100 เครื่องมือนักบริหารสมัยใหม่

โลกปัจจุบันต้องการผู้บริหารที่มีศักยภาพมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้ทำหน้าที่ผู้บริหารที่แท้จริง จึงต้องอาศัยความสามารถที่จะได้รับทักษะและเครื่องมือใหม่ ๆ ที่จำเป็น ตามสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริหารที่มีศักยภาพย่อมมาจากการเรียนรู้วิธีการบริหารที่ทำอยู่ผ่านการลงมือทำด้วยตนเองเป็นพื้นฐานสู่การเปลี่ยนแปลง และเติบโต เมื่อพบปัญหาในการบริหารถ้ามีที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่ดีได้ ก็ถือว่าเป็นโชค เพราะการศึกษาจากทฤษฎี ที่มีอยู่ในตำรา หลักสูตรฝึกอบรม สัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะต่าง ๆ นั้น คงไม่มีคุณค่าเท่ากับประสบการณ์จริง 

ในวงการบริหารไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนจึงมักเกิด "ผู้นำในระดับบริหาร" ที่มีทั้งพรสวรรค์ และพรแสวง องค์การต่าง ๆ นำเอาเครื่องมือทางการบริหารใหม่ๆ มาใช้ ด้วยหวังที่จะให้เป็นผู้ช่วยสำคัญของนัก บริหาร แต่หลายครั้งก็พบว่าไม่อาจช่วยให้ฝ่าฟันวิกฤตต่างๆ ไปได้อย่างเบ็ดเสร็จด้วยเครื่องมือเพียงชนิดเดียว เพราะปัจจัยสำคัญอยู่ที่การมีโอกาสที่จะทบทวน สมมติฐานเบื้องต้น ขององค์การถึงบทบาทเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือ ต่าง ๆ เหล่านี้ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ได้รวบรวมเครื่องมือ สำหรับนักบริหาร ซึ่งมีอยู่มากมายทั้งที่เป็นเครื่องมือดั้งเดิม และเครื่องมือทันสมัยที่สุด หรือเครื่องมือที่เป็นดาวค้างฟ้า เพื่อให้ผู้บริหารได้ทบทวนความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ บริหารองค์การ ทั้งที่อาจใช้แบบเดี่ยว ๆ หรือใช้หลาย ๆ เครื่องมือผสมผสานกันไป ขึ้นกับความถนัดของผู้บริหารและ วัฒนธรรมองค์กร โดยแบ่งออกเป็น 7 ระดับ ซึ่งใน บทความนี้ได้คัดเลือก เครื่องมือบางตัวมานำเสนอพร้อมด้วยคำ อธิบายพอสังเขป

ระดับที่ 1 เครื่องมือเฉพาะบุคคล เครื่องมือระดับนี้ เป็นเครื่องมือที่ให้ไว้สำหรับให้นักบริหารใช้กับตัวเองจัดเป็นทักษะเฉพาะตัว มี 7 ตัว คือ


1. สมาธิ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถสร้าง Vision สำหรับกิจการได้ เพราะการมีสมาธิดี ทำให้ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย สรุปประเด็นได้เร็ว


2. Employability เนื่องจากความมั่นคงในสภาพการทำงานในองค์การต่าง ๆ โดยทั่วไปกำลังจะ หมดไป ดังนั้นผู้บริหารจะต้องสำรวจและฝึกทักษะของตนเองและบุคลากรในความรับผิดชอบ เพื่อทำ "การตลาด" ให้กับตัวเอง สำหรับเป็นจุดขายให้กับลูกค้า หรือแม้กระทั่งองค์การใหม่


3. การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา เป็นเครื่องมือประเมินบุคคลโดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องประเมินตัวลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกจ้าง ฯลฯ ซึ่งนอกจากนี้อาจใช้การประเมินด้วยผลงาน (Result Oriented) หรือดัชนีวัดผล (Performance Indicators)


4. Entrepreneurship คือ มีนิสัยและทักษะความเป็นนักประกอบการ เช่น มีวิสัยทัศน์ ใฝ่รู้ ช่างสังเกต ศรัทธาและความเชื่อ ฯลฯ มากกว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือน


