บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม 31, 2013

การทบทวนวรรณกรรม

เรียบเรียง โดย ฐานิกา บุษมงคล  วรรณกรรม (literature)  หมายถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้มีการเก็บบันทึกรวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษา วัตถุประสงค์ของการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ 1. เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัยมาก่อน 2. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ 3. เพื่อให้ทราบปัญหาและอุปสรรคของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. เพื่อให้ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 5. ทำให้สามารถเชื่อมโยงงานวิจัยของตนเองเข้ากับผลงานวิจัยที่อาจมีบุคคลอื่นได้ทำมาแล้ว วรรณกรรมที่ผู้วิจัยสามารถค้นคว้ามี 12 ประเภท ได้แก่ 1 หนังสือ  2 หนังสืออ้างอิง  3 วารสารและจุลสาร  4 ข่าวสาร  5 หนังสือพิมพ์ 6 เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา 7 รายงานการวิจัย 8 วิทยานิพนธ์ 9 สารนิพนธ์ 10 เอกสารสิ่งพิมพ์อื่นๆ  ได้แก่ รายงานการประชุม คำสั่ง หนังสือเวียน รายงาน   การศึกษาดูงาน  รายงานประจำปีของหน่วยงาน 11 ไมโครฟิลม์ 12 ฐานข้อมูล กระบวนการของการค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมี 5 ขั้นตอน  คือ 1 กำหนดเรื่อง หัวเรื่อง หัวข้อเ