เทคนิคการทำข้อสอบสภาการพยาบาล

1. เทคนิควิธีการเตรียมสอบฯ ที่เป็นประโยชน์

1.1 วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
- การทำข้อสอบมากๆ อาจารย์เฉลยและตีความ โดยเฉพาะการหา keywords (คำสำคัญ) ในคำถาม เช่น
**การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องนึกถึงการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด โรงเรียน หรือ
**ชุมชนเข้มแข็ง หมายถึงอะไร

- การติวแบบ concept (ความคิดรวบยอด)ในหัวข้อต่างๆ เช่น ระบาดวิทยา โดยอาจารย์ และการเลือกตอบอย่างมีหลักการ การตัดตัวเลือกที่ไม่ถูกออก

- การอ่านหนังสือตาม Test Blueprint ข้อสอบสภาฯ ที่อาจารย์แจกให้ หรือค้นหาได้ที่ test blueprint สภาการพยาบาล 2556

1.2 การรักษาโรคเบื้องต้น อ่านและทำข้อสอบเก่ามาก โดยจุดเน้น คือ
**การวิเคราะห์ผล lab ในโรคต่างๆ
**การ Assessment และ Investigation แน่นอน แม่นเรื่อง อาการ อาการแสดง การตรวจร่างกาย lab
**ที่สำคัญมากคือ การวินิจฉัยแยกโรคได้ คือเมื่ออ่านโจทย์เสร็จ คิดถึงโรคอะไรได้บ้างก็เขียนไว้ แล้ว ค่อยๆตัดออกทีละโรค จนเหลือโรคสุดท้าย
**การรักษาเบื้องต้น ยา คำแนะนำ D-METHOD
**BURN อย่าลืม การคำนวณในเด็กและผู้ใหญ่ การพยาบาล ณ phase ต่างๆ  สาเหตุของ BURN ต่างกัน การพยาบาลก็ต่างกันไปด้วย

1.3 วิชาการพยาบาลเด็ก 
**ประเด็นสำคัญของโรคต่างๆในเด็ก
**พัฒนาการในช่วงต่างๆของเด็ก
**ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก
**การคำนวณอาหาร นม
**การคำนวณน้ำหนักเด็ก ส่วนสูงเด็ก
**การทำความเข้าใจเนื้อหาแบบเชื่อมโยง ช่วยให้มีหลักในการจำและทำข้อสอบได้
**การพยาบาลเด็กที่มีความผิดปกติและโรคต่างๆ ต้องไม่ลืมว่า ตอบตามแนวคิด ทฤษฎี ไม่ใช่ตอบตามความรู้สึก(นักศึกษาชอบใช้ความรู้สึกตอบเลยผิด)

1.4 วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
- ต้องใช้ความเข้าแบบ concept ตัดตัวเลือก เน้นการพยาบาล เช่น ให้ชื่อโรคมาและถามการพยาบาล
- เนื้อหาที่ควรเพิ่มเติม คือ นรีเวช และ ตา หู คอ จมูก

- วิธีการเตรียมสอบที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ การทำข้อสอบในชั้นเรียน อาจารย์เฉลยและอธิบายเหตุผล การจับกลุ่มติวกันเองที่หอพักทั้งนศ.หญิง และ นศ.ชายที่พักอยู่นอกวิทยาลัย การถกเถียงกัน ช่วยให้จำได้ดีขึ้น การอ่านเองโดยใช้สาระทบทวน (แต่มีเนื้อหาบางที่ไม่ถูกต้อง)โดยต้องอ่านหนังสืออื่นๆประกอบด้วย การอ่านทบทวนจากเอกสารประกอบการสอน

1.5 การพยาบาลผู้สูงอายุ
- ข้อสอบมีส่วนที่วัดความจำ เช่น ทฤษฎีผู้สูงอายุ และวัดความเข้าใจ/นำไปใช้/เชื่อมโยง เช่น ถามเกี่ยวกับการพยาบาลต้องตอบโดยยึดตามแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลผู้สูงอายุ ต้องจำ concept สำคัญของแต่ละทฤษฎีให้ได้

- การตอบข้อสอบควรใช้หลักการหรือ concept เช่น แนวทางการดูแลผู้สูงอายุมีหลักสำคัญที่การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

