การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

















เครื่องกระตุ้นหัวใจ คืออะไร
คือเครื่องมือพิเศษที่ให้สัญญาณไฟฟ้าออกมา เพื่อกระตุ้นให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ


ทำไมต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
เพื่อรักษา ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ หัวใจเต้นช้า ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต


การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
1.การดูแลแผล
* ควรดูแลแผลผ่าตัดให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
* ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ อย่ารัดบริเวณตำแหน่งแผล
* ถ้าผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดช้ำ มีหนอง น้ำเหลืองให้รีบมาพบแพทย์

2.การตรวจนับชีพจรด้วยตนเอง
*อัตราความเร็วของเครื่องกระตุ้นหัวใจของท่านคือ……………ครั้ง/นาที
*ท่านควรตรวจนับชีพจรของตนเองตามวิธีการดังนี้
-วางนิ้วมือสองนิ้วลงบนข้อมืออีกข้างหนึ่ง กดเบาๆเพียงแต่แตะให้รู้สึกว่ามีการเต้นของชีพจรอยู่ใต้ผิวหนังและนับจำนวนครั้งที่รู้สึกว่า ตุบๆให้ครบ 1 นาที
- นับจำนวนชีพจรใน 1 นาที
- ควรนับชีพจรในเวลาเดียวกันของทุกวัน เช่น ในตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนการวัด ควรพักนิ่งๆ อย่างน้อย 5 นาที
- ควรจดบันทึกอัตราชีพจรลงในสมุดบันทึก ถ้าว่าจำนวนชีพจรเต้นผิดไปจากเดิมประมาณ 10-20 ครั้ง/นาทีควรนั่งพักอีกประมาณ 10 นาที แล้วลองนับใหม่ก่อนไปพบแพทย์

3.การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ท่านสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยมีกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ได้
* การเดินทาง
*การขับรถ
*การมีเพศสัมพันธ์
*การทำความสะอาดร่างกาย ภายในช่วง 7 วันแรกควรดูแลทำความสะอาดร่างกายด้วยการเช็ดตัว หลังจากนั้น ถ้าแผลแห้งดี สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
*การทำหน้าที่การงานได้ตามปกติ เช่น งานบ้าน
*ประมาณ 2 สัปดาห์หลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจท่านไม่ควรยกแขนเหนือศีรษะและยกของหนัก
*การออกกำลังกายทุกอย่างได้ตามปกติ

4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรหลีกเลี่ยง
*เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมีความปลอดภัยพอ ท่านสามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดได้ตามปกติ แต่...ถ้าท่านอยู่ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด หรือผ่านเครื่องจับโลหะที่สนามบินซึ่งอาจรบกวนเครื่องกระตุ้นหัวใจได้ ท่านก็เพียงแต่...เดินออกให้ห่างหรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะทำให้ชีพจรกลับมาเต้นตามปกติ
* สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ เครื่องเอ็กซเรย์ ชนิด เอ็ม อาร์ ไอ (MRI)*

การใช้โทรศัพท์มือถือ
ให้ถือโทรศัพท์ด้วยมือข้างตรงข้ามกับข้างที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

5.อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ก่อนนัด
*ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
*มีอาการมึนๆ วิงเวียนศีรษะ
*เป็นลม
*ใจสั่น เจ็บหน้าอก
*เหนื่อยหอบ
*บวม
*สะอึกนาน และตามจังหวะการเต้นของชีพจร
*กล้ามเนื้อหน้าอกกระตุกตามชีพจร

** เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด **

คลิปการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบแอนนิเมชั่น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1