การใส่สายยาง Nasogastric intubation



Nasogastric intubation

Nasogastric intubation หมายถึง การใส่สายยางเข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยผ่านเข้าทางรูจมุก ไปสู่หลอดอาหาร   จนถึงกระเพาะอาหาร ซึ่งทำโดยแพทย์หรือพยาบาล


วัตถุประสงค์ในการใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหาร
  1. เพื่อให้อาหารและยาแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานได้ทางปาก
  2. เพื่อดูดหรือระบาย น้ำย่อย และก๊าซออกจากกระเพาะอาหาร ลดอาการแน่นท้อง (gastric suction)
  3. เพื่อดูดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมาตรวจ (gastric analysis)
  4. เพื่อใส่สารละลายในการล้างกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่รับประทานสารพิษ หรือยาเกินขนาด ( Gastric lavage/Irrigation)
  5. เพื่อหยุดการออกของเลือดในกระเพาะอาหารโดยการ cool  normal saline Irrigation
ชนิดของการใส่สายให้อาหาร
การใส่สายข้าไปในกระเพาะอาหารสามารถใส่ผ่านเข้าไปได้หลายทาง ดังต่อไปนี้
  1. Orogastric intubtion เป็นการใส่สายเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหารถึงกระเพาะอาหาร
  2. Nasogstric intubtion (NG tube) เป็นการใส่สายเข้าทางรูจมูก ผ่านหลอดอาหาร ถึงกระเพาะอาหาร
  3. Nasojejunal tube เป็นการใส่สายเข้าทางรูจมูก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารถึงลำไส้เล็กส่วน jejunum
  4. Gastrostomy tube เป็นการใส่สายให้อาหารผ่านทางผนังหน้าท้อง เข้าไปในกระเพาะอาหาร
  5. Jejunostomy tube เป็นการใส่สายให้อาหารผ่านทางผนังหน้าท้อง เข้าไปในลำไส้เล็กส่วน jejunum

การเตรียมผู้ป่วย


การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหารผ่านทางจมูกก่อนใส่จะต้องถึงวัตถุประสงค์ของการใส่และวิธีการใส่ให้ผู้ป่วยรับทราบและเข้าใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีเพื่อความร่วมมือขณะใส่สายและลดความวิตกกังวล


การวัดความยาวของสาย NG tube

ก่อนใส่สายจะต้องวัดความยาวของสายที่จะใส่เพื่อให้ปลายสายอยู่ที่กระเพาะอาหารพอดี ไม่สั้นหรือยาวเกินไป โดยวัดจากปลายจมูกถึงติ่งหูถึงลิ้นปี่ (Xiphoid process)


อุปกรณ์เครื่องใช้ในการใส่สาย
  1. สายที่ใส่ทางจมูกหรือทางปาก ( Nasogastric tube หรือ NG tube) ทำด้วยสายโพลีเอทิลีน(Polyethylene) หรือซิลิโคน (Silicone) ขนาด 12-18 French 
  2.  Luer-Lok syringe หรือ syringe feed ขนาด 50-60 cc
  3. ชามรูปไต ขนาดใหญ่ 1 ใบ
  4. สารหล่อลื่นชนิดละลายน้ำได้ (water soluble lubricant) เช่น K-Y jelly หรือ xylocain jelly
  5. Stethoscope
  6. พลาสเตอร์
  7. ถุงมือ dispossable  
การใส่สาย



