กระบวนการพยาบาล

กระบวนการพยาบาล

กระบวนการพยาบาล หมายถึง ลำดับขั้นตอนของการดูแลที่มีการวางแผนและการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น


คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาล


คุณลักษณะของกระบวนการพยาบาลมี 6 ประการคือ
1. มีเป้าหมาย (Purposeful) กระบวนการพยาบาลมีเป้าหมายเป็นตัวชี้นำการปฏิบัติ ผู้ใช้กระบวนการพยาบาลจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของผู้รับบริการให้ชัดเจน

2. เป็นระบบ (System) กระบวนการพยาบาลมีวิธีการและขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลที่บอกต่อกันมาหรือการดูแลเฉพาะสถาบัน

3. เป็นพลวัตร (Dynamic) กระบวนการพยาบาลไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา และมีความต่อเนื่อง เหมาะสมกับความต้องการหรือปัญหาของผู้รับบริการ กล่าวคือ กระบวนการพยาบาลไม่หยุดนิ่งอยู่ที่การวางแผนเท่านั้น แต่ต้องมีการปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลการพยาบาลเมื่อประเมินผลแล้วถ้าพบว่ายังมีปัญหาทางการพยาบาลอยู่ ก็ต้องเริ่มต้นกระบวนการพยาบาลใหม่ด้วยการประเมินภาวะสุขภาพใหม่ วินิจฉัยทางการพยาบาลใหม่และวางแผนการพยาบาลใหม่ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการแก้ปัญหานั้น ๆ ให้หมดไป คือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการตลอดเวลา

4. มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ตลอดกระบวนการพยาบาล พยาบาลต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ ครอบครัว ชุมชน และบุคลากรอื่น ๆ ในทีมสุขภาพ เพื่อให้เกิดการดูแลผู้รับบริการเฉพาะบุคคล

5. มีความยืดหยุ่น (Flexible) กระบวนการพยาบาลสามารถนำ ไปปรับใช้ได้ทุกสถานการณ์ทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม หรือ ชุมชน ปฏิบัติที่ละขั้นตอนหรือปฏิบัติพร้อม ๆ กัน ไปในหลายขั้นตอนก็ได้

6. อยู่บนพื้นฐานของทฤษฏี (Theoretically base) กระบวนการพยาบาลได้รับการออกแบบจากพื้นฐานความรู้ที่กว้างขวางทั้งทางวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ กรอบแนวคิดทฤษฏีทางการพยาบาล


ลักษณะของกระบวนการพยาบาล

• Systematic —กิจกรรมเป็นขั้นเป็นตอน มีวงจรต่อเนื่องกัน ตามลำดับ

• Dynamic —มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีส่วนที่ซ้อนทับกันระหว่าง 5 ขั้นตอน

และมีกลไกย้อนกลับทุกขั้นตอน

• Interpersonal — เคารพในความเป็นมนุษย์เป็นหัวใจของการพยาบาล

• Outcome oriented — พยาบาลและผู้ป่วยทำงานร่วมกันในการกำหนดผลลัพธ์ของการดูแล

• Universally applicable — เป็นกรอบที่ใช้สำหรับกิจกรรมทางการพยาบาลทุกกิจกรรม


ประโยชน์ของกระบวนการพยาบาล


1. กระบวนการพยาบาลที่ใช้ในผู้ป่วยจะช่วยกำ หนดขอบเขตของวิชาชีพพยาบาลได้ชัดเจนขึ้น และมองเห็นวัตถุประสงค์ของการพยาบาลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทีมสุขภาพ คือการแก้ไขปรับปรุง และฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำ คัญ เพราะพยาบาลต้องรับผิดชอบสุขภาพของผู้ป่วยเท่าเทียมกับ
บุคลากรในทีมสุขภาพคนอื่นๆ

