ทำไมนวดแล้วตาย

ทำไมนวดแล้วตาย??????
โดยเฉพาะนวดขณะตั้งครรภ์หรือได้รับบาดเจ็บบริเวณขา?????
ทุกท่านอาจได้ยินข่าวนวดในคนท้องหรือบาดเจ็บที่ขาแล้วหัวใจหยุดเต้น


สาเหตุที่อาจเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอดอย่างเฉียบพลัน!!!( Acute Pulmonary Embolism) กรณีเคสในข่าวต้องรอทางราชการยืนยันสาเหตุก่อนนะครับ


สาเหตุการเกิดลิ่มเลือดในขามีหลายสาเหตุ การเกิดการบาดเจ็บที่ขาหรือตั้งครรภ์ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยเช่นกัน เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่ขาหรือการตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา ช่วงแรกลิ่มเลือดอาจจะยังค้างอยู่ในขาโดยยังไม่ใหลไปที่อื่นจึงไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อมีการบีบบนวดที่ขาจึงทำให้ลิ่มเลือดนี่ใหลกลับเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องท้องแล้วใหลไปที่หัวใจห้องขวาปั๊มไปที่ปอดจึงทำให้มีอาการหายใจลำบากแน่นหน้าอก
หมดสติ ความดันต่ำรุนแรงจนเสียชีวิตได้


จากบทความของศรีนครินทร์เวชสาร Volume 29 Number 5 โดย อ.บูรพา ปุสธรรม
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/pastissues/…
กล่าวไว้ว่า


"โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบบ่อยเป็นลำดับที่สามรองจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองซึ่งส่งผลให้เกิดอัตราการเสียชีวิตที่ค่อนข้างสูง สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเกิดจากการหลุดลอยของลิ่มเลือดจากหลอดเลือดดำที่ขา การอุดกั้นในหลอดเลือดปอดอย่างเฉียบพลันจะทำให้แรงต้านทานของหัวใจห้องล่างขวาสูงขึ้น ส่งผลให้หัวใจห้องล่างขวาทำงานผิดปกติ กระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและการแลกเปลี่ยนก๊าซซึ่งทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในเวลาอันสั้น การวินิจฉัยอาศัยการประเมินความน่าจะเป็นของการเกิดโรคร่วมกับลักษณะทางคลินิกและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สัมพันธ์กับโรคและระดับความรุนแรง หลักการรักษาในระยะสั้นคือการสลายหรือยับยั้งการอุดกั้นของลิ่มเลือดซึ่งวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตและการทำงานของหัวใจห้องล่างขวา ส่วนหลักการรักษาในระยะยาวคือการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นซ้ำซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการเกิดโรคซ้ำในผู้ป่วยแต่ละราย โดยการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกผิดปกติซึ่งเป็นผลข้างเคียงหลักของการรักษาจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกรายและทุกขั้นตอนของการรักษา"


ภาวะนี้เสียชีวิตง่ายมากถึงจะถึงมือแพทย์เฉพาะทางได้เร็วก็ยังมีอัตราการตายที่สูงมาก ในบางครั้งการวินิจฉัยในตอนแรกอาจไม่พบแต่อาจจะพบหลังจากเสียชีวิตแล้วได้รับการวินิจฉัยจากการชันสูตรทางนิติวิทยา


บทความนี้ไม่ได้ห้ามนวดนะครับ การนวดเป็physical therapyที่ดีเยี่ยมอันนึง แต่คนที่ไปนวดต้องมีความพร้อมไม่มีโรคหรือรับประทานยาที่เป็นข้อห้ามของการนวด(อันนี้ผมยังให้ข้อมูลที่ชัดไปได้ว่าโรคอะไรบ้างรอท่านเฉพาะทางนี้มาให้ข้อมูลครับ)ก็สามารถนวดได้อย่างมีความสุขปลอดภัย



ผศ.นพ.ฐิติ จันทร์เมฆา
หน่วยศัลยกรรมหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก
ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น



ที่มา

แชร์มาจาก Facebook ของผศ.นพ.ฐิติ จันทร์เมฆา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1