Central venous pressure (CVP)

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ที่กำลังฝึกปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 
ถามอาจารย์ว่า "CVP" คืออะไร อาจารย์ก็เลยคิดหนักเพราะ ต้องหาวิธีอธิบายยังไงให้ง่ายต่อการเข้าใจของนักศึกษาปี 2 ลองอ่านดูก็แล้วกันนะคะ ถ้ายากไปก็บอกด้วยค่ะ

ความหมาย

 CVP (อ่านว่า ซีวีพี) หรือ Central venous pressure (อ่านว่า เซ็นทรัล วีนัส เพรสเช่อ) คือ ความดันของหัวใจห้องบนขวา(RAP: Right Atrium Pressure)

                        
***ค่า CVP จะบอกได้ถึงปริมาณน้ำและเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย  ***


ข้อบ่งชี้ในการ monitor CVP มีดังนี้


1. ในผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุหรือจากการผ่าตัด ภาวะ sepsis และกรณีอื่นที่ทำให้ปริมาณเลือดและน้ำในร่างกายลดลง

2. ในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเกิน

3. ในกรณีที่ต้องการประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด


วิธีการวัด CVP

1. บอกให้ผู้ป่วยทราบและล้างมือให้สะอาด


2. จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบ (ผู้ป่วยบางรายมีข้อจำกัดในการนอนราบหรืออาจหอบเหนื่อยขณะที่นอนราบ จัดท่าศีรษะสูงได้ไม่เกิน 45 องศา) และแขนขาขณะที่วัดควรเหยียดตรง


3. หาตำแหน่งของ zero จุดตัดของ midaxillary line กับ fourth intercostal spaceและอาจขีดระดับไว้


4. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดบริเวณจุกยางซึ่งอยู่ที่ปลายเปิดอีกด้านของสาย extension ก่อนเปิดจุกยางนั้น


5. หมุน three-way ให้ IV fluid ไหลเข้าไปในสาย extension ด้านไม้บรรทัด โดยปิดด้านผู้ป่วยไว้ก่อน ควรให้ IV fluid อยู่ในสาย extension ในระดับเกือบเต็มสาย หรือมากกว่าค่าเดิม (ประมาณ 5 cm) จากนั้นหมุนปิด three-way ด้านไม้บรรทัด


6. นำไม้บรรทัดวางทาบที่ผู้ป่วย โดยให้ตำแหน่งของ zero หรือเลขศูนย์ ซึ่งจุดที่วางต้องอยู่ระดับเดียวกับ right atrium นั่นคือที่ตำแหน่งจุดตัดของ midaxillary line กับ fourth intercostal space





7. หมุน three-way เปิดเฉพาะด้านผู้ป่วยกับไม้บรรทัด ปิดด้าน IV (กรณีที่มี three-way หลายอัน ให้ปรับเฉพาะอันที่อยู่ติดกับสาย cut down หรืออันที่มีไม้บรรทัด)


8. การอ่านค่า CVP ที่ work ดี จะต้อง fluctuate หรือมีการเต้นขึ้นลงของระดับน้ำในสายที่ไม้บรรทัดตามจังหวะการหายใจ (หากพบว่าเต้นขึ้นลงตามชีพจร แสดงว่าปลายสาย CVP อยู่ลึกเกินไปลงเข้าไปถึงในหัวใจ) ให้อ่านค่าเมื่อเริ่มคงที่ โดยอ่านค่าช่วงหายใจออกสุด (end of expiration) เนื่องจากความดันในช่องทรวงอกจะใกล้เคียงกับความดันบรรยากาศ

9. เมื่ออ่านค่า CVP เสร็จแล้ว ให้หมุน three-way อยู่ในลักษณะเดิม คือ ปิดด้านไม้บรรทัด เปิดด้าน IV fluid และด้านผู้ป่วย จากนั้นปิดจุกยางของสาย extension



10. ตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้ง โดยเฉพาะการหมุน three-way, rate IV fluid และข้อต่อต่างๆ ไม่ให้หลวมหรือหลุด


11. จัดท่าผู้ป่วยให้เหมือนเดิมหรือตามความเหมาะสม



ปัญหาที่พบจากการวัด CVP



1. IV fluid ไม่ไหลเข้าไปในสาย extension ของไม้บรรทัด
    สาเหตุ - ไม่ได้เปิดจุกยางของสาย extension
    แนวทางแก้ไข- เปิดจุกยาง




   
    สาเหตุ- หมุน three-way ผิดด้าน
    แนวทางแก้ไข- หมุน three-way ให้ถูกด้าน



    
    สาเหตุ- มี clot อุดที่ three-way หรือปลายสาย
    แนวทางแก้ไข  - ใช้ syringe ดูด clot ถ้าดูดไม่ออกให้ extension เปลี่ยน three-wayใหม่หรือเปลี่ยนสาย extension ใหม่


2. CVP ไม่ work (ไม่ fluctuate หรือ น้ำในสายไม่กระเพื่อมนั่นเอง)
    สาเหตุ - มีการหักพับของสาย cut down หรือสาย
    แนวทางแก้ไข- ตรวจสอบสายไม่ให้หักพับ extension