2. กระบวนการพยาบาลจะช่วยให้การปฏิบัติพยาบาลเป็นระบบขึ้น ก่อให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของวิชาชีพพยาบาลจากความสามารถของพยาบาลในการนำ กระบวนการพยาบาลไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีความภูมิใจในวิชาชีพ เพราะมองเห็นเป้าหมายของงานที่ทำ อยู่และเป็นการสร้างสมรรถภาพของการปฏิบัติงานให้เป็นที่ยอมรับของสังคมพยาบาลสังคมของทีมสุขภาพ และสังคมภายนอก ซึงถ้าพยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลอย่างเป็นระบบจะทำ ให้การ
ปฏิบัติงานทำ ได้อย่างเหมาะสม และสามารถตอบ คำ ถามได้ว่า “การพยาบาลคืออะไร” ซึ่งถ้าพยาบาลทุกคนใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทุกราย คำ ตอบที่ได้จะไม่มีความแตกต่างกัน คือ การพยาบาลเป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ ซึ่งอาจเป็นการแก้ปัญหาที่พยาบาลช่วยเหลือ ประคับประคองจนสามารถ แก้ไขปัญหาได้ หรือพยาบาลเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยตัวของผู้ป่วยเอง ซึ่งปัญหาบางอย่างจำ เป็นต้องให้ผู้ป่วยยอมรับและหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองจึงจะประสบผลสำเร็จ

4. ช่วยในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในทีม เป็นการลดความซํ้าซ้อนในการปฏิบัติการพยาบาล ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

5. เป็นการปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล ช่วยให้มีการติดตามประเมินผลแต่ละขั้นตอนของ


องค์ประกอบของกระบวนการพยาบาล

กระบวนการพยาบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญหรือมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การประเมินสภาพผู้ป่วย (Assessment)
ขั้นที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
ขั้นที่ 3 การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Planning)
ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention)
ขั้นที่ 5 การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)


การประเมินสภาพ (Assessment) เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาล เป็นการเก็บรวบรวม จัดกลุ่ม ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลของผู้รับบริการอย่างมีระบบ โดยใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพ แล้วนำ ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำ ไปสู่การวินิจฉัยการพยาบาลต่อไป

การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis) เป็นขั้นตอนของการดำ เนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่เก็บรวบ
รวมมาได้ เพื่อนำ มาตัดสินว่าปัญหาหรือสภาวะสุขภาพของผู้รับบริการที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคืออะไร หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคืออะไร พยาบาลนำ ข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ แปลความ จัดกลุ่ม ตัดสิน และกำหนดชื่อของภาวะสุขภาพนั้น เพื่อนำ ไปวางแผนการพยาบาลต่อไป


การวางแผนการพยาบาล (Nursing Care Planning) เป็นขั้นตอนที่พยาบาลนำ เอาปัญหาหรือสภาวะสุขภาพของผู้รับบริการที่ประเมินได้จากขั้นตอนการวินิจฉัยมาจักลำ ดับความสำ คัญของปัญหา เพื่อให้ทราบว่าปัญหาใดต้องได้รับการแก้ไขก่อนหลัง จากนั้นกำ หนดจุดมุ่งหมายของการพยาบาล กำ หนดเกณฑ์การประเมินผล กำ หนดกิจกรรมการพยาบาล และเขียนแผนการพยาบาลลงในแบบฟอร์มแผนการพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน

การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention) เป็นขั้นตอนเพื่อนำ แผนที่กำ หนดไว้ในขั้นที่ 3 มาสู่การปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ในขั้นตอนนี้พยาบาลต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดูแลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม ภายหลังปฏิบัติการพยาบาลแล้วจะต้องทำ การบันทึกกิจกรรมที่ได้ให้


การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) เป็นการประเมินว่าผู้รับบริการได้รับการดูแลและมีการพัฒนาไปสูจุ่ดมุ่งหมายที่วางไว้ตามเกณฑ์ที่กำ หนดหรือไม่ ในขั้นตอนนี้พยาบาลและผู้รับบริการต้องตัดสินร่วมกันว่าแผนการพยาบาลได้ผลหรือไม่ มีปัจจัยใดที่มีผลทำ ให้บรรลุผลหรือล้มเหลว ถ้าพบว่าการพยาบาลที่ปฏิบัติไม่บรรลุเป้าหมาย จำ เป็นต้องปรับแผนการพยาบาลใหม่ โดยเริ่มดำ เนินการตั้งแต่ข้อ 1-4 ใหม่ จนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้


อ่านเพิ่มเติม

http://gotoknow.org/blog/nursingprocess/118293

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1