การดูดเสมหะ


การดูดเสมหะ


วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางเดินหายใจโล่งปราศจากเสมหะอุดตัน

2. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการระบายอากาศหายใจ (ventilation) เพิ่มขึ้น และทำให้ปอดมีการแลกเปลี่ยน

ก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ดีขึ้น

3. ป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่อาจเป็นแผลจากการมีเสมหะคั่งค้างอยู่มากในทางเดินหายใจ


เครื่องมือ
1. เครื่องดูดเสมหะ

2. หูฟัง

3. สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ ผู้ใหญ่ใช้เบอร์ 14-16 เด็กใช้เบอร์ 8 - 10

4. ออกซิเจนและสายยางเหลือง

5. หลอดสำหรับต่อจากสายที่ต่อจากเครื่องดูดลายเสมหะ

6. ไม้กดลิ้นหรือ Mouth gag

7. ผ้าก๊อซ 2 ผืน

8. ยางรัด 2 เส้น

9. ถุงมือ Sterile

10. ขวดสะอาดขนาด 500 – 1,000 มล. 1 ขาดใส่น้ำต้มสุก หรือ sterile water

11.O2 Sat mornitor

12. ผ้าปิดปากและจมูก (Mask)

13. สำลี Alcohol 70 %

14.Ambu bag

ข้อบ่งชี้


1. เพื่อกำจัดเสมหะในหลอดลมที่ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดออกไปได้เองด้วยการไอ ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลม หรือได้รับการเจาะหลอดลม (endotracheal or tracheostomy tube)
2. เพื่อนำเอาเสมหะไปใช้ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ข้อควรระวัง
1. ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจน (h ypoxemia) อย่างรุนแรง
2. ผู้ป่วยที่มีอาหารอยู่เต็มกระเพาะ จะทำให้เกิดการสำลักได้
3. ภาวะเลือดออกผิดปกติ


ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ในกรณีผู้ป่วยรู้สึกตัวครั้งแรกก่อนก่อนดูดเสมหะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเหตุผลและวิธีการดูดเสมหะเพื่อขอความร่วมมือในการพยาบาลและคลายความวิตกกังวล

2. ประเมินเสียงลมหายใจที่ปอดก่อนดูดเสมหะเพื่อทราบตำแหน่งของการมีเสมหะ หากได้ยินเสียงเสมหะจึงดูดเสมหะไม่ควรดูดเสมหะทุก 1 – 2 ชั่วโมง เนื่องจากอาจทำให้ทางเดินหายใจได้รับภยันตราย ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และอาจเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

3. ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต

4. เตรียมอุปกรณ์ในการดูเสมหะให้พร้อมตลอดเวลาและวางไว้ข้างเตียงผู้ป่วย

5. จัดท่าของผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่ดูดเสมหะได้ง่าย คือ ท่านอนหงาย หันหน้าไปด้านตรงข้ามกับหลอดลมหรือปอดข้างที่ต้องการดูดเสมหะ นอนศีรษะสูง 20 - 30 องศา

6. ผู้ดูดเสมหะและผู้ช่วยดูดเสมหะล้างมือให้สะอาดหรือ Scrub มือด้วยแอลกอฮอล์เจล ก่อนดูดเสมหะทุกครั้ง พร้อมสวมผ้าปิดปากและจมูกและสวมใส่ชุดคลุมสะอาด

7. เลือกขนาดของสายดูดเสมหะให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกินครึ่งหนึ่งของท่อช่วยหายใจ

8. ผู้ดูดเสมหะสวมถุงมือปราศจากเชื้อข้างที่ถนัดต่อสายดูดเสมหะเข้ากับสายที่ต่อเครื่องดูดเสมหะด้วยเทคนิคปราศการเชื้อ

9. ผู้ช่วยดูดเสมหะสวมถุงมือสะอาดปลดข้อต่อที่ติดกับสายต่อเข้าเครื่องช่วยหายใจ แขวนสายต่อเครื่องช่วยหายใจที่เครื่องช่วยหายใจ ห้ามวางบนตัวผู้ป่วยหรือบนเตียงนอน

10. ผู้ดูดเสมหะเปิดเครื่องสอดสายสูดเสมหะด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ในขณะที่ผู้ป่วยดูดเสมหะช่วยจับท่อช่วยหายใจ ผู้ดูดเสมหะสอดสายดูดเสมหะเข้าไปในท่าช่วยหายใจให้ลึกประมาณ 20 -30เซนติเมตร ในรายที่ใส่ท่อเจาะคอ หรือผู้ป่วยทีมีอาการไอแสดงว่าปลายสายดูดเสมหะกระตุ้นCarina ให้ถอยสายดูดเสมหะออกมาประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เริ่มดูดเสมหะโดยใช้นิ้วหัวแม่มือข้างที่ถนัดปิดรูควบคุมแรงดูด และใช้มือข้างที่ถนัดสวมถุงมือปราศจากเชื้อดูดเสมหะ เวลาในการดูดเสมหะ 5 – 10 วินาที ไม่ควรเกิน 15 วินาที และใช้แรงดันในการดูด 80 – 120 มิลลิเมตรปรอทโดยทั่วไปนิยมใช้แรงดันประมาณ 100 มิลลิเมตรปรอท