5. กำลังใจ / ศรัทธา / ความเชื่อมั่น เพื่อฝึกจิตใจของนักบริหารให้เข้มแข็ง โดยยึดถือหลักการ ถ้า เชื่อว่าเราทำได้ แล้วเราก็จะทำได้นั่นเอง


6. บริหารตัวเอง (Intrapreneurship) เป็นส่วนที่ช่วยเสริมเครื่องมือตัวที่ 4 เพราะพนักงานแต่ละคน ในองค์กรต้องบริหารตัวเองก่อน ไม่ว่าจะด้วยการกำหนดเป้าหมาย กำหนดนโยบายชีวิต การประเมินผลตัวเอง หรือหมายถึง ความคิดริเริ่มของพนักงานในองค์กรที่จะดำเนินการสิ่งใหม่โดยไม่ต้องถูกขอให้ทำ(ผู้เขียน)


7. Lateral Thinking เป็นวิธีการคิดแบบใหม่ ที่ต่อเนื่องทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หลักการ ก็คือ คิดให้ครบทุกแง่มุม คือ ทั้งตามสภาพที่เห็น ทางเลือกหรือแนวทางใหม่ ๆ ข้อดี ข้อเสีย และมองแบบสรุป ภาพรวม


ระดับที่ 2 เครื่องมือระหว่างบุคคล เป็นเครื่องมือที่นักบริหารต้องใช้กับคนที่อยู่รอบ ๆ ตัว ได้แก่


1. แก้ไขปัญหาในองค์การด้วยวิธีการใช้ทางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ทางออก ของปัญหาต้องหาให้ได้หลาย ๆ ทางเป็นตัวเลือก วิธีการส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ก็คือการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจของคน ๆ เดียว


2. ทำตัวให้เป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ


3. ฝึกบุคลากรให้มีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า เพราะองค์การยึดหลักความพอใจของลูกค้า


4. Diversity ใช้เพื่อแก้ไขไม่ให้พนักงานรังเกียจความเป็นมนุษย์ของเพื่อนร่วมงาน หรือ "อคติ" นั่นเอง


5. จากสัญญาการจ้างงานเปลี่ยนเป็นสัญญาการเช่างาน เพราะพนักงานต้องพัฒนาตนเองและสร้าง ผลงานให้ปรากฏเพื่อเพิ่มมูลค่า


6. Empowerment การเพิ่มขวัญ กำลังใจให้กับบุคลากร ไม่ว่าจะด้วยรางวัลที่เป็นตัวเงินหรือไม่ใช่ ตัวเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้อำนาจแก่พนักงานให้ปฏิบัติงานได้คล่องตัวโดยองค์การได้งานตามเป้าหมาย


7. Enlightened Leadership ผู้บริหารมีหน้าที่ "นำ" ให้ผลทั้งองค์การฝันร่วมกัน และเกิด ความคิดที่จะทำตามแนวคิดนั้น


8. Impression Management คือ การเน้นภาพพจน์ และชื่อเสียงขององค์กร รวมถึงการบริหาร ที่ทำให้พนักงานในองค์กรประทับใจ ผู้บริหารที่ทำให้ลูกน้องประทับใจได้ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมและรู้เรื่องการบริหาร และเครื่องมือในการบริหารมากกว่าลูกน้องถึงขั้นที่เป็นครูสอนลูกน้องได้ จึงจะเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่ดี


9. Management by Objectives การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นเครื่องมือเก่า แต่ก็เป็น พื้นฐานของการบริหาร จุดสำคัญในการใช้เครื่องมือนี้ก็คือเมื่อตั้งเป้าหมายแล้วต้องตรวจประเมินเป็นระยะ


10. Management by Walking Around ผู้บริหารควรใช้วิธีการลงมาดูสภาพของหน้างานต่าง ๆ อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นงานบริการหรืองานสนับสนุนอื่น ๆ


11 One Minute Manager ผู้บริหารควรใช้เวลาวันละ 1 นาที สำหรับทบทวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทบทวนงานที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้น รวมถึงการชมเชยลูกน้องที่ทำงานได้ดี