- แนวคิดในการทำข้อสอบ ได้จากการทำข้อสอบมากๆ และการเฉลยและอธิบายของอาจารย์ โดยข้อสอบต้องมีความหลากหลาย เพื่อให้ครอบคบุมเนื้อหาและได้รู้รายละเอียดอย่างชัดเจน

- การทำข้อสอบเป็นกลุ่ม โดยมีผู้นำกลุ่ม ทำหน้าที่ดูแลควบคุมให้สมาชิกทำข้อสอบอย่างครบถ้วนและตั้งใจ อาจารย์ควรเป็นผู้เฉลย เพราะสามารถอธิบายข้อสงสัยให้นักศึกษาได้ ถ้านักศึกษาเฉลยกันเองก็จะรู้ได้แต่คำตอบว่าถูกหรือผิด แต่ส่วนใหญ่ไม่มั่นใจว่าอธิบายเหตุผลได้ถูกต้องหรือไม่

1.6 วิชาการผดุงครรภ์
– ต้องตั้งใจเรียนตั้งแต่เรียนวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ 1 และ 2 (ทั้งการพยาบาลสูติศาสตร์ที่ปกติและผิดปกติ)

– ต้องเข้าใจและจำกลไกการคลอดแต่ระยะ รวมทั้งกายวิภาคและสรีระฯ ระบบสืบพันธุ์ได้

– ข้อสอบเน้นความเข้าใจและการนำไปใช้ โจทย์ยาว ใช้เวลามากเพื่อทำความเข้าใจ ดังนั้นเวลาอ่านให้ขีดหรือวงจุดที่คิดว่าเป็น keyword (คำสำคัญไว้)

– ควรอ่านสาระทบทวนตั้งแต่ต้น จนจบ หรือสรุปเองก็ได้ ถ้าสามารถทำได้ ทำ mind mapping หรือ short note ไว้

– ควรสอนการอ่านและทำความเข้าใจโจทย์ การตีความโจทย์ จับประเด็นให้ได้ว่าโจทย์ถามอะไร โดยการฝึกทำจากโจทย์ข้อสอบจริง ถ้าฝึกทำมากๆ จะสามารถหาคำที่ชี้แนะคำตอบในโจทย์ได้

– ควรแยกนักศึกษากลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อนในการติวเป็นบางช่วง เพราะนักศึกษากลุ่มอ่อนไม่กล้าถามและตามไม่ค่อยทัน ทำให้บางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไร


1.7 การพยาบาลมารดาและทารก
– ข้อสอบยากมาก ต้องใช้ความจำตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีระของการตั้งครรภ์ ในแต่ละไตรมาส

– ควรอ่านสาระทบทวนให้จบอย่างน้อย 1 รอบ หรืออ่านเอกสารประกอบการสอนที่เรียนในห้องเรียนตั้งแต่แรก

1.8 สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
– ถ้าทบทวนหลายๆครั้งและทำข้อสอบหลายๆรอบ จะครอบคลุมเนื้อหาของวิชานี้

– การเรียนภาคปฏิบัติ และconference ช่วยให้เข้าใจเนื้อได้มากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการสอบ

– การสอบซ่อมวิชาทฤษฎีและ progress test ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น เป็นประโยชน์

– การแยกนักศึกษากลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อนในการติวเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะนักศึกษากลุ่มอ่อนไม่กล้าถามและตามไม่ค่อยทัน ทำให้บางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไร

การแบ่งกลุ่มย่อยไม่ควรมีนักศึกษาเกิน 20 คนต่อกลุ่ม

1.9 กฎหมายฯ
– ข้อสอบ 20 ข้อแรก เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ต้องใช้หลักกฎหมายในการตอบ โดยใช้ความจำและจับประเด็นโจทย์ให้ได้ ว่าต้องการวัดข้อกฎหมายใด

– อ่านและทบทวนข้อกฎหมายที่เรียนก่อนที่จะติว โดยอ่านจากเอกสารที่เรียนในชั้นเรียน เช่น พรบ วิชาชีพ และข้อกฎหมายทั่วไป