11. ผู้ช่วยดูดเสมหะใช้ Self inflating bag ต่อกับออกซิเจน 100 % จำนวน 5 – 10 ลิตร กับท่อช่วยหายใจภายหลังทำความสะอาดข้อต่อท่อช่วยหายใจและหัวต่อ ambu bag ด้วยแอลกอฮอล์ 70 %แล้วบีบ ambu bag ด้วยมือทั้งสองข้างอย่างสม่ำเสมอตามจังหวะการหายใจเข้านาน 3 - 5 ครั้งติดต่อกัน บางรายจำเป็นต้องบีบ ambu bag นาน 3 นาที จนกระทั่งค่า O2 saturation กลับคืนสู่ภาวะปกติ จึงจะเริ่มดูดเสมหะใหม่ตามความจำเป็น หากพบว่ามีเสมหะคั่งค้างอยู่จนกระทั่งทางเดินหายใจโล่ง

12. ในกรณีเสมหะเหนียวข้นมาก อาจใช้ Sterile water จำนวน 3 – 5 มิลลิลิตร ลงในท่อช่วยหายใจ
แล้วใช้ Self inflating bag ต่อกับออกซิเจน 100 % บีบลมเข้า 2 – 3 ครั้ง ก่อนดูดเสมหะ

13. เมื่อดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ จนกระทั่งทางเดินหายใจโล่งให้หยุดดูดเสมหะ แล้วล้างสายดูด
เสมหะโดยน้ำสะอาดในขวด แล้วปลดสายดูดเสมหะ นำไปแช่ในถังแช่สาย Suction ในกรณีที่มีน้ำลายหรือเสมหะในปาดให้ใช้สายดูดเสมหะเส้นใหม่ดูดน้ำลายหรือเสมหะในปาก

14. ผู้ดูดเสมหะปิดเครื่องดูดเสมหะและเช็ดหัวต่อ Suction ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % ให้ผ้าก๊อซ ปราศจากเชื้อคลุมหัวต่อ suction ใช้ยางวงรัด และแขวนสายไว้ที่เครื่องดูดเสมหะ

15. ผู้ช่วยดูดเสมหะ เช็ดหัวต่อ ambu resuscitator ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70 % ใช้ผ้าก๊อซปราศจาก

เชื้อ คลุมหัวต่อ ambu bag แล้วรัดด้วยยางวง และเก็บให้เรียบร้อย

16. ผู้ดูดเสมหะประเมินสภาพผู้ป่วยภายหลังดูดเสมหะเสร็จ ประเมินเสียงหายใจที่ปอด และสัญญาณชีพรวมทั้ง O2 sat และจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย

17. ผู้ดูดเสมหะและผู้ช่วยดูดเสมหะ ล้างมือให้สะอาดหลังเก็บอุปกรณ์ในการดูดเสมหะเรียบร้อยแล้วหรือ Scrub มือด้วย แอลกอฮอล์ เจล ก่อนไป Suction ผู้ป่วยรายต่อไป

18. ขวดรองรับเสมหะ ควรจะเทเสมหะทิ้ง และล้างทำความสะอาดทุก 8 ชม. และสายยางต่อกับขวดรองรับเสมหะ และขวดรองรับเสมหะ ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพ

เครื่องชี้วัด

1. ผู้ป่วยมีทางเดินหายใจโล่ง ไม่มีเสมหะอุดตัน
2. ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพ และ O2 saturation ปกติ
3. อัตราการเกิด ปอดอักเสบ จากการคาท่อช่วยหายใจ จากผลการมีเสมหะคั่งค้างมากในทางเดินหายใจเป็น 0 %
 
ภาวะแทรกซ้อน


1. อันตรายต่อเยื่อบุหลอดลมทำให้เกิดแผลหรือมีเลือดออก ป้องกันโดยไม่ใช้แรงดูดสูงเกินไป และทำการดูดเสมหะด้วยความนุ่มนวล

2. การติดเชื้อแทรกซ้อน ป้องกันโดยทำการดูดด้วยวิธีปลอดเชื้อ (aseptic technique)

3. หลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm)

4. หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น จากภาวะพร่องออกซิเจน

5. การกระตุ้นประสาท vagus ทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจชั่วคราวได้

6. การสำลักอาหาร (aspiration) เข้าไปในหลอดลม ป้องกันโดยถ้าจะดูดเสมหะหลังให้อาหาร ต้องจัดท่าผู้ป่วยให้นั่งหัวสูง





แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

ควรอ่านอย่างมาก http://www.joannabriggs.edu.au/pdf/BPISThai4_4.pdf

http://www.si.mahidol.ac.th/department/Medicine/home/chest/b07.htm

http://wwwmrh.moph.go.th/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1