ผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดและการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดครรภ์แรก

bibliography by thanika busmongkhol
(พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
สงวนลิขสิทธิ์

ผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดและการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดครรภ์แรก*
ทัศนีย์  คล้ายขำ, พย.ม.** ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, ปร.ด.** นันทนา ธนาโนวรรรณ, PhD**
วรรณา พาหุวัฒนกร, PhD**
Corresponding Author: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล  บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700, e-mail: chaweewan.yus@mahidol.ac.th
* วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง คณะพยาบาลศาสตร์
และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
**คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล


เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดและการเผชิญความเจ็บปวดของผู้คลอดครรภ์แรกในระยะที่1 ของการคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกจำนวน 70 ราย ที่มาคลอดบุตรในห้องคลอด  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบแผนการ
นวดร่วมกับการประคบร้อนด้วยลูกประคบข้าวสารเหนียวดำ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเจ็บปวดด้วยสายตา แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีและสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการศึกษาพบว่า การนวดร่วมกับการประคบร้อนด้วยลูกประคบข้าวสารเหนียวดำสามารถ ลดการเจ็บปวดครรภ์ได้พยาบาลผดุงครรภ์จึงสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับผู้คลอดครรภ์แรก ในการลดความเจ็บปวดและเผชิญกับความเจ็บปวดได้อย่างเหมาะสมในระยะคลอด

คำสำคัญ: การนวด การประคบร้อน ความเจ็บปวดจากการคลอด พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด

อ้างอิง
J Nurs Sci. 2013;31 Suppl 2:38-47 เผยแพร่ทาง http://www.ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol31/suppl2/Abstract_thatsanee.pdf


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1