การผ่าตัดคลอดพร้อมคำอธิบาย(ผู้ชมต้องอายุ18ปีขึ้นไป)









ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
การผ่าท้องทำคลอด หรือ การผ่าตัดคลอด(ฐานิกา บุษมงคล) (อังกฤษ: Caesarean section) หรือ ซี-เซกชัน (C-section) หรือ ซีซาร์ (Caesar) เป็นหัตถการทางศัลยศาสตร์กระทำโดยการผ่าที่บริเวณส่วนท้องของมารดา (ผ่าท้องและผ่ามดลูก) เพื่อให้ทารกในครรภ์คลอด มักทำเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของมารดาหรือเด็ก แม้ในปัจจุบันจะมีการผ่าท้องทำคลอดตามความประสงค์ของมารดามากขึ้น[1][2][3] องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าอัตราการผ่าท้องทำคลอดไม่ควรเกิดร้อยละ 15 ของในแต่ละประเทศ

ชนิด
1. การผ่าท้องทำคลอดแบบดั้งเดิม (classical Caesarean section) เป็นการผ่าตามแนวตั้งตรงกลางของมดลูก ซึ่งให้พื้นที่กว้างในการทำคลอดทารก แต่ในปัจจุบันไม่นิยมทำเพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่า
2. การผ่าท้องทำคลอดชนิดตัดส่วนล่างของมดลูก (lower uterine segment section) เป็นหัตถการที่นิยมทำในปัจจุบัน เป็นการตัดในแนวขวางเหนือขอบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้เสียเลือดน้อยกว่า และเย็บซ่อมได้ง่ายกว่า บางคนเรียกการผ่าหรือการกรีดแบบ บิกินี่(ฐานิกา บุษมงคล)

ข้อบ่งชี้
การผ่าท้องทำคลอดควรทำต่อเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจทำให้ทารกหรือมารดามีความเสี่ยง มิใช่ว่าภาวะที่ระบุไว้ด้านล่างทั้งหมดที่เป็นข้อบ่งชี้บังคับ และในหลายกรณีที่สูติแพทย์จะต้องตัดสินให้มารดาได้ผ่าท้องทำคลอดเป็นรายๆ ไป ข้อบ่งชี้ของการผ่าท้องทำคลอด เช่น
1. ภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บครรภ์และปัจจัยที่ขัดขวางการคลอดทางช่องคลอด เช่น
1.1 การคลอดที่ใช้เวลานาน หรือการคลอดไม่ดำเนินต่อไป (การคลอดลำบาก)
1.2 ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
1.3 สายสะดือย้อย (cord prolapse)
1.4 มดลูกแตก (uterine rupture)
1.5 รกผิดปกติ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนกำหนด หรือรกงอกติด
2. ส่วนนำของทารกผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
3.การชักนำการคลอดล้มเหลว
4.การใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เช่น ใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศล้มเหลว ในบางครั้งอาจมีการลองคลอดโดยใช้คีม/เครื่องสุญญากาศ และหากไม่สำเร็จจะเปลี่ยนไปผ่าท้องทำคลอดแทน
5.ทารกตัวโต (macrosomia)
6.ปัญหาของสายสะดือ เช่น หลอดเลือดสายสะดือห้อยต่ำ (vasa previa), รกหลายกลีบ (multi-lobate), รกหางว่าว (velamentous insertion)
7.ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของการตั้งครรภ์ ภาวะที่เกิดก่อนหรือเกิดร่วมกับการตั้งครรภ์ เช่น
7.1โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (pre-eclampsia)
7.2ความดันโลหิตสูง[4]
7.3แฝด
7.4เคยคลอดทารกที่มีความเสี่ยงสูง
7.5มารดาติดเชื้อเอชไอวี
7.6โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น เริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งอาจติดต่อไปยังทารกได้หากคลอดทางช่องคลอด แต่สามารถรักษาได้ด้วยยาและไม่จำเป็นต้องผ่าท้องทำคลอด
7.7ประวัติเคยผ่าท้องทำคลอด (อาจมีข้อโต้แย้งได้ เช่นการคลอดทางช่องคลอดในมารดาที่เคยคลอดบุตรโดยการผ่าท้องมาก่อน (Vaginal birth after caesarean; VBAC))
7.8ปัญหาเดิมของการหายของแผลฝีเย็บ (จากการคลอดครั้งก่อนหรือเป็นโรคโครห์น (Crohn's Disease))

แหล่งข้อมูลอื่น
ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มะโนทัย, สมชาย ธนวัฒนาเจริญ, กระเษียร ปัญญาคำเลิศ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2551.

อ้างอิง
1.^ Fear a factor in surgical births - National - smh.com.au
2.^ Kiwi caesarean rate continues to rise - New Zealand news on Stuff.co.nz
3.^ Finger (2003). "Caesarean section rates skyrocket in Brazil. Many women are opting for Caesareans in the belief that it is a practical solution.". Lancet 362. doi:10.1016/S0140-6736 (03) 14204-3. PMID 12947949
4.^ Turner R (1990). "Caesarean Section Rates, Reasons for Operations Vary Between Countries". Fam Plann Perspect. 22 (6): 281–2. doi:10.2307/2135690

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1