เตรียมสอบจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาลของสภา



วัตถุประสงค์  ในการเผยแพร่แนวข้อสอบนี้ เพื่อต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการในเรื่องแนวข้อสอบอย่างกว้างขวาง หากปล่อยให้ทุกอย่างจบลงในห้องสอบ ดูจะน่าเสียดาย เพราะวัตถุประสงค์สำคัญของการสอบคงไม่ใช่แค่สอบผ่านหรือไม่ผ่าน แต่อยู่ที่การได้ความรู้เพิ่มจากการสอบและข้อสอบต่างหาก
ที่มาของแนวข้อสอบ ข้อสอบนี้เป็นเพียงแนวที่ได้จากการเก็งข้อสอบ ของผู้ที่เคยเข้าสอบแล้ว และผู้ที่ยังไม่เคยเข้าสอบแต่ได้มีโอกาสอ่านแนวข้อสอบจากที่ต่างๆ ได้รับการติวบ้างอะไรบ้าง จึงนำออกจากวงสนทนาของคนเหล่านั้นมาเผยแพร่ โดยปราศจากจุดมุ่งหมายทางการค้าอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นไปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพพยาบาลอย่างแท้จริง

หมายเหตุ หากท่านใดพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ และต้องการให้หยุดเผยแพร่ โปรด แจ้งทาง thanika@cas.ac.th ทางเราจะดำเนินการให้โดยทันที

ลงชื่อ ฐานิกา บุษมงคล


โจทย์เพื่อเป็นแนวในการอ่านหนังสือทบทวนเพื่อเตรียมสอบค่ะ

ชุดที่ 1

1.จริยธรรม คืออะไร




2. หลักการหรือแนวคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจเชิงจริยธรรมนั้นมีที่มาจากใหน



3. หลักจริยธรรม "หน้าที่นิยม" กับ "ประโยชน์นิยม" เหมือน หรือแตกต่างกันตรงใหน อย่างไร



4. ตัวอย่างการปฏิบัติของพยาบาลที่ถือว่าเป็นการตัดสินใจเชิงจริยธรรมโดยยึดหลักจริยธรรม "หน้าที่นิยม"



5. ตัวอย่างการปฏิบัติของพยาบาลที่ถือว่าเป็นการตัดสินใจเชิงจริยธรรมโดยยึดหลักจริยธรรม"ประโยชน์นิยม"
 
 
1. ลักษณะของกฎหมายตามเนื้อความ เป็นอย่างไร ลองยกตัวอย่างด้วยความเข้าใจของตนเองดู




2. ความเหมือนและแตกต่าง ระหว่าง กฎหมายเอกชน กับ กฎหมายมหาชน



3. ความเหมือนและแตกต่างของระบบกฎหมาย Common law & Civil law



4. สิทธิผู้ป่วย ตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยขององค์กรด้านสุขภาพ ทบทวนในรายละเอียดทุกข้อ



5. ความหมายของ “การพยาบาล” ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2540



6.การก่อกำเนิด วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ ของ สภาการพยาบาล



7. สมาชิกสภาการพยาบาล โดยละเอียด



8.กรรมการสภาการพยาบาล ก็ควรศึกษาดูด้วยนะครับ



9.การดำเนินงานของกรรมการสภาการพยาบาล



10.ข้อห้ามและข้อยกเว้นที่สำคัญ ในมาตรา 27



11.การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ตั้งแต่ ก่อนเข้าสู่ วิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อเข้ามาสู่วิชาชีพ จนออกไปจากวิชาชีพนั้น จะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร กรณีใดถือว่าผิดจริยธรรมตามข้อบังคับฯ บ้าง และกรณีใดไม่ถือว่าผิดจริยธรรม ด้วยเหตุผลอะไรอย่างใด เพราะเหตุใด ต้องดูให้ลึก



12.ขั้นตอนการดำเนินการทางจริยธรรมกับผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นอย่างไร จะจบลงที่ตรงใหน สิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีมีอะไรบ้าง



13.โทษทางวิชาชีพกับโทษทางอาญาก็ควรทบทวนเช่นกัน



14.สุดท้าย ลองทบทวนสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทางหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หรือที่นักศึกษาประสบพบเห็นบนหอผู้ป่วยตอนไปฝึกงาน หรือแม้แต่สถานการณ์ที่อาจารย์นำมาให้ทดลองศึกษาวิเคราะห์นั้น สามารถปรับเข้ากับหลักกฎหมายวิชาชีพที่เราเรียนมาได้อย่างไรบ้าง หรือจะใช้หลักจริยธรรมวิชาชีพตามข้อบังคับฉบับล่าสุด มาปรับ วินิจฉัย ความ ผิด-ถูก ควร-ไม่ควร ได้อย่างไรบ้าง


ชุดที่ 2
1. พยาบาลวิชาชีพซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ปี 2539 จะทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้กรณีใดบ้าง




2. ความยินยอมที่ไม่ทำให้เป็นละเมิด ใครยกขึ้นอ้างได้บ้าง กรณีใดที่ยกขึ้นอ้างได้ และกรณีใดที่จะยกขึ้นอ้างไม่ได้

3. ความผิดอาญาต่อแผ่นดิน และความผิดอาญาต่อส่วนตัว

4. หลักเกณฑ์สำคัญของกฎหมายอาญา

5. เจตนา และประมาท แตกต่างกันอย่างไร

6. โครงสร้างความรับผิดทางอาญา

7. การกระทำที่กฎหมายยกเว้นความผิด

8. การกระทำที่กฎหมายยกเว้นโทษ

9. โทษทางอาญา


10. บุคคล

11. ความสามารถของบุคคล

12. ผลของนิติกรรม สัญญา

13. หลักเกณฑ์สำคัญของกฎหมายละเมิด

14. ค่าเสียหายจากการละเมิด

15. การทำแท้ง

16. ความผิดต่อเสรีภาพ

17. การเปิดเผยความลับ และการปฏิเสธการช่วยเหลือ

18. สิทธิประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนดไว้ในกองทุนประกันสังคม

19. สถานพยาบาล

20. สาระสำคัญของพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค

21. โรคติดต่อต้องแจ้งความ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ

22. เพิ่มเติม ประเด็น ปัญหาเชิงจริยธรรมและทฤษฎีจริยศาสตร์อีกนิดหน่อย


ที่มา
1. เอกณัฐ จิณเสน  http://www.learners.in.th/blog/toplegal/148639?refresh_cache=true
2. เอกณัฐ จิณเสน  http://www.learners.in.th/blog/toplegal/154301

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1