12. Peer Review & Peer Appraisal ประเมินพนักงานโดยใช้วิธีให้พนักงานประเมินกันเอง ทั้งนี้ จะต้องชี้แจงวิธีการประเมินให้เข้าใจถูกต้องตรงกันและเน้นที่ความยุติธรรม


13. ตัวกลางไกล่เกลี่ย Peer Mediation เป็นการจัดตั้งทีมงานเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย กรณีพิพาทในองค์การ เพราะจากสถิติมีงานบริหารถึง 25% ที่ต้องใช้ในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในองค์การ


14. Principle - centered Leadership เป้าหมายของวิธีการนี้ คือ ให้ความสำคัญกับ "หลักการ" โดยต้องสอนให้พนักงานรู้จักการกำหนดเป้าหมาย กำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง สื่อสารกับคนอื่นได้ดี อดทนต่อเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกความมีวินัยและการควบคุมตัวเอง เพื่อให้ช่วยส่งผลต่อการมอบอำนาจ (Empowerment)


15. Situational Leadership ผู้บริหารตามสถานการณ์ เพราะผู้บริหารที่ดีต้องมีความสามารถใน การปรับสไตล์ ปรับแผน ปรับตนเอง เพื่อให้รองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้


16. ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู ยอดนักบริหารสงครามของจีนซึ่งมีหลายกลยุทธ์ที่ปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใน การวางแผนการบริหารธุรกิจ


17. Servant Leadership ความเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับการที่เราสามารถสร้างและรับใช้ลูกน้องโดยสร้าง องค์การทำงานเก่งแค่ไหน ความสำเร็จของลูกน้องเป็นตัวชี้วัดฝีมือของผู้บริหาร


18. Transactional Analysis เป็นการวิเคราะห์วิธีการสื่อสารของคู่เจรจาในลักษณะผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ และเด็ก


19. Workout บริษัท GE ในสหรัฐอเมริกาใช้เครื่องมือนี้ด้วยวิธีการเปิดประชุมใหญ่ให้พนักงานมี โอกาสซักถามได้เต็มที่ภายในเวลาที่กำหนดและวัตถุประสงค์ของบริษัท


ระดับที่ 3 เครื่องมือระดับกลุ่ม


1. After - action Review เป็นเครื่องมือที่ได้แบบอย่างจากการทำงานของทหารหน่วยพิเศษ เริ่มต้นจากการแจ้งภารกิจ วัตถุประสงค์ของงานจนถึงเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการให้กลุ่มหรือทีมงานรับทราบและปฏิบัติงานเมื่องานสำเร็จก็จะมีการ ทบทวนข้อดี ข้อเสีย หรือข้อผิดพลาด ตลอดจนเรื่องที่เรียนรู้


2. Break - Through Action Teams ใช้ลักษณะการทำงานแบบหน่วยเฉพาะกิจที่เข้าช่วยแก้ปัญหาฉุกเฉินของกลุ่ม


3. Crisis Management หรือการบริหารวิกฤตการณ์ ใช้เพื่อให้มีการฝึกทักษะการบริหารใน วิกฤตการณ์ เพราะเชื่อว่าวิกฤตการณ์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้


4. Dialogue Group เป็นการรวมกลุ่มเพื่อเปิดใจพูดคุยฝึกการลดอัตตา เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ คนอื่น ไปจนถึงลด ความเครียด


5. Outward Bound เป็นการฝึกความเป็นผู้นำ ฝึกการอยู่ร่วมกัน เพื่อใช้สถานการณ์สร้างทักษะ ผู้นำด้านต่าง ๆ ทั้งการสื่อสาร การสร้างแรงจูงใจ การตัดสินใจ การประเมินความเสี่ยง


6. Participation Management การบริหารโดยให้พนักงานมีส่วนร่วมช่วยให้ได้รับรู้ปัญหาจาก หลายแง่มุม ซึ่งช่วยให้ขวัญกำลังใจของบุคลากรดีขึ้น แต่ต้องมีการให้ความรู้พื้นฐานบางเรื่องและกำหนดกติกา บางอย่างแก่พนักงาน