– ข้อสอบ 20 ข้อหลัง เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลทางจริธรรม ใช้ความรู้ทางจริยศาสตร์ ในการตอบ ควรจำเนื้อหาให้ได้ ใช้เหตุผลทางจริยธรรมในการตอบ โดยพิจารณาตัวเลือกให้รอบคอบ ต้องพิจารณาคำที่เป็น guide ในการตอบ และต้องใช้การตีความ การเฉลยข้อสอบ หรือ discuss กันเองของนักศึกษาในระหว่าดูหนังสือ ช่วยให้จำเนื้อหาได้มากขึ้น

**ควรพิจารณาโจทย์และตัวเลือกอย่างรอบคอบ

**การตอบต้อง แยกการใช้หลักการทางกฎหมาย หรือจริยธรรม ในการตอบข้อสอบ ซึ่งมีความแตกต่างกัน (กฎหมายต้องใช้หลักการที่ตรง (ค่อนข้างใจร้าย) จริยศาสตร์ต้องใช้เหตุผลแบบใจดี)

2.เทคนิคการทำข้อสอบ
**เครื่องเขียน บัตรสอบ ทุกอย่างเตรียมให้พร้อม

**ฝึกทำข้อสอบบ่อยๆ โดยจับเวลาอย่างเคร่งครัด เพื่อฝึกตัวเองให้คุ้นชินไม่ตื่นเต้นและเครียดจนควบคุมตัวเองไม่ได้เมื่อถึงวันสอบจริง  ต้องมีวิธีควบคุมความเครียด ก่อนทำข้อสอบ ขณะทำข้อสอบ และหลังทำข้อสอบ แต่ละวิชา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการทำข้อสอบในวิชาต่อมา ไม่ต้องกังวลกับวิชาที่ทำไปแล้ว ต้องมีสมาธิขณะทำข้อสอบ มีเวลาน้อย ถ้ากังวลจะทำข้อสอบได้ช้า และต้องอ่านซ้ำหลายครั้ง

**จิบน้ำหวาน  (จิบนะ ไม่ใช่ดื่มเป็นแก้ว) ก่อนลงมือทำข้อสอบ 15 นาที

** ห้ามกินอาหารจนอิ่มก่อนสอบ ให้เลือกกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยเฉพาะมื้อเที่ยง ระวังจะหลับในห้องสอบ

**ค้นหาคำสำคัญ ประเด็น แยกแยะคำถามให้ดี

**ถ้าตอบไม่ได้ ให้เดาตอบไปเลย ไม่ต้องเว้นไว้ เพราะมักไม่มีเวลากลับมาอ่านอีก หรือสุดท้ายก็ต้องเดาอยู่ดี นอกจากนั้นถ้าเว้นไว้ อาจทำให้ ทำข้อสอบหลงข้อได้

3. สาเหตุที่ผู้สำเร็จการศึกษาสอบได้น้อย โดยสรุป มีดังนี้(กรณีศึกษา วพ.พระปกเกล้าจันทบุรี)

**นักศึกษาไม่ได้เข้าร่วมสอนเสริมตามที่ได้จัดไว้

**นักศึกษามีความรู้พื้นฐานยังไม่ดีพอ

**นักศึกษาบางคนคาดหวังจะผ่านเฉพาะวิชาที่มีข้อสอบน้อย ๆ ก่อน

**หลักการวิเคราะห์ในข้อสอบ เช่น ที่ถามเกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมายจะแตกต่างกัน  ต้องมีความแม่นยำและมีความเข้าใจจึงจะสามารถวิเคราะห์ได้ถูกต้อง   แต่นักศึกษายังไม่มีความแม่นยำและความเข้าใจที่ดีพอ

**การสอบวัดผลในการเรียนแต่ละวิชา  เมื่อสอบแล้วไม่มีการนำเนื้อหามาสอบอีกครั้ง  ทำให้ไม่ได้อ่านเนื้อหาทบทวน  ความรู้ของนักศึกษาจึงมีความแม่นยำน้อยลง

4. แนวทางการเตรียมนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพื่อการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ มีดังนี้(กรณีศึกษา วพ.พระปกเกล้าจันทบุรี)

**สำรวจความต้องการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเปิดเทอมที่ 1 ในช่วงเวลาพบอาจารย์ประจำชั้นและพบอาจารย์ที่ปรึกษา

**แบ่งกลุ่มนักศึกษาแยกกลุ่มเก่ง  กลุ่มอ่อน  โดยพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษา โดยจัดนักศึกษากลุ่มละประมาณ 10 คน

**อาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาที่สอบสภาฯ ช่วยกันสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม

**วางแผนโปรแกรมการสอนเสริมโดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นักศึกษาประกอบด้วย

**จัดโปรแกรมการสอนเสริมตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1  โดยให้นักศึกษาฝึกทำข้อสอบในเว็บไซต์ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1

**จัดกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับนักศึกษาตั้งแต่เริ่มแรกและมีการกระตุ้นเป็นระยะๆ  โดยให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างพลังอำนาจด้วย   เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของตนเอง  และมีพลังในการสอบมากขึ้น

**มีกระบวนการเสริมให้นักศึกษามีสมาธิมากขึ้นในการเรียนรู้  เช่น การทำสมาธิก่อนเรียน  เป็นต้น

**วางแผนในการจัดทำข้อสอบตามผังการออกข้อสอบของสภาฯ  โดยมีเฉลยพร้อมคำอธิบายทั้ง 8 รายวิชา

**ในแต่ละรายวิชาต้องมีการวิเคราะห์ว่าเนื้อหาใดที่สภาฯมักนำมาออกข้อสอบเพื่อจะได้นำมาเน้นย้ำกับนักศึกษาได้ตั้งแต่เริ่มเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอบสภาฯ

**ในการสอนภาคปฏิบัติแต่ละรายวิชา  หากมีสถานการณ์ที่สามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบสภาฯได้   ขอความร่วมมือให้ผู้สอนสอดแทรกเนื้อหาให้กับนักศึกษาด้วย

**ในการสอนภาคปฏิบัติ  หากมีการสอบปากเปล่านักศึกษาเป็นรายบุคคลในประเด็นที่สำคัญจะช่วยทำให้ค้นหานักศึกษากลุ่มอ่อนได้เร็วขึ้นและช่วยแก้ไขได้ตรงจุดมากขึ้น

12)  ในการสอนภาคปฏิบัติ  หากให้นักศึกษามีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลรายวิชา   จะช่วยทำให้นักศึกษามีความสนใจเพิ่มขึ้น  และช่วยเติมเต็มจุดอ่อนของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น  โดยจะเป็นข้อสอบอัตนัยหรือปรนัยก็ได้แล้วแต่รายวิชา   แต่ควรเป็นเนื้อหาสำคัญที่นักศึกษาต้องรู้  ในรายวิชานั้นและหากสอบไม่ผ่านจะต้องมีการซ่อมเสริมเพื่อให้ผ่านทุกคน

13)  ในการสอนภาคปฏิบัติที่มีผู้สอนหลายคน  หากมีการทำเนื้อหาสรุปประเด็นสำคัญที่นักศึกษาทุกกลุ่มจำเป็นต้องรู้เพื่อเป็นคู่มือในการเรียนการสอนจะช่วยทำให้นักศึกษาทุกคนสามารถเรียนรู้เนื้อหาที่จำเป็นได้ครบถ้วน

**จัดให้มีการสอน Pre-clinic ในกิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญของแต่ละรายวิชาก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชานั้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาที่มีการสอบสภาฯ  จะช่วยทำให้นักศึกษามีการทบทวนความรู้เดิมและเสริมความรู้ใหม่ได้ดีขึ้น

โดยสรุป การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4  ต้องเริ่มตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 1 โดยตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจในรายวิชาที่สอบสภาฯของนักศึกษาแต่ละคน เมื่อฝึกภาคปฏิบัติ และมีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้นักศึกษาตลอดปีการศึกษาจนกว่าจะเข้าสอบ โดยใช้แนวทางการจัดกิจกรรมในปีทีผ่านมา ซึ่งต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับนักศึกษาในปีการศึกษานี้

5.ข้อเสนอแนะ

**อาจารย์บอกข้อดี  ข้อเสียของการสอบผ่าน / สอบไม่ผ่าน

**อาจารย์แนะนำวิธีการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมทบทวนเนื้อหา

**อาจารย์แนะนำวิธีการควบคุม  จัดการตนเองให้พร้อมสำหรับการสอบ

**อาจารย์แนะนำวิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้ มากขึ้น มีดังนี้

-  แนะนำให้นักศึกษาอ่านหนังสือตามแผนผังการออกข้อสอบของสภาการพยาบาล

-  แนะนำหนังสือในห้องสมุดของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  ที่มีเนื้อหาวิชา/หัวข้อ ตรงตามที่สภาการพยาบาลกำหนดไว้

