อธิบายข้อสอบสภาการพยาบาลมารดาและทารก

โจทย์  วัตถุประสงค์ของการทำ Foam test คือข้อใด
ก. ตรวจการทำหน้าที่ของรก
ข. ตรวจหาวุฒิภาวะของปอดทารก
ค. ตรวจความสามารถในการกักตุนออกซิเจนของรก
ง. ดูความสัมพันธ์การดิ้นของทารกกับเสียงหัวใจ

คำอธิบาย

ความหมาย
Foam test หรือ Foam stability test หรือ Pulmonary surfactant shake test  ทั้งสามชื่อนี้เป็นเรื่องเดียวกัน หมายถึง การตรวจหา Pulmonary surfactant  หรือสารลดแรงตึงผิว ซึ่งเป็นสารที่เซลล์ถุงลมปอดทารกสังเคราะห์ขึ้น

ส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว
**เป็นสารผสมเชิงซ้อนของไขมัน โปรตีน และมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ด้วยเล็กน้อย ฟอสโฟไลปิดเป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ 80-90% โดยน้ำหนัก

**และ 70-80% ของ phospholipid คือ phosphatidylcholine (lecithin) ซึ่งจับอยู่กับ fatty acid (palmitoic acid) เป็น dipalmitoyl-phosphatidylcholine (DPPC)  นอกจาก lecithin แล้วก็ยังมีสารฟอสโฟไลปิดอื่นๆ อีกคือ phosphatidylglycerol (PG), phosphatidylethanolamine, phosphatidylserine, phos-phatidylinositol ส่วนสารไขมันชนิดอื่นๆ ได้แก่ sphingomyelin, cholesterol และ neutral lipids

หน้าที่สำคัญ
**หน้าที่ของสารลดความตึงผิว ก็คือ เมื่อปริมาตรปอดลดลดลง  สารนี้จะป้องกันไม่ให้ถุงลมยุบตัวเมื่อถึงจังหวะสุดท้ายของการหายใจออก

**ถ้าขาดเจ้าสารตัวนี้  การหายใจเข้าแต่ละครั้งต้องใช้แรงมหาศาล เพื่อจะทำให้ถุงลมที่ยุบตัวแล้วเปิดออก และถ้าเปิดไม่ได้ก็มีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปัญหาในทารกที่มีกลุ่มอาการหายใจลำบาก


วัตถุประสงค์ในการตรวจ
**เพื่อประเมินการเจริญและความสมบูรณ์ของปอด (หรือวุฒิภาวะของปอด...นั่นแหละ)

ความจำเป็น
เมื่อแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง พูดง่ายๆคือ เสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม  การตัดสินใจที่สำคัญถัดจากนั้น คือต้องเอาเด็กออกมาให้เร็วที่สุด  แล้วจะเอาออกมาเมื่อไหร่ที่จะทำให้ลูกเกิดรอดและแม่ปลอดภัย  นี่แหละเหตุผลที่ต้องตรวจดูว่า เด็กในท้องโตพอหรือยังที่จะมีชีวิตรอดเมื่อต้องออกจากท้องก่อนกำหนด  ด้วยการตรวจดูความเจริญเต็มที่ของปอด  หรือ  pulmonary surfactant activity นั่นเอง

อย่างไรก็ตามการตรวจ pulmonary surfactant activity นั้นสามารถทดสอบได้หลายวิธี ดังนี้

1.การตรวจหา lecithin/sphingomyelin (L/S) ratio ในน้ำคร่ำ กรณีปอดเจริญเต็มที่แล้ว จะมีค่า L/S ratio มากกว่า 2 ส่วนกรณีที่ยังไม่เจริญเต็มที่ จะมี L/S ratio น้อยกว่า 1.5 (L/S ratio = 1 เมื่ออายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์  เมื่อถึง 35 สัปดาห์ ratio จะเท่ากับ 2)
2. การตรวจหา phosphatidylglycerol (PG) ถ้าตรวจพบ PG แสดงว่าอีก ราว 2-6 สัปดาห์ก็จะครบกำหนดคลอด  พบว่าอุบัติการณ์ของกลุ่มอาการหายใจลำบากจะต่ำมากถ้าตรวจน้ำคร่ำพบ PG และ L/S ratio มากกว่า 2  ด้วยวิธี immunological agglutination test สามารถ identify PG ได้ภายใน 15 นาที
3. การตรวจ pulmonary surfactant shake test ( foam stability test) ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น
4. การตรวจ Lumadex-FSI test เป็น commercial kit ใช้หลักการเดียวกับ foam stability test
5. การตรวจ Fluorescent polarization assay (TDx analyzer, Abbott Laboratories)
6.การตรวจ Amniotic fluid absorbance at 650 nm


คำศัพท์ที่สำคัญ
Foam test (โฟม-เทส) หมายถึง การตรวจหาสารลดแรงตึงผิวที่ถุงลมปอดทารก
Foam stability test(โฟม-สะ-เต-บิ-ลิ-ตี้-เทส)  หมายถึง การตรวจหาสารลดแรงตึงผิวที่ถุงลมปอดทารก
Pulmonary surfactant (พัล-โม-นา-รี่-เซอ-แฟก-แต๊น) หมายถึง สารลดแรงตึงผิวที่ถุงลมปอดทารก
Pulmonary surfactant shake test (พัล-โม-นา-รี่-เซอ-แฟก-แต๊น-เชก-เทส)  หมายถึง การตรวจหาสารลดแรงตึงผิวที่ถุงลมปอดทารก

เฉลย  ข้อ ข.

อ้างอิง
1. http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-year/pregnant/321-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B3.html
2.http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4417/content/story15.html
3.http://www.si.mahidol.ac.th/department/Biochemistry/home/md/Lab-KSA/lab%20biological%20fluids%202552.pdf
4.http://www.med.cmu.ac.th/journal/abstract.php?vol=85&p=149%20-156&show=1990


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1