ผลของเสียงต่อคลื่นสมอง

เสียงนกร้อง เมื่อเราได้ฟัง เราก็จะรู้สึกผ่อนคลาย เสมือนได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร ยิ่งถ้ามีการทำน้ำตกจำลองไว้ด้วย เสียงน้ำตกที่รินไหล หรือเสียงของลำธารที่ไหลเอื่อยๆ ก็สามารถทำให้เราที่กำลังตึงเครียด มีคลื่นสมองที่ยุ่งเหยิง กลับมาผ่อนคลายได้อีกครั้ง

ความจริงแล้ว เสียงที่ช่วยบำบัดจิตใจและสมองได้ ก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ทั้งนี้ก็เพื่อให้ง่ายในการสื่อสาร และการนำไปสังเคราะห์เป็นดนตรีบำบัดได้ 

เสียงบำบัดจิตใจและสมอง ประกอบด้วยเสียง 3 ประเภท ได้แก่[1]
1 เสียงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เสียงน้ำตก เสียงนก เสียงน้ำไหล เสียงลม เสียงพระเทศน์ เป็นต้น
2 เสียงดนตรี ซึ่งเป็นดนตรีประเภท trance music หรือ rhythmic music ซึ่งมีลักษณะเสียงวนต่อเนื่อง
3 เสียงความถี่บีต ซึ่งในแต่ละเพลงจะใช้ความถี่ต่างกันตามผลที่ต้องการ ผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่สามารถรับรู้หรือได้ยิน
เนื่องจากเสียงความถี่บีตมักมีความถี่ต่ำกว่าช่วงคลื่นที่หูมนุษย์ได้ยิน แต่จะถูกส่งผ่านกะโหลกศีรษะไปยังสมองโดยที่ผู้ฟังไม่รู้ตัว

จากเสียง 3 ประเภทข้างต้น เสียงนกร้องจึงจัดเป็นเสียงในหมวดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักฟิสิกส์ได้ทำการศึกษาพบว่า เมื่อนกหายใจออกกล่องเสียงจะสามารถให้โน้ตดนตรีที่มีความถี่อยู่ในช่วง 1 ถึง 2 KHz และ แต่ละ คำ หรือ ตัวโน๊ต ของเสียงนกร้อง จะมีความยาวประมาณ 10 ถึง 300 มิลลิวินาที[2,3]

ตารางที่ 1 [1]



ตารางที่ 2[1]

จากตารางที่ 1  Dr.Jakkrit Klaphajone, M.D.[1] ได้ทำจากการศึกษาและวิจัย โดยนำเสียงมาสังเคราะห์ให้เกิด Binaural beats มีความถี่อยู่ในช่วง 1000 – 1500 Hz  แล้ววัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) พบว่า การใช้ Binaural beats สามารถเหนี่ยวนำให้คลื่นสมองในระดับหนึ่งเปลี่ยนไปอีกระดับหนึ่งได้ เรียกว่า Brainwave entrainment เช่น 
ถ้าต้องการเปลี่ยนคลื่นสมองจากสภาวะที่ตื่นตัวหรือความถี่คลื่นสมองอยู่ในช่วง Beta หรือประมาณ 20 Hz ไปเป็นสภาวะที่ผ่อนคลาย หรือความถี่คลื่นสมองอยู่ในช่วง Alpha หรือประมาณ 10 Hz จะเริ่มบำบัดด้วยเพลงหรือเสียงที่มี Binaural beats ประมาณ 20 Hz ในช่วงต้นเพลง แล้วค่อยๆ เปลี่ยนความถี่บีตเป็น 10 Hz ในช่วงท้ายเพลง เป็นต้น นอกจากนั้น Binaural beats ยังสามารถเหนี่ยวนำให้คลื่นสมองโดยรวม มีความเป็นระเบียบมากขึ้น โดยพบว่ากิจกรรมทางไฟฟ้าสูงสุดจะอยู่บริเวณส่วนบนของสมอง

ตัวอย่างเสียงบำบัดจิตใจและสมองชุดที่ 1 ทั้ง 6 ตัวอย่างที่สังเคราะห์โดยกลุ่มดนตรีบำบัด ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

1. “JK_001_Sleep_induction” (ฟังแล้วง่วง) ใช้ Binaural beats เริ่มจาก 20 Hz ช่วงต้นเพลงเปลี่ยนเป็น 4 Hz ช่วงท้ายเพลง ผสมกับเสียงธรรมชาติ เสียงระฆัง และ trance music

2. “JK_002_Deep_sleep” (ง่วงแล้วหลับ)ใช้ Binaural beats เริ่มจาก 8 Hz ช่วงต้นเพลงเปลี่ยนเป็น 2 Hz ช่วงท้ายเพลง ผสมกับเสียงธรรมชาติ และ trance music

3. “JK_003_Awakening” (ง่วงแล้วตื่น)ใช้ Binaural beats เริ่มจาก 4 Hz ช่วงต้นเพลงเปลี่ยนเป็น 15 Hz ช่วงท้ายเพลง ผสมกับเสียงธรรมชาติ เสียงระฆัง และผสม trance music ต้นเพลงและ rhythmic music ท้ายเพลง

4. “JK_004_Relaxation” (ตื่นแล้วสบาย) ใช้ Binaural beats เริ่มจาก 20 Hz ช่วงต้นเพลงเปลี่ยนเป็น 10 Hz ช่วงท้ายเพลง ผสมกับเสียงธรรมชาติ เสียงระฆัง trance music และ rhythmic music

5. “JK_005_Meditation” (สบายแล้วมีสมาธิ) ใช้ Binaural beats เริ่มจาก 10 Hz ช่วงต้นเพลงเปลี่ยนเป็น 30 Hz ช่วงท้ายเพลง ผสมกับเสียงธรรมชาติ เสียงระฆัง เสียง trance music และเสียงพระเทศน์ท้ายเพลง


6. “JK_006_Pain_reduction” (สบายแล้วงง) ใช้ Binaural beats เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ในช่วง 4-34 Hz ผสมกับเสียงธรรมชาติ เสียง sound effects ที่ pan ซ้ายขวา trance music และ rhythmic music

อ้างอิง
[1] เสียงบำบัดจิตใจและสมอง 
http://www.med.cmu.ac.th/dept/rehab/2010/index.php?option=com_content&view=article&id=111&Itemid=82&lang=th
[2] ฟิสิกส์ของเสียง 
http://www.vcharkarn.com/vcafe/46349
[3] The Physics of Bird Song

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1