-  ทำเอกสารประกอบการสอนที่มีเนื้อหาตรงตามแผนผังการออกข้อสอบของสภาการพยาบาล
-  สอนในเนื้อหา/หัวข้อที่ยากต่อการทำความเข้าใจ

-  ให้ทำข้อสอบหลายๆชุด  และเฉลย  โดยมีการอธิบายรายละเอียดของเนื้อหาตามที่โจทย์ถาม วิธีการตัดสินใจเลือกคำตอบที่ถูกต้อง  วิธีการสังเกตตัวเลือกที่ควรตัดทิ้ง

**เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ  จากสถาบันอื่นมาสอนนักศึกษา

**สถาบันควรมีมาตรการกดดันนักศึกษาให้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบภายใต้ความรู้สึกกดดันบ้าง เช่น ถ้าสอบไม่ผ่านข้อสอบเครือข่าย จะต้อง…. (ที่มีผลกระทบต่อตัวนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน)

**ตลอดการเตรียมตัวสอบ นักศึกษามักจะบ่นว่าหนัก เหนื่อย แต่อาจารย์ก็ไม่ควรปล่อยให้นักศึกษาอ่านหนังสือเอง เพราะอ่านได้น้อย ใช้เวลาไม่คุ้มค่า นักศึกษาจะซาบซึ้งเองเมื่อต้องไปสอบจริง และเข้าใจว่าทำไมอาจารย์จึงต้องบังคับ

**อาจารย์ประจำชั้นหรือ อาจารย์ที่ปรึกษา ควรเข้มงวด แต่ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องพยายามปลุกปลอบให้กำลังใจเด็กด้วย เพราะ เด็กอาจจะเหนื่อยท้อ ทำให้ไม่้เข้าติว บางคนทิ้งหนังสือไปเลยเพราะไม่มีกำลังใจ

**ในการอ่านหนังสือ/ทบทวนเอง นักศึกษาอาจใช้ mind mapping ในการสรุปเนื้อหา

**ในการทบทวน ถ้าให้นักศึกษาอ่านเอง ควรให้ส่งสรุปประเด็นสำคัญ ให้อาจารย์ตรวจสอบ เพราะถ้าไม่กำหนดให้ทำ หรืออาจารย์ไม่ตรวจนักศึกษาก็จะไม่ทำ หรือไม่ตั้งใจทำ

**เอกสารประกอบการสอน ควรมีรายละเอียด ซึ่งนักศึกษาสามารถ นำมาอ่านทบทวนได้เมื่อเตรียมสอบสภาฯ

** เนื้อหาบางอย่างควร update ให้ทันกับ Bluprint ของสภาการพยาบาล โดยเฉพาะการปฏิบัติ เช่น การทำแผล การตรวจพิเศษ การบันทึกทางการพยาบาล และ NI

**สุดท้ายทั้งครูและศิษย์ ต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาล นั่นคือการพัฒนาความรู้ของพยาบาล เพื่อธำรงรักษาและส่งเสริมให้วิชาชีพเด่นขึ้น ผู้รับบริการได้รับการพยาบาลจากพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ อันจะนำไปสู่การมีต้นทุนที่ดี(สุขภาพ...เป็น....ต้นทุน...ตามหลักของเศรษฐศาสตรสุขภาพ) ส่งผลให้ประเทศชาติมีทุนหรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป

ที่มา:

1. สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอน การประชุม เพื่อสอบสภาฯ ปีการศึกษา2552-2554, วพ.พระปกเกล้าจันทบุรี
2.ประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้เขียน/ฐานิกา บุษมงคล
3. กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล 2557

ประสบการณ์จากรุ่นพี่ๆ

2556
**พี่ GiFtz Somprasongkit วิชามารดาทารก ถึงโจทย์จะยาว แต่อย่างงไปกับโจทย์ค่ะ เทคนิคเล๊กๆ น้อยๆ คือต้องขีดเส้นใต้ใจความสำคัญไว้ จะทำให้ทำข้อสอบได้เร็ว และอย่าคิดลืกนะคะ ข้อสอบบ้างข้อคิดตื้นๆก็พอ ^___^


ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณค่ะ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณค่ะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1