การทดสอบความตรงของมาตรฐานการพยาบาลตามแนวความคิดของเมสัน

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ "การสร้างมาตรฐานการพยาบาลตามแนวคิดเมสัน"
คลิกชมตัวอย่างหนังสือ หรือสั่งซื้อ 



การทดสอบความตรงของมาตรฐานการพยาบาล
ตามแนวความคิดของเมสัน 
(ฐานิกา บุษมงคล)

การทดสอบความตรงของมาตรฐานการพยาบาล ตามแนวความคิดของเมสัน มีวิธีการดังนี้

(1) การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content validity)โดยการหาแหล่งผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 แหล่ง แหล่งผู้ทรงคุณวุฒิอาจเป็นพยาบาลผู้มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลนั้นๆ หรืออาจเป็นตำรา เอกสารทางวิชาการที่อธิบายถึงวิธีการปฏิบัติการพยาบาล โดยยึดหลักการพิจารณาความตรงตามเนื้อหาดังนี้
     1.1มาตรฐานเชิงกระบวนการที่สร้างขึ้นต้องอธิบายถึงขั้นตอนของกิจกรรมการพยาบาลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
     1.2 มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ที่สร้างขึ้นต้องเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น ถ้าได้ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
     1.3 มาตรฐานการพยาบาลที่สร้างขึ้นต้องครอบคลุมทุกประเด็นของกิจกรรมการพยาบาล

(2) การตรวจสอบความตรงตามความสัมพันธ์ (Criterion-related validity)เป็นการตรวจสอบความตรงตามแนวคิดของเมสัน เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยแสดงว่าความตรงตามเนื้อหาของมาตรฐานนี้ได้รับการยอมรับ แต่ตามแนวความคิดของเมสันนั้น มาตรฐานเชิงกระบวนการและมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ยังต้องการการทดสอบความตรงเพิ่ม คือความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างมาตรฐานเชิงกระบวนการและมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ในเรื่องหรือการปฏิบัติการพยาบาลเดียวกัน โดยการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่พยาบาลปฏิบัติจริง แล้วทดสอบดูว่า มาตรฐานเชิงกระบวนการนั้นมีความสัมพันธ์กับมาตรฐานเชิงผลลัพธ์หรือไม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

     2.1 การรวบรวมข้อมูล โดยการสร้างแบบฟอร์มการรวบรวมข้อมูลประ กอบด้วย หัวข้อมาตรฐาน วัตถุประสงค์ รายการข้อมาตรฐานเชิงกระบวนการ หรือมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ พร้อมทั้งมีช่อง “ได้ปฏิบัติ” และ “ไม่ได้ปฏิบัติ” สำหรับทำเครื่องหมายเมื่อทำการสังเกตจากการปฏิบัติการพยาบาลอย่างน้อย 10 ครั้งต่อมาตรฐานเรื่องหนึ่ง วิธีการรวบรวมข้อมูลมี 2 วิธี
          วิธีที่ 1 สังเกตพฤติกรรมการพยาบาล ที่ให้การปฏิบัติการพยาบาลในเรื่องนั้นๆ จากหลายคน หรือหลายแห่งอย่างน้อย 10 ครั้ง แต่ละครั้งดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามที่เขียนไว้ในมาตรฐานหรือไม่ กี่ครั้ง เพื่อนำไปหาความสัมพันธ์ต่อไป

          วิธีที่ 2 ขอความร่วมมือให้พยาบาลที่ปฏิบัติการพยาบาลในเรื่องนั้นๆ ทำกิจกรรมทุกอย่างตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเชิงกระบวนการ แล้วประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร
     2.2 วิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ขั้นตอนดังนี้
          ขั้นตอนที่ 1 ในแต่ละมาตรฐานเชิงกระบวนการ หรือมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ควรถือเกณฑ์ 9 ครั้งขึ้นไป จากการสังเกต 10 ครั้ง หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ว่าได้ปฏิบัติหรือเกิดขึ้นจริง จึงถือว่าเป็นมาตรฐานที่มีความตรงตามความสัมพันธ์

          ขั้นตอนที่ 2 นำมาตรฐานที่มีการปฏิบัติ หรือเกิดขึ้นจริงร้อยละ 90 ขึ้นไปหาความสัมพันธ์กันระหว่างกิจกรรมการพยาบาลกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ถ้าพบว่าเกิดผลทางบวกแสดงว่ามาตรฐานเชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ สามารถนำไปใช้เป็นมาตรฐานการพยาบาล ถ้าพบว่า เมื่อปฏิบัติตามมาตรฐานเชิงกระบวนการแล้ว เกิดผลลัพธ์ทางลบขึ้น แสดงว่ามาตรฐานเชิงกระบวนการนั้นยังขาดความตรงตามความสัมพันธ์ ควรนำไปปรับปรุงแก้ไขโดยนำไปปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ หรือแสวงหาวรรณกรรมใหม่ๆ แล้วนำไปทดสอบจนกระทั่ง เกิดผลลัพธ์ทางบวกทุกครั้งถ้าพบว่า เมื่อปฏิบัติตามมาตรฐานเชิงกระบวนการแล้วเกิดผลเสียหรือผลลัพธ์ทางลบขึ้น แสดงว่ามาตรฐานเชิงกระบวนการนั้นยังไม่ตรง ควรปรับปรุงแก้ไข หรือนำไปปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิหรือแหล่งวิชาการใหม่อีก แล้วจึงนำไปทดสอบจนกว่าจะเกิดผลบวกทุกครั้ง

