การแพร่เชื้อตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดอาการ (Presymptomatic transmission)

การแพร่เชื้อตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดอาการ
(Presymptomatic transmission)

ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
5/4/63

รายงานการสืบสวนสอบสวน Morbidity and Mortality Weekly Report 1 เมษายน 2563
เป็นรายงานจากประเทศสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 23 มกราคม จนถึง 16 มีนาคม 2563
ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการแพร่จากคนที่ติดเชื้อ ก่อนที่จะเกิดอาการ ไปให้ผู้อื่น
(นอกจากนั้นในหลายรายงานทั่วไปจนกระทั่งถึงในประเทศไทยพบคนที่แพร่เชื้อโดยที่ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้นเช่นกัน)

จากรายงานนี้พบ 7 กระจุก (cluster) ของผู้ติดเชื้อ ที่แพร่ไปสู่ผู้อื่น ก่อนที่ตนเองจะมีอาการ
กระจุก A
ผู้หญิงอายุ 55 ปี A1 ผู้ชายอายุ 56 A2 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางมาถึงประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 19 มกราคมได้ประกอบกิจกรรม ที่โบสถ์ในวันนั้น
A1 มีอาการวันที่ 22 และA2 มีอาการวันที่ 24
ผู้ป่วย A3 A4 A5 ที่ได้ไปโบสถ์ในวันเดียวกันมีอาการวันที่ 23 และ 30 มกราคมและ 3 กุมภาพันธ์

การแพร่ที่เกิดขึ้นในอีก 6 กระจุก มีลักษณะคล้ายกันโดยคนแพร่ ติดจากเพื่อนหรือคนใกล้ชิด(ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ) แล้วหลังจากนั้นแพร่ไปให้ เพื่อนหรือครอบครัวตนเอง ในขณะที่ตนเองไม่มีอาการใดๆ และต่อมาถึงค่อยเกิดอาการภายหลัง

ดังนั้นการจะควบคุมโรคให้ได้ผลจะต้องหยุดยั้งการแพร่เชื้อในลักษณะนี้ให้ได้นั่นก็คือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถกลับเข้าสู่สถานการณ์ใกล้ปกติได้เลย

ลักษณะการแพร่เป็นกระจุกในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งแพร่เชื้อปล่อยให้คนหรือกลุ่มคนเป็นชั้นๆ เรื่อยไป สามารถดูการรายงานจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นรายงาน real time โดยระบุสถานที่ วันที่เกิด เพื่อเป็นการติดตามและเป็นการประกาศให้ประชาชนที่อยู่ในสถานที่หรือเหตุการณ์ดังกล่าวรายงานต่อทางการเพื่อติดตามผู้สัมผ้ส พร้อมทั้งสังเกตอาการของตนเองโดยทันทีและเริ่มแยกตัวออกจากคนอื่น

อ้างอิง
https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/mm6914e1.htm?s_cid=mm6914e1_w&fbclid=IwAR1W1vSph2R5OBBaznhWDHQ_KA-3GAgZy2UP0iIQNoeKcOpsTmVQ0CZGPYI

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1