7. Quality Circles (QC) ถือเป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหาร แบบล่างขึ้นบน เพราะคนที่รู้ปัญหาของงานดีที่สุดคือพนักงาน


8. Quick Response เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่อาศัยหลักของความรวดเร็ว ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องคุณภาพ การควบคุม ต้นทุน การตอบสนองลูกค้า ตัวอย่างเช่น การพัฒนา Software เชื่อมโยงข้อมูลทุก หน่วยงานหรือการใช้ระบบ Just in time


9. Self Managing Work Teams หรือการปล่อยให้พนักงานบริหารกันเอง ลักษณะของเครื่องมือ นี้คือ การมอบหมายอำนาจให้พนักงานทำงานเอง ตัดสินใจเอง ตั้งเป้าหมายเอง และในที่สุดถึงขั้นตรวจสอบและแก้ ปัญหาได้เอง วิธีนี้ช่วยให้ผู้บริหารเห็นฝีมือบริหารของลูกน้องแต่ละกลุ่ม


10. skunk works  หลักการคือปล่อยให้กลุ่มมีอิสระในการคิดไม่ต้องห่วงกฎระเบียบใด ๆ ทั้งสิ้น ทำอย่างไรก็ได้ขอให้ได้งานนั้นสำเร็จตามเป้าหมายและเวลาที่กำหนด


11. Synergy การรวมพลัง สำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่



ระดับที่ 4 ระหว่างกลุ่ม มีเพียง 2 เครื่องมือ คือ


1. Networking คือระบบเครือข่ายซึ่งเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ แต่เป็น เครือข่ายในการบริหารงาน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย


2. Matrix Management เป็นการบริหารแบบตั้งทีมงาน เพื่อทำโครงการ ใช้คนจากหลาย หน่วยงาน ซึ่งต้องฝึกวิธีการทำงานร่วมกันในลักษณะ Cross function


ระดับที่ 5 ระดับระบบ


เป็นเครื่องมือที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ระบบ" ซึ่งในที่นี้หมายถึงกิจกรรมหรือการทำงานที่มีขั้นมีตอน และมีระเบียบแบบแผนชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทำงานได้คงเส้นคงวา


1. Adhocracy หรือ Temporary Organization เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะ ๆ ตามสถานการณ์ระหว่าง การบริหารแบบรวมศูนย์และการบริหารแบบกระจายอำนาจ หรือระหว่างการมีสายบังคับบัญชากับไม่มีสายการบังคับบัญชา การมีกฎระเบียบ กับ ไม่มีกฎระเบียบ เพราะยึดหลักการหมุนเวียนให้พนักงานเข้าไปเรียนรู้ในหน้าที่ต่าง ๆ


2. Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียงด้วยการมองหาและปฏิบัติโดยศึกษาจากตัวอย่างที่ดีที่สุดแล้ววางแผนปฏิบัติให้ช่องว่างระหว่างเรากับตัวอย่างนั้นเหลือน้อยที่สุด ทำได้ทั้งเทียบเคียงกันภายในองค์กรเองเ ทียบเคียงกับคู่แข่ง เทียบเคียงกับองค์กรอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมคล้ายๆกัน เทียบเคียงกับผู้ที่ปฏิบัติได้ดีที่สุด (Best Practice) ในประเภทเดียวกัน โดยเทียบเคียงตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และระบบ


3. Boundarylessness ระเบียบวิธีการบางอย่างที่ไร้เหตุผล ถ้าสามารถตัดหรือเลิกไปได้ ก็ทำให้เราทำงานสะดวก มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะเรามักยึดติดกับกฎที่กำหนดไว้มากเกินไป หรือทำตามสิ่งที่ทำกันมานาน เครื่องมือนี้มีวิธีการช่วยสนับสนุน เช่น


-บริหารแนวนอน หรือ Cross function และบริหารแนวดิ่งให้น้อยลง โดยลดระดับชั้นการบังคับ บัญชา หรือลดกระบวนการทำงาน


