรอ้างอิงใ

การตั้งชื่อเรื่องวิจัย

– หัวข้อวิจัยต้องบอกว่าทำอะไร/อย่างไร/กับใคร – หัวข้อชัดเจนและมีองค์ประกอบครบ – หัวข้อตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย – หัวข้อบ่งบอกปัญหา/หาวิธีการแก้ไข ส่วนประกอบของชื่อเรื่องวิจัย 1. ตัวแปรตาม และ ตัวแปรต้น (ถ้ามี) 2. วัตถุประสงค์ หรือวิธีการวิจัยหลัก 3. บริบท (context)

เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย

การเลือกหัวข้อปัญหาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ผู้วิจัยจะต้องรู้จักเลือกหัวข้อปัญหาที่เหมาะสม หัวข้อปัญหาวิจัยที่ดีควรจะเป็นปัญหาที่ 1. มีความสำคัญ มีคุณค่า หัวข้อปัญหาที่มีความสำคัญหรือมีคุณค่าต้องมีปัญหาที่จะให้ได้คำตอบหรือผลการวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการได้มาซึ่งความรู้ใหม่เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับศาสตร์นั้นๆ ให้สมบูรณ์ขึ้นและในแง่ของการได้มาซึ่งสารสนเทศที่จะใช้ช่วยตัดสินใจในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ 2. เป็นปัญหาที่จะค้นหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย คือสามารถจะหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มาอ้างอิงในการตอบปัญหานั้นได้ ไม่ใช่ปัญหาเชิงค่านิยมหรือเชิงจริยธรรมเช่น ควรให้นักศึกษาสวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่ ปัญหาลักษณะนี้อาจปรับให้เป็นปัญหาวิจัยได้ว่า นักศึกษาที่สวมเครื่องแบบมาเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ไม่สวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่ 3. เป็นปัญหาที่น่าสนใจ นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานในสาขานั้นๆ มีความสนใจใคร่ทราบคำตอบด้วย หรือเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน หรือ ผู้คนทั่วไปที่ต้องการคำตอบที่แน่ชัดม

แหล่งของปัญหาการวิจัยทางการพยาบาล

แหล่งของปัญหาการวิจัยทางการพยาบาล อ.ฐานิกา บุษมงคล, พยม. 1. จากประสบการณ์และความสนใจของตนเอง การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมีปรากฏกาการณ์บางอย่างชวนให้สงสัยต้องการคำตอบที่ชัดเจน หรือจากการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกิดปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย หรือขาดประสิทธิภาพ หรือต้องการพัฒนางานให้ดีขึ้น ต้องการสารสนเทศบางอย่างที่จะนำมาใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาหรือปรับปรุงงาน จำเป็นต้องค้นหาสารสนเทศเหล่านั้น ก็ทำให้เกิดเป็นปัญหาวิจัยได้ ตัวอย่าง - จากการเรียน เช่นขณะเรียนสังเกตเห็นเพื่อนบางคนหลับ แต่บางคนสนใจไต่ถามตั้งใจเรียนมาก จึงเกิดคำถามในใจว่าทำไมเพื่อทั้งสองกลุ่มจึงมีพฤติกรรมการเรียนที่แตกต่างกัน เอ๊ะ! แล้วผลการเรียนของทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันหรือไม่ พฤติกรรมการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนหรือไม่ - จากการทำงานภายในหอผู้ป่วย การทำงานในโรงพยาบาล สิ่งที่สังเกตเห็นขณะทำงาน ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นขณะทำงาน โรคหรืออาการที่พบบ่อยๆ เช่นเหตุใดผู้ป่วยเบาหวานจึงมีแผลที่เท้า และแผลมักหายช้าหรือลุกลามจนต้องตัดขา การเช็ดตัวผู้ป่วยด้วยน้ำเย็นกับน้ำอุ่นวิธีใดลดไข้ได้ดีกว่ากัน ท

การเกิดปัญหาวิจัย

เรื่องที่จะเป็นปัญหาวิจัยนั้นจะแตกต่างจากปัญหาอื่นๆ เนื่องจากการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือคำตอบให้กับปัญหาวิจัย ดังนั้นปัญหาวิจัยก็คือ สิ่งที่นักวิจัยไม่รู้และสนใจใคร่รู้คำตอบ เมื่อวิจัยแล้วจะได้ผลลัพธ์คือคำตอบของปัญหาหรือความรู้  ปัญหาเช่นนักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้ ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ปัญหาครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาวิจัยเพราะผลลัพธ์จากการปัญหาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อความรู้แต่จะเป็นสภาวะที่หมดปัญหา เช่น นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น หรือครูปลอดจากหนี้สิน เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการวิจัยได้ กล่าวคือการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจจำเป็นต้องมีความรู้อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ และความรู้นี้จะได้มาก็ต้องทำวิจัย คำตอบหรือข้อความรู้จากการวิจัยจะใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่นักวิจัยสนใจใคร่รู้คำตอบอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น 1. เกิดความสงสัยในทฤษฎี ทฤษฎีคือข้อเสนอ (Proposition) ที่เกิดจากการคิดหรือจินตนาการอย่างมีเหตุผลเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต