หลักและเทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์

บทที่ 12
หลักและเทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์



หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์

สำหรับการศึกษาเรื่องหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ 10 ข้อ คือ

1. บุคคลย่อมมีความแตกต่างกัน (Individual difference)

บุคคลโดยทั่วไปนั้นถ้าพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วจะเห็นว่าเหมือน ๆ กัน แต่แท้จริงแล้วบุคคลแต่ละคนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว (Uniqueness) แต่ละคนย่อมแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม พันธุกรรม สติปัญญา อารมณ์ เจตคติ ค่านิยม อุดมคติ วัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ นิสัยใจคอ วินัยจรรยา การศึกษาที่มีมาตลอดชีวิต หรือกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization Process) สถานภาพทางสังคมหรือเศรษฐกิจก็ตาม เป็นเหตุผลทำให้บุคคลแตกต่างกันทั้งสิ้น จะหาบุคคลที่เหมือนกันทุกระเบียดนิ้วสักคู่หนึ่งก็ไม่มี แม้แต่ลูกแฝดก็ตามที มนุษย์มีความแตกต่างกัน (Man is different) ยากที่จะเข้าถึงจิตใจของคนทุกคนได้เพราะนานาจิตตัง “จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง” เมื่อแต่ละคนต่างมีความแตกต่างกันมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เราก็ไม่จำเป็นต้องคิดหรือทำเหมือนคนอื่นไปเสียทุกอย่างด้วย ความแตกต่างของบุคคลนี้มีความสำคัญมากสำหรับมากสำหรับการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะได้เข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นได้บ้าง โดยเฉพาะผู้บริหารจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องความแตกต่างของบุคคลเพื่อการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้เหมาะสมและตระหนักว่าแต่ละบุคคลเขาเป็นคนมีชีวิต มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์ซึ่งไม่เหมาะสมและตระหนักว่าแต่ละบุคคลเขาเป็นคนมีชีวิต มีความต้องการ มีความรู้สึก มีอารมณ์ซึ่งไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเขาเป็นบุคคลที่จะแสดงความพึงพอใจ (Satisfaction) หรือความไม่พึงพอใจใด ๆ (Dissatisfaction) ได้บุคคลจะเป็นผู้ทำงานหรือรับผิดชอบในงาน ตลอดจนทำการวินิจฉัยสั่งการหรือตัดสินใจ (Dicision making) ดังนั้น แม้เราจะให้ความสนใจแก่พฤติกรรมกลุ่มแล้วเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ควรละเลยต่อพฤติกรรมของบุคคลแต่ละคน ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลแต่ละคนก็เป็นหน่วยหนึ่งอันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลุ่มนั้นเอง

2. การพิจารณาศึกษาบุคคลต้องดูทั้งหมดในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง (A whole person)

ในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดนั้น เราต้องพึงระลึกเสมอว่า เราได้เข้ามามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นทั้งคน เรามิได้เลือกติดต่อสัมพันธ์กับเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือลักษณะหนึ่งลักษณะใดของเขานั่นก็คือบุคคลไม่สามารถจะแบ่งแยกเรื่องความรู้ของเขาออกจากความสามารถของเขาได้หรือแยกความรู้ออกจากทักษะของเขาได้ หรือจากประสบการณ์ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลจะมีลักษณะหลาย ๆ ประการประกอบขึ้นเป็นตัวของเขาไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางกายภาพ เรื่องทางจิตใจ เรื่องของการงาน เรื่องชีวิตส่วนตัว เรื่องความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ฯลฯ แต่ละเรื่องมิได้แยกจากกัน แต่มีผลกระทบถึงกัน รวมผสมผสานเป็นตัวเขาเองทั้งหมด







3. พฤติกรรมของบุคคลนั้นต้องมีสาเหตุ (Caused behavior)

บุคคลอาจได้รับการจูงใจ (Motivated) เหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงสาเหตุของพฤติกรรม อันได้แก่เรื่องความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคล การที่บุคคลจะได้รับการจูงใจให้ทำงาน เขาจะต้องสร้างพฤติกรรมขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของเขาด้วยความคิดของเขาเอง มิใช่สร้างพฤติกรรมตามความคิดของผู้อื่น ดังนั้น ฝ่ายบริหารจึงควรจูงใจบุคคลด้วยการทำให้เขาเห็นว่าการกระทำแบบนั้นหรือพฤติกรรมนั้น ๆ จะเป็นหนทางทำให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนองมากขึ้นหรือจะเป็นหนทางที่หลีกเลี่ยงการที่จะทำให้การตอบสนองความต้องการนั้นลดน้อยลง พลังของผู้บังคับบัญชาที่จะจูงใจจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติงานเห็นว่า ฝ่ายผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุมวิธีการที่จะได้รับการสนองความต้องการได้จริง เรื่องของการจูงใจนี้เป็นเรื่องที่ง่ายและยากในเวลาเดียวกัน ง่ายในแง่ของแนวความคิด แต่ทว่ายากในแง่ของการปฏิบัติ

4. ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ( Human dignity )

เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางปรัชญามากกว่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์นับเป็นสัตว์ประเสริฐที่มีความคิด มีสมอง มีความรู้ผิดชอบชั่วดี มีวัฒนธรรม มีสามัญสำนึก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น การติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน จึงต้องปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร มีสถานภาพหรือฐานะอย่างไร เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา ซึ่งต่างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของแต่ละคน

ศักดิ์ศรีของมนุษย์ (Human dignity) เป็นรากฐานปรัชญา จริยศาสตร์และศีลธรรมที่จะบังเกิดผลดีในแง่มนุษย์สัมพันธ์ การวิจัยหลายกรณีแสดงว่ามนุษย์ต้องการการยอมรับการให้เกียรติกันหรือการกระทำด้วยการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน

4. มนุษย์มีแรงจูงใจ (Motivation) ต้องจูงใจผู้อื่นให้มีเจตคติตรงกัน มีจุดหมายร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจูงใจตนเองให้มีระเบียบและความรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ ที่วิชามนุษยสัมพันธ์ครอบคลุมเป็นการตอบสนองทั้งหมดของเอกัตบุคคลต่อพลังการจูงใจต่าง ๆ (The total response of individuals to various motivation forces) นั่นก็คือ การที่บุคคลในองค์การมีความสัมพันธ์กันตามที่เป็นอยู่เป็นเพราะเขาถูกกระตุ้นโดยพลังทางจิตวิทยา ทางสังคม และทางเศรษฐกิจซึ่งมีอำนาจที่จะกระตุ้นให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในลักษณะนั้น ๆ โดยเฉพาะ เมื่อเกิดมีการขัดแย้งในแรงจูงใจในคนงาน องค์การจะเกิดการแตกร้าว เป็นที่ประจักษ์ว่า ถ้าหัวหน้าและคนงานต่างก็มีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการทำงานแล้วผลผลิตจะเพิ่มขึ้น

5. การติดต่อสื่อสาร (Communications) ได้แก่ การศึกษาวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในกลุ่ม ให้กลุ่มได้มีความเห็นสอดคล้องกัน และมีความเข้าในตรงกัน

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์การ เป็นกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารและความคิด การเข้าในทำให้พฤติกรรมของกลุ่มรวมกันเข้าไปเป็นหนึ่งเดียว และยังเป็นพื้นฐานสำหรับการร่วมมือกันของกลุ่ม ถ้าไม่มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพธุรกิจก็ไม่อาจดำเนินไปได้ ผู้จัดการไม่สามารถจูงใจคนงาน ถ้าคนงานไม่สามารถสื่อสารกับฝ่ายโรงงานได้ เขาจะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่มีทางที่มนุษยสัมพันธ์ในองค์การนั้นบังเกิดความพอใจได้

6. ความรับผิดชอบ (Responsibility) พื้นฐานความรับผิดชอบในงานองค์การก็คือ การทำให้งานสำเร็จโดยความพยายามร่วมกันของผู้ร่วมงาน

7. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) คือ ความสามารถที่จะทำตัวของเขาให้รู้สึกเหมือนอยู่ในสภาพของผู้อื่น และรู้สึกเห็นใจต่อทัศนะการจูงใจของคน (Empathy is the ability ot put yourseld in someone else’s place, and to feel sympathy for that person’s motives and point of view) การขาดการเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นสาเหตุแรกของการขัดแย้งในองค์การ การเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ไกล่เกลี่ยความแตกร้าวของการขัดแย้งกันทางแรงงาน การเห็นใจหรือเข้าใจความต้องการของผู้อื่น (Empathization) การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องศึกษาความแตกต่างของแต่ละบุคคลและตระหนักถึงปัญหาของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน

8. ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Mutual interest) หมายถึง ผลประโยชน์ของคนที่ทำงานในองค์การ กับผลประโยชน์ขององค์การนั้น ๆ ซึ่งการที่คนจะเข้าไปทำงานในองค์การใดหรือการที่องค์การใดจะรับคนเข้าไปทำงานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกหรือความเชื่อว่าตนจะได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง

9. การพัฒนาศักยภาพของตน (Self Development) ได้แก่ การศึกษาพัฒนาตนเองตามศักยภาพให้ดีที่สุดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และบุคลิกภาพ เพื่อให้ตนเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคมและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และสังคมโดยส่วนร่วม รวมทั้งการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขของตนเอง

10. การเรียนรู้ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ การเรียนรู้ความรับผิดชอบตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติงานในการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายอย่างดีที่สุด



เทคนิควิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร

เทคนิควิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำได้ง่ายๆ มีดังนี้

1. ยิ้มแย้ม หมายถึง เราจงยิ้มแย้มเข้าไว้ ยิ้มอย่างจริงใจ ยิ้มทุกที่ ยิ้มให้กับทุกคน

2. แจ่มใส หมายถึง การที่เรามีอารมณ์ที่แจ่มใส สดใส ใครอยู่ใกล้ก็รู้สึกอบอุ่นมีความสุข

3. ตั้งใจสนทนา หมายถึง เราจงตั้งใจสนทนา เป็นผู้ฟังมากๆ ยิ่งฟังมากก็จะรู้มาก

4. เจรจาไพเราะ หมายถึง เราจงเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะโสต คำพูดที่รื่นหูจะมีแต่คนนิยมชมชอบ ไม่มีใครชอบคนพูดตะคอก พูดเสียดสี

5. สงเคราะห์เกื้อกูล หมายถึง เราจงให้การสงเคราะห์เกื้อกูลแก่ผู้ที่เราเกี่ยวข้อง เช่นให้ความช่วยเหลือจัดหาสิ่งของมาฝากบ้างตามสมควร



ศิลปะการเข้าถึงบุคคลเพื่อสร้างความคิดร่วม

เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ มนุษย์จึงต้องสัมพันธ์ กันทั้งด้านชีวิตส่วนตัว ทำงานสร้างสรรค์ร่วมกัน การสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อความคิดร่วมกันในการดำเนินภารกิจในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นโดยใช้ศิลปะในการเข้าถึงบุคคลดังนี้

1. เคารพในความเป็นมนุษย์ของทุกคน โดยไม่มีชั้นวรรณะ ปฏิบัติต่อกันในลักษณะของคนกับคน บุคคลอื่นคือมนุษย์ร่วมโลกและสังคมเดียวกันกับเรา มีเกียรติ มีค่า และมีสิทธิเท่าเทียมกับเรา เราจึงควรให้เกียรติ เกรงใจและไม่ล้ำสิทธิของผู้อื่น

2.การมองโลกในแง่ดีและมองแต่ส่วนดีของผู้อื่นจะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆและบุคคลที่อยู่แวดล้อมตัวเรา ไว้วางใจและเชื่อมั่นในบุคคลอื่น ซึ่งจะง่ายแก่การขอความร่วมมือ

3. ถามความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น แม้ว่าความคิดเห็นนั้นอาจจะขัดหรือตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของเรา โดยเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย ซักถามและเสนอแนะ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่ามีบทบาทสำคัญ มีส่วนร่วมในผลสำเร็จขององค์การด้วย

4. ชี้แจงนโยบาย แผนงานและปัญหาต่าง ๆ ให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ หากสิ่งใดไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้อธิบายให้ฟังด้วยเหตุผลจนเข้าใจ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคคลอื่นมีบทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายวางแผนและตัดสินในเกี่ยวกับการแก้ปัญหา เป้าหมายและการดำเนินการขององค์การ

5. การรักษาและสนใจเรื่องเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ของผู้ร่วมงาน และส่วนรวมมากกว่าผล

ประโยชน์ของตนเอง เช่น การขอปรับวุฒิ เลื่อนขั้น เงินพิเศษ เป็นต้น

6. ใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอาใจใส่ต่อความทุกข์ส่วนตัวและในด้านการทำงานของบุคคลอื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย เมื่อมีทุกข์ก็ช่วยเหลือให้กำลังใจและคำปรึกษาแนะนำแนวทางและวิธีแก้ไข ปัญหาที่กำลังประสบเท่าที่จะทำได้อย่างเห็นใจ จริงใจและเสมอต้นเสมอปลาย

7. ให้ความยุติธรรมและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาคในทุกๆ ด้านไม่ลำเอียงหรือแสดงว่ารักใคร เกลียดใครเป็นพิเศษตำหนิหรือลงโทษผู้กระทำผิด และสนับสนุนยกย่อง ชมเชย และให้เกียรติผู้ที่ทำความดี ตลอดจนแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม

8. เอาใจใส่และสนองความต้องการของบุคคลอื่น ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจเท่าที่จะทำได้ โดยพยามยามผสมผสานความต้องการของสมาชิกแต่ละคนให้สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายขององค์การ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การ และความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น

9. แสดงจุดร่วม สงวนจุดต่าง พยายามพูดกันในสิ่งที่สามารถตกลงกันได้ ส่วนสิ่งที่ขัดแย้งกันไม่ควรจะกล่าวถึงหากมีการแก้ไขปรับปรุงก็ควรแก้ไขปรับปรุงที่ตัวเราเองก่อนที่จะขอให้ผู้อื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลง

10. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่น และเข้ากับบุคคลอื่นได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับความสนับสนุนร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิต ตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ให้เป็นไปในทางที่เกิดความสัมพันธ์ที่ดีตลอดเวลา รู้จักทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนานร่างเริง สดชื่น กระฉับกระเฉง พูดกับบุคคลอื่นด้วยถ้อยคำที่เป็นมิตร นุ่มนวล สุภาพ อ่อนโยน และถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เช่น "พวกเรา" และให้เกียรติกัน ควรงดเว้นการเป็นนักวิชาการบ้างในบางขณะ หาเรื่องสนุกสนานมาพูดคุย หลีกเลี่ยงการโต้เถียง และอาจเห็นคล้อยตามในเรื่องที่ไม่สลักสำคัญ อย่านินทาว่าร้ายวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น ในกรณีที่ต้องออกคำสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติตามก็ควรจะเป็นคำสั่งที่อ่อนโยนละมุนละม่อม และถามความรู้สึกก่อนที่จะออกคำสั่งก็จะได้รับการปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ


 บรรณานุกรม

กองบริการการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Online]. Available URL: http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm

จิตรลดา วัฒนาพรรณกิตติ.(มปป.) เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏลำปาง.

ชัยพร วิชชาวุธ .มูลสารจิตวิทยา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,491 หน้า, 2525.

ชุติมา วงษ์สวัสดิ์. [Online]. Available URL: http://www.neepandin.com/data/society/society2b.htm

นารี จิตรรักษา.ราชภัฎเชียงราย. [Online]. Available URL: http://www.edu.ricr.ac.th/naree/

บริษัทมีดส์จอนสัน.. [Online]. Available URL: http://www.meadjohnson.bms.co.th/t_momsm1.htm

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ .มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงแก้ไข) คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ.

[Online]. Available URL: http://www.chula.ac.th/services/cupress/04.htm

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). [Online]. Available URL: http://www.wfb-hq.org/specth4.htm

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 930 หน้า,2525.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2538.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Online]. Available URL:http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/

eda/2538/eda380038t.html

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Online]. Available URL: http://sut2.sut.ac.th/ Human_Resources/ development.htm

ยงยุทธ เกษสาคร.ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม,2521.

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. [Online]. Available URL: http://www.yupparaj.ac.th/webpage/business/page6.html

โรงเรียนปราสาทวิทยาคาร จ.สุรินทร์. [Online]. Available URL:http://www.pwk.ac.th/ data_school/

hope2.html

วิจิตร อาวะกุล. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 8,กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง,300 หน้า,2542.

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. [Online]. Available URL:http://www.nationejobs.com/nationjob /tips_tools/

howto/ht020520.html

ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์. กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน. หน้า 52 -55 .

สวัสดิ์ บรรเทิงสุข มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .[Online].

Available URL: http://edpg730.hypermart.net/ccop2.htm

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.22 เมษายน 2544. [Online]. Available URL:http://www. bkknews.com/jud /

sun/20010404/page18.html

อำนวย แสงสว่าง. (2544).จิตวิทยาอุตสาหกรรม Industrial Psychology.พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร :

อักษราพิพัฒน์, 207 หน้า.

อาภา จันทรสกุล. (2529).ทฤษฏีและวิธีการให้คำปรึกษาในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Copyright 2000-2001 Thai Smart Kids. [Online]. Available URL: http://www.thaismartkids.net/teacher/

Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com /

IdeaBoard/Question.asp?GID=4

David, Keith. Human Behavior at Work., New York : Graw-Hill,Co.,1977.

http://www.ESIE HR CLUB - Human Relations มนุษยสัมพันธ์.html

http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=173

http://teacher.stjohn.ac.th/tgkhem/lesson/01meaning.html

http://www.sombatlegal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=421797

http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2531/eda310002t.html

Titannetwork co.,ltd. [Online]. Available URL: http://www.thainetway.com/test/test5.php

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1