-บริหารภายนอก ด้วยวิธีคบหาลูกค้า ผู้ส่งมอบ ธุรกิจวงการต่าง ๆ


-ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


4. Contingent Work Force หมายถึง การเตรียมคนสำรองไว้สามารถเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อจำเป็น


5. Cycle time หมายถึง การกำหนดรอบของเวลา หรือคาบเวลาในการผลิตสินค้า หรือทำกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ให้เป็นเวลามาตรฐาน


6. ISO 9000 เป็นมาตรฐานสำหรับการตรวจสอบการทำงานที่เป็นระบบ มีเอกสารอธิบายการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่า กระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ได้วางแผนไว้ สามารถให้สินค้าหรือบริการที่ตรงตามความต้องการของ ลูกค้า


7. Job Enlargement และ Job Enrichment คือ การหางานให้พนักงานทำมากขึ้น และทำให้งานที่ทำนั้นน่าทำมากขึ้นด้วย


8. Pay for Performance วางแผนการให้รางวัลตามความสามารถและการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของ พนักงาน หรือจ่ายตามผลงาน


9. Quality System ยังเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอยู่นับตั้งแต่ Total Quality Management (TQM) Cost of Quality (COQ), Deming System


10. Restructuring ปรับโครงสร้างการทำงาน / โครงสร้างการบริหาร ไม่ว่าจะเป็น Flat Organization / Profit Center / Downsizing


11. Rightsizing ปรับขนาดขององค์กรให้เหมาะสม


12. Scientific Management เป็นเครื่องมือเก่าแก่ มีหลักการอยู่ที่การทำงานที่ถูกต้อง ต้องอาศัย วิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเทคนิคการตัดสินใจ


ระดับที่ 6 ระดับองค์การ


1. Centralization เป็นเครื่องมือยอดนิยมในอดีต เป็นแหล่งกำเนิดของระบบราชการ จากการ รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง แต่ในปัจจุบันเราสามารถกระจายอำนาจแต่ยังคงรวมอำนาจด้วยระบบข้อมูล เพราะ เทคโนโลยีและระบบการสื่อสารทำให้ส่วนกลางสามารถตรวจสอบควบคุมได้ทั่วถึง เป็นการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ (Groupware) โดยเฉพาะองค์การที่มีหน่วยงานย่อย ๆ กระจาย ออกไป ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาประชุม แต่สามารถถ่ายโอนข้อมูลและวางแผนร่วมกันได้


2. Chaos Theory ผู้บริหารสามารถทำให้พนักงานเข้าใจได้ว่า โลกนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และ มีความสับสน ยุ่งเหยิง ย่อมจะสามารถบริหารองค์การต่อไปได้ เพราะทุกคนเข้าใจดีว่า ความสับสนยุ่งเหยิงเกิดจาก ตัวแปรต่าง ๆ ในระบบ ถ้าสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ แล้วก็จะสามารถ ควบคุม หรือพยากรณ์ เหตุการณ์ได้


3. Corporate Culture หรือวัฒนธรรมองค์การที่แต่ละองค์การย่อมมีแตกต่างกันไปขึ้นกับความเชื่อ พื้นฐานความคิด ข้อคิด อคติ ความสัมพันธ์ภายใน ความสามารถในการเข้าสังคม ตลอดจนการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะ ส่งผลต่อผลิตภาพ (Productivity) ขององค์การ การจะปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือเลือกใช้เครื่องมือบริหารใด จึงจำเป็นต้องดูวัฒนธรรมขององค์การด้วย


4. Downsizing / Demassing การลดขนาดองค์การต้องผ่านการประเมินหรือศึกษากระบวนการ ทำงาน ต้นทุนการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสม แต่การลดขนาดก็อาจไม่ใช่ การแก้ปัญหาที่ถูกต้องเสมอไป ต้องมีระบบที่ดีมารองรับหลังจากลดขนาดด้วย จริงๆ แล้วการลดขนาดไม่ได้มีความหมายถึงการลดขนาดของพนักงานเพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงลดขั้นในการทำงานให้น้อยลงด้วย