    สาเหตุ - มีการอุดตันอาจเป็นที่ปลายสาย cut down,
    แนวทางแก้ไข- ใช้ syring ดูด clot ทิ้ง โดยปลด สายthree-wayหรือที่สาย extension ออกก่อนและkeepsterile ไว้ จากนั้นดูด clot จาก three- way โดยหมุนปิดด้าน IV
    - ถ้าดูดเลือดไม่ออกและไม่มี clot ที่ three-way ให้รายงานแพทย์ หากอุดตันแพทย์จะ revise ใหม่


3. มี air ในสาย cut down


    สาเหตุ - three-way อาจแตก รั่ว
    แนวทางแก้ไข- ใช้ syringe และเข็ม No. 23-24 ดูด air ออก โดยดูดจากจุกยางของสาย IV และเปลี่ยน three-way


   สาเหตุ - ข้อต่อต่างๆ หลวม
   แนวทางแก้ไข-เสียบข้อต่อต่างๆให้แน่น


   สาเหตุ- IV fluid หมด
   แนวทางแก้ไข- ไล่ air ไม่ดีขณะวัด CVP


4. มีเลือดย้อนจากผู้ป่วยเข้ามาในสายต่างๆ


    สาเหตุ - ระบบที่ต่อเป็นระบบเปิด เช่น ข้อต่อต่างๆ
    แนวทางแก้ไข- หมุนข้อต่อต่างๆ ให้แน่น หรือถ้ารั่ว หรือหลุด ข้อต่อรั่วให้เปลี่ยนใหม่ - เปิด IV fluid ไล่เลือด จากนั้นปรับ rate IV ตามแผนการรักษา


ภาวะแทรกซ้อนทั้งจากขั้นตอนการใส่สาย CVP และการวัด มีดังนี้

1. Hemothorax

2. Pneumothorax 


3. Nerve injury


4. Arterial puncture

5. Thoracic duct perforation



6. Arrhythmias


7. Systemic or local infection


8. Perforation or erosion of vascular structure

9. Thrombosis


10. Air embolism


11. Blood loss จากข้อต่อหลุด


12. Volume overload จากลืมปรับ rate IV หลังวัด CVP




ค่า CVP



ค่า CVP ปกติ อาจอยู่ในช่วง 6-12 cmH2O

ทั้งนี้มักใช้ค่า CVP ในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงจากการรักษาในผู้ป่วยรายนั้นๆมากกว่า

ซึ่งค่า CVP ที่ต่ำลงมัก หมายถึง ปริมาณน้ำและเลือดในร่างกายลดลง

ส่วนค่า CVP ที่สูงขึ้นมัก หมายถึงปริมาณน้ำและเลือดในร่างกายมากขึ้น

ที่สำคัญในการแปลค่า CVP จะต้องดูอาการและอาการแสดงอื่นร่วมด้วย เช่น blood pressure, heart rate, urine output, urine specific gravity, intake/output, conscious, ฟังปอดได้ยินเสียงผิดปกติ อาการหอบเหนื่อย ความตึงตัว ความอุ่น เย็น ชื้นของผิวหนัง เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

http://en.wikipedia.org/wiki/Central_venous_pressure

http://www.rnceus.com/hemo/cvp.htm

http://www.anaesthesia.hku.hk/LearNet/measure.htm

http://www.nda.ox.ac.uk/wfsa/html/u12/u1213_01.htm

http://www.nsbri.org/humanphysspace/focus2/spaceflight-cvp.html

http://203.185.128.100/p0/mainvichagarn.php?a=disp1&rowid=530

http://www.nmd.go.th/ncorps/link/Beach%20guard/image/Shock.htm

http://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=10097

http://www.dent.cmu.ac.th/mis/dis/UserFiles/File/surg/Plan%20DOS%20482/Sheet482shock.pdf

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณคะ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณนะค่ะ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
cvp คือ ความดันของหัวใจห้องล่างขวาครับ อาจารย์พิมพ์ผิดครับ...ไม่ใช่ห้องบนขวาครับ
thanika กล่าวว่า
อาจารย์พิมพ์ถูกแล้วค่ะลูก หนูดูตามอ้างอิงหลายๆแหล่งนะคะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Central_venous_pressure
http://www.rnceus.com/hemo/cvp.htm
http://www.anaesthesia.hku.hk/LearNet/measure.htm
http://www.nda.ox.ac.uk/wfsa/html/u12/u1213_01.htm
http://www.nsbri.org/humanphysspace/focus2/spaceflight-cvp.html
อย่างไรก็ตาม ที่หนูcommentมานั้นอาจารย์ประทับใจมากลูก ถ้าหนูเคลียร์สิ่งที่สงสัยในใจได้ ต่อไปหนูจะเป็นคนเก่งมากๆเลยค่ะ
Unknown กล่าวว่า
ขอบคุณนะค่ะอาจารย์ที่ทำบล็อกให้นักศึกษาได้ศึกษาค่ะ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณค่ะ^@^

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1