เอกสารอ้างอิง

กองการพยาบาล. (2542). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาลปรับปรุงครั้งที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

_________. (2542). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_________. (2544). การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: งานบริการผู้ป่วยหนัก.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล. (2539). วิธีการสร้างมาตรฐานการพยาบาล. การประชุมวิชาการครั้งที่ 4 เรื่องมาตรฐานการพยาบาล: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

แขไข ชาญบัญชี. (2545). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจชนิด เปิดของกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิตติมา อุดมสถาพันธ์. (2531). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลทารกแรกเกิดที่ต้องช่วยหายใจด้วยความดันบวกอย่างต่อเนื่อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

จินตนา ยูนิพันธุ์. (2539). แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับมาตรฐานการพยาบาล. การประชุมวิชาการครั้งที่ 4 เรื่องมาตรฐานการพยาบาล: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

จิรวรรณ ชาประดิษฐ์. (2545). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกแขนและขาหักภายในระยะ 48 ชั่วโมง หลังการเข้าเฝือกปูน. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุรีวัฒน์ คงทอง. (2539). ผลของการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินต่อกิจกรรมการพยาบาลและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาล: กรณีศึกษางานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลักษณ์ ณีรัตนพันธ์. (2540). กลยุทธ์การบริหารการพยาบาล. ขอนแก่น: ภาควิชาการศึกษาวิจัยและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉวีวรรณ ดียิ่ง. (2543). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลในการรับฝากครรภ์หญิงมีครรภ์รายใหม่รงพยาบาลขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุลีพร เชาวน์เมธากิจ. (2525). มาตรฐานการพยาบาล. วารสารการพยาบาล, 31(1), 26-42.

ณัฐนุกูล ผกาภรณ์รัตน์.(2542). ผลของการใช้ข้อเสนอมาตรฐานการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของมารดาและความพึงพอใจในงานของบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลเลิดสิน.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

นัชชา เสนะวงศ์. (2543). การปฏิบัติของบุคลากรในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทนา สุวรรณมาโจ. (2545). การสร้างมาตรฐานการบันทึกทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บุบผา เศษโพธิ์. (2530). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจระยะ 72 ชั่วโมงแรก ขณะพักอยู่ในไอ.ซี.ยู. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

พรพิมล โคตรรณรงค์. (2545). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลในการรับฝากครรภ์หญิงมีครรภ์รายใหม่ ไตรมาสที่หนึ่ง โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2533). คุณภาพการพยาบาล: ประมวลการประชุมการพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 6 .กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองการพิมพ์.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2538). การประกันคุณภาพการพยาบาล. กรุงเทพฯ: วังใหญ่บลูพรินต์.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2541). การพยาบาลครอบครัว : แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้ .กรุงเทพฯ:โครงการตำราภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

วาสนา ลิ้มประเสริฐ. (2543). การสร้างมาตรฐานการรับผู้ป่วยใหม่. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิภาพร วรหาญ. (2539). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิไลวรรณ นุชศรี. (2543). การวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพร ฉัตรโพธิ์ทอง.(2530). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้คลอดปกติในระยะคลอด. วิทยานิพนธ์ สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สภาการพยาบาล. (2539). มาตรฐานการพยาบาลเชิงโครงสร้าง ในสถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา และสถานประกอบการ. กรุงเทฯ: บริษัท ดีไซด์ จำกัด.

สภาการพยาบาล.(2544). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องมาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ2544 .[ม.ป.ท.:ม.ป.พ.]. (เอกสารอัดสำเนา).

สิรินทร วิบูลชัย. (2545). การสร้างมาตรฐานการมอบหมายการปฏิบัติการพยาบาลประจำวันของหัวหน้าทีมการพยาบาล หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลเลย. รายงานการศึกษาอิสระสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสาวลักษณ์ ฟูบินวงศ์. (2544). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยหออภิบาลกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ& คณะ. (2540). กระบวนการพยาบาลทฤษฎีและการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 13.ขอนแก่น: ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดาวดี หอมจู. (2543). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา พันธ์คำ. (2546). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศรีสะเกษ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมคิด เผ่าผา. (2547). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลยโสธร. รายงานการศึกษาอิสระ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์. (2546). การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรสา ภูพุฒ. (2549). การสร้างแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ หออภิบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Benner, P. (1984). From Novice to Expert: Excellence and Power in Clinical Nursing Practice. Menlo Park, California: Addison-Wesley.

Gillies, D.A. (1994).Nursing management: A system approach. Philadelphia: W.B. Saunders.

Kim, M.J., McFarland, G.K. & McLane, A.M. (1991). Pocket Guide to Nursing Diagnoses.Fourth Edition: Mosby Year Book.

Mason, E.J. (1994). How to write meaningful nursing standard. 3 rd ed. New York: DelmarPublishers, Inc.

Nicholls, M.E. & Wessells, V.G. (1977). Nursing standards & nursing process. Wakefield,Mass: Contemporary Pub.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1