5. Economic Value Added เป็นการให้รางวัลแก่พนักงานที่ทำกำไรได้มากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ก็ให้รางวัลได้เลย แต่เป็นวิธีที่ช่วยให้ได้ประโยชน์เฉพาะระยะสั้น ๆ ได้เท่านั้น


6. Excellence ความเป็นเลิศนับตั้งแต่การเน้นความสำคัญของลูกค้า การสื่อสารในองค์การ การมี ความคิดสร้างสรรค์ การให้ทุกคนมีส่วนร่วม การกระจายงาน การทำงานแบบข้ามสายงาน ความรับผิดชอบ การ ร่วมพลังร่วมใจทำงาน


7. Gain Sharing หรือ Employee Stock Ownership Programs (E SOPs) เป็นการ บริหารที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับรายได้ขององค์การด้วย มีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์การ โดยการให้ถือหุ้น ด้วย


8. Horizontal Organization หรือ Flat Organization คือ องค์การที่สามารถรวมตัวกันระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ และการลดขนาดองค์การให้มีขั้นตอน หรือระดับการตัดสินใจสั้น ๆ รวดเร็ว โดยเฉพาะพนักงานต้องมีอำนาจการตัดสินใจ สามารถบริหารตนเองได้ทำงานแบบข้ามสายงาน (Cross - functional Team)


9. Intelligent Organization เป็นวิธีที่ให้องค์กรบริหารกันเองแบบอิสระ เน้นการบริหารแบบ ประชาธิปไตย มีกฎประจำบริษัทในนามของรัฐบาลกลาง และมีกฎของหน่วยงานย่อย


10. Learning Organization เป็นเครื่องมือที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะเชื่อว่าองค์กรที่ดีจะต้องมีความ สามารถในการเรียนรู้ สามารถปรับปรุงพัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้มาจากปัจจัย 5 ประการ คือ ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking) สามารถคุมตนเองได้ (Personal Mastery) ไม่มีอคติ ไม่ท้อแท้ (Mental Models) ฝันร่วมกัน (Shared Vision) และเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)


11. Organization Transformation การแปรรูปองค์การเพื่อให้อยู่รอดต่อไป โดยทำให้ทุกคนได้ รับทราบและมีส่วนร่วมประโยชน์ แนวทาง วิสัยทัศน์ ในการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน


12. Quality of Work life คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้


13. Social Responsibility เป็นเครื่องมือขององค์การที่ต้องการให้หันมาช่วยกันพัฒนาและตรวจสอบเพื่อสังคม


14. Virtual Organization เป็นองค์การสำหรับโลกอนาคตที่อยู่ในโลกเสมือนจริง คือ พนักงาน ทำงานหรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน


15. Vision / Mission / Values องค์การต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม เพื่อให้บริหาร องค์การไปในแนวทางที่ดีและถูกต้อง


16. Zero - Based Budgeting งบประมาณแบบฐานศูนย์ คือระบบการจัดตั้งงบประมาณ ด้วย การเริ่มจากศูนย์ โดยกำหนดต้นทุนกันอย่างละเอียด เพื่อตัดกิจกรรมที่ไม่ก่อประโยชน์ออกไป




** ไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการบริหารใดที่จะดีไปตลอดกาล เราต้องปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ**




ระดับที่ 7 ระหว่างองค์การ


1. Competitive Advantage เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่ง โดยให้ พิจารณาถึงการพัฒนาคน ซึ่งเป็นแก่นกลางของขีดความสามารถในการเอาชนะคู่แข่ง


2. Conglomeration การรวมหรือผนวกธุรกิจเข้าด้วยกัน


3. Outsourcing จ้างผู้ชำนาญ/ที่ปรึกษาจากภายนอกองค์การมาทำงานให้


4. Strategic Alliances การสร้างพันธมิตรกับองค์กรอื่น



ทำความรู้จักกับ ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ ใหมากขึ้นใน จากองค์การนาซ่าสู่ป่าช้าไทย


ที่มาของเนื้อหาส่วนใหญ่มาจาก  http://hr.jobsiam.com/report/management _report. php?max=25 และผู้เขียนได้ดัดแปลงบ้าง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1