  1. เตรียมอุปกรณ์ในการใส่สายให้พร้อม สำหรับผู้ที่ถนัดขวา เข้าทางด้านขวาของผู้ป่วย ส่วนผู้ที่ถนัดซ้ายให้เข้าทางซ้ายของผู้ป่วย
  2. บอกให้ผู้ป่วยทราบ และบอกวัตถุประสงค์
  3. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนในท่านอนหงาย ศีรษะสูง ( High Fowler's position)
  4. ประเมินสภาพผู้ป่วยโดยการตรวจดูรูจมูกที่จะใส่สายว่ามีสิ่งอุดตัน หรือมีความผิดปกติของ หรือไม่ ถ้ามีให้หลีกเลี่ยง
  5. สวมถุงมือ
  6. วัดความยาวของสาย NG tube ที่จะใส่จากปลายจมูกถึงติ่งหู และจากติ่งหูจนถึงลิ้นปี่ ( Xiphoid process) ทำเครื่องหมายหรือติดพลาสเตอร์ไว้
  7. ดัดปลายสาย NG tube ให้โค้งงอประมาณ 4- 6 นิ้ว เพื่อให้ง่ายต่อการใส่สายขณะผ่าน จากรูจมูกเข้าไปในหลอดอาหาร
  8. หล่อลื่นปลายสาย NG tube ด้วย K-Y jelly หรือ xylocain jelly ยาวประมาณ 4 นิ้ว นับจากปลายสายด้านที่จะใส่เข้าไปในจมูกผู้ป่วย
  9. สอดปลายสาย NG tube เข้าทางรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งที่เตรียมไว้ อย่างเบามือ  
  10. แล้วประมาณว่าปลายสายถึงคอหอย (ผู้ใส่จะรู้สึกว่าปลายสายไปชนอะไรบางอย่าง และดันสายไม่เข้า) ก็ให้บอกผู้ป่วยช่วยกลืนน้ำลาย พร้อมกับผู้ใส่ดันสาย NG tube เบาๆ จนถึงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ถ้าผู้ป่วยมีอาการไอ หรือสำลัก ให้หยุดใส่และดึงสายออกก่อน เพราะปลายสายอาจจะเข้าไปในหลอดลมได้ และให้เริ่มต้นใหม่
  11. ติดยึดสาย NG tube ไว้กับข้างแก้มชั่วคราว 
  12. ตรวจสอบปลายสายว่าเข้าไปในกระเพาะอาหารโดย ให้ผู้ป่วยอ้าปากดูว่า มีสายขดม้วนอยู่ในปากหรือไม่
  13. ตรวจสอบโดยใช้หูฟัง (Stethoscope) ฟังที่บริเวณลิ้นปี่ของผู้ป่วย โดยใช้ syringe feed ดันลมประมาณ 10-30 มล. ผ่านสาย NG tube เร็วๆ จะได้ยินเสียง แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร 
  14. ติดพลาสเตอร์ยึดสาย NG tube กับสันจมูก ระวังอย่าให้แน่นเกินไป เพราะอาจจะเกิดแผลกดทับได้
  15. จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงเล็กน้อย
  16. เก็บอุปกรณ์และบันทึกลงในบันทึกทางการพยาบาล


การตรวจสอบปลายสายให้อาหาร

เป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติก่อนให้อาหารทุกครั้ง  เพื่อให้แน่ใจว่าปลายสายอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  จากการที่ปลายสายให้อาหารเลื่อนออกมานอกกระเพาะอาหาร ( tube displacement)   วิธีการปฏิบัติ

  1. ทดสอบด้วยการดูดดูสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหาร (gastric residual)  ถ้าได้สิ่งตกค้างจากกระเพาะอาหารแสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร ถ้าไม่ได้สิ่งตกค้างจะต้องปฏิบัติวิธี ที่ 2 ต่อไป
  2. ฟังเสียงลมผ่านปลายสายให้อาหาร โดยใช้ Syringe Feed ดันลมเข้าไปประมาณ 15-20 มล. ในผู้ใหญ่ และในเด็ก 3-5 มล. พร้อมกับฟังด้วย Stethoscope บริเวณ Xiphoid process


การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร

  1. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3 วัน หรือเมื่อหลุด  หรือเมื่อเปรอะเปื้อน
  2. ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
  3. ระวังสายยางเลื่อนหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังเกตด้วย

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณมากๆนะครับ....อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากเลยครับ
Unknown กล่าวว่า
ถ้าใส่สายลึกเกินไปมีวิธีสังเกตุหรือตรวจสอบมั้ยคะ
わがりません กล่าวว่า
ทำเครื่องหมายทำเครื่องหมายเปนจุดสังเกตุไว้ครีบ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1