กรมการแพทย์เผยแนวทางวินิจฉัยดูแลรักษา และป้องกันติดเชื้อฝีดาษลิง

กรมการแพทย์เผยแนวทางวินิจฉัยดูแลรักษา และป้องกันติดเชื้อฝีดาษลิง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์




กรมการแพทย์เผยแนวทางวินิจฉัยดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อกรณีฝีดาษวานร สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลทุกระดับ "รพศ. รพท. รพช. รพ.สต." ฉบับวันที่ 31 ก.ค.65 

ทั้งนี้ ในแนวทางดังกล่าวระบุถึงการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยสงสัยในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล รวมทั้งแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ การป้องกันบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  ซึ่งจะมีแนวทางการเลือกใช้อุปกรณืป้องกันร่างกายส่วนบุคคล สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นต้น

กรมการแพทย์เผยแพร่แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัย การดูแลรักษาและการป้องกันการติดเชื้อ กรณีโรคฝีดาษวานร (Monkeypox)  ฉบับ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565  
โรคฝีดาษวานร (Monkey Pox)

• เชื้อสาเหตุ คือ monkeypox virus ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่มของ Orthopoxvirus genus, family Poxviridae
• โรคฝีดาษวานรเป็นโรคที่อาการไม่รุนแรง หายเองได้ แต่จะมีอาการรุนแรงได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและ
เด็กเล็ก โดยมีอัตราการตายต่ำกว่าร้อยละ 5
• ระยะเวลามีอาการของโรคประมาณ 2 - 4 สัปดาห์
• เนื่องจากโรคฝีดาษวานร เพิ่งมีรายงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้
รักษาเป็นผู้ป่วยในทุกราย
ระยะฟักตัว 7 - 21 วัน
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการไข้ และผื่น จะเริ่มจากตุ่มแดง ประมาณ 5-7 วันหลังรับเชื้อ
และตุ่มจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และแห้งเป็นสะเก็ด ตุ่มมีจำนวนมากน้อยตาม
ความรุนแรงของโรค และการตอบสนองของผู้ป่วย รวมระยะเวลาประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์
การแพร่กระจายเชื้อและการติดต่อส่วนใหญ่โดยการสัมผัสผื่นผู้ป่วยโดยตรงในระยะแพร่เชื้อ หรือสารคัดหลั่ง
จากผู้ป่วยยืนยัน อาจมีการติดต่อทางละอองฝอยได้โดยเฉพาะหากมีการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอย
ขนาดเล็ก (contact transmission & droplet transmission)

ทั้งนี้ ในแนวทางดังกล่าวระบุถึงการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยสงสัยในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล รวมทั้งแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ การป้องกันบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  ซึ่งจะมีแนวทางการเลือกใช้อุปกรณืป้องกันร่างกายส่วนบุคคล สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นต้น




#กรมการแพทย์เผยแนวทางวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันติดเชื้อฝีดาษลิง

#ฝีดาษลิง

#EdutainmentSocietybyThanika




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1