โรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder :BDD ) หรือโรคคิดหมกมุ่น

โรคอยากสวยอยากผอมจนป่วยจิต
โรคเสพติดศัลยกรรมจนป่วยจิต
โรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder :BDD ) หรือโรคคิดหมกมุ่น


เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder :BDD ) หรือโรคคิดหมกมุ่น การให้คุณค่าในรูปลักษณ์ของตนเองมากเกินไป คาดหวัง ไม่ยอมรับรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่จนเกิดความทุกข์ เครียด วิตกกังวลซ้ำซาก ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น 

ซึ่งเกิดจากค่านิยมความงาม ความเชื่อทางสังคม น่าห่วงเพราะอาจทำให้อัตราป่วยซึมเศร้าสูงขึ้น เนื่องจากกระแสสังคมเรื่องความงามทั่วโลกคือทำให้ตัวเองดูดีขึ้นผ่านการโฆษณา ปัง เป๊ะ เว่อร์ เหมือนกับพรีเซนเตอร์ พยายามหาจุดตำหนิซ้ำๆ ปัจจุบันพบผู้ป่วยร้อยละ 1.7 เป็นเพศหญิงร้อยละ1.9 ผู้ชายร้อยละ 1.4 ที่น่าห่วงที่สุดคือผู้ที่ทำแล้วผลไม่เป็นไปตามที่หวัง ยิ่งกังวล ความเครียดจากการคิดหมกมุ่น กว่าร้อยละ 90 มีภาวะซึมเศร้า เก็บตัว หลีกหนีสังคม ร้อยละ 70 มีภาวะเครียดรุนแรง ร้อยละ20 มีการทำร้ายตัวเองในที่สุด 

ด้าน นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผอ.รพ.จิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ จ.นครสวรรค์ กล่าวว่า ผลการวิจัยในแถบยุโรปและอเมริกา ในช่วง 10 ปีมานี้ พบคนทั่วโลกมีความคิดหมกมุ่นกังวลเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วยเฉลี่ยร้อยละ 34  ผู้หญิงร้อยละ 41 ผู้ชายร้อยละ 27 โดยกลุ่มผู้ชายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว พบมากในคนโสดอายุ 15-30 ปี ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 13-15 ปี ในประเทศไทยคาดว่าสถิติไม่แตกต่างกัน ซึ่งที่รพ.จิตเวชนครสวรรค์ฯ พบผู้ป่วยเข้ารักษาเฉลี่ยเดือนละ 10-20 ราย ส่วนใหญ่จะเครียดหรือกังวล โดบพบคิดหมกมุ่นเรื่องปัญหาเส้นผม ร้อยละ 63 ปัญหาจมูกไม่โด่ง จมูกเบี้ยว และปัญหาสุขภาพผิว เช่น สิว ปาน ไฝ ร้อยละ 50 ปัญหาตาชั้นเดียว ตาเล็ก หนังตาตก ร้อยละ 27  ปัญหาอ้วน ผอม อยากมีกล้ามเนื้อ ร้อยละ 20 ปัญหาริมฝีปากหนาหรือบางเกินไป ปัญหาเกี่ยวกับคาง กรามเป็นเหลี่ยม ร้อยละ17 ปัญหาฟันเหลือง ฟันห่างร้อยละ 13 

สำหรับการสังเกตว่าเป็นโรคบีดีดีหรือไม่นั้นดูว่ามีความคิดแก้ไขส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือไม่ ร่วมกับมีความความกังวลว่า 
1.คนอื่นจะเห็นความผิดปกติของตัวเอง 
2. พยายามปกปิดส่วนนั้นของร่างกายไว้ 
3. ส่องกระจกตรวจสอบความผิดปกติบ่อยครั้ง 
4. หลีกเลี่ยงการส่องกระจกหรือเงาสะท้อน  
5. พยายามอย่างมากที่จะแก้ไขความผิดปกติ หากมีข้อใดข้อหนึ่งควรปรึกษาจิตแพทย์ 

อาจต้องกินยาปรับสารสื่อประสาทในสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมและยับยั้งความคิดได้ โดยใช้เวลารักษา 6-9 เดือน ควบคู่กับการทำจิตบำบัด ปรับความคิด ทั้งนี้เรื่องรูปลักษณ์นั้นแต่ละคนมีความแตกต่าง อวัยวะที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้งานเป็นหลัก ไม่สวยแต่ทำงานได้สมบรณ์ ควรมองคุณค่าของคนจากภาคใน ไม่ใช่รูปร่างหน้าตา ซึ่งไม่มีอะไรยั่งยืน

เครดิต เดลินิวส์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1