บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม 25, 2015

ผู้ชายมีบ้านเล็กเพราะอะไรและทำไมผู้หญิงถึงรักผัวเขา

แม้จะรู้ว่าความรักมักเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ แต่หลายคนก็ไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งความรัก แค่ขอให้ได้รัก แม้จะเป็นรักที่ขมขื่นในภายหลังก็ยังดีกว่าไม่ได้รัก ถ้าเป็นนิยายน้ำเน่าเล่มละไม่กี่บาทก็จะจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง พระเอกนางเอกฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนามจนได้เข้าสู่ประตูวิวาห์ แต่เมื่อหันกลับมาพบกับความจริง นั่นเป็นเพียงแค่บทเริ่มต้นเท่านั้น เพราะชีวิตคู่หลังจากนี้ยากจะประเมิน หลักฐานที่เป็นรูปธรรมที่สุดเห็นจะเป็นสถิติที่ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจไว้ว่า อัตราการหย่าร้างของสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสมีสูงถึง 30% โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนสาเหตุนั้นก็เกิดจากปัจจัยหลายประการส่วนใหญ่จะเป็นการปันใจของฝ่ายคุณสามีซะมากกว่า ศ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชาจิตแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการศึกษาสาเหตุของการมีภรรยาน้อยของชายไทยจำนวน 20 คน พบสาเหตุที่แท้จริงว่า การที่เขาไปมีภรรยาน้อย หรือนอกใจภรรยานั้นมีสาเหตุหลายอย่างมากซึ่งคล้ายกับคนที่มาเป็นภรรยาน้อยที่มีหลายสาเหตุเหมือนกัน แต่เหตุผลต่างกันมากระหว่างหญิงและชาย สามารถสรุปได้ดังนี้คือ 1.ความใกล้ชิดผู้หญิง สามีเหล่านี้คิดว่าเพราะตนไปใก

พัฒนาการของการสร้างมาตรฐานการพยาบาล

พัฒนาการของการสร้างมาตรฐานการพยาบาล                     การสร้างมาตรฐานการพยาบาล ได้มีการริเริ่มสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1963 โดยข้อความมาตรฐานการพยาบาลขณะนั้นเพื่อนำไปสู่การประเมินโครงสร้างของหน่วยงานหรือบ่งบอกหลักฐานการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างกว้างๆเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนพอที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้  รวมทั้งไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้การพยาบาลได้ (กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล, 2539)                     ต่อมาในปี ค.ศ 1966 สมาคมพยาบาลอเมริกัน(American Nurses Association) ได้แบ่งกลุ่มพัฒนาการสร้างมาตรฐานการพยาบาลขึ้น (Smeltzen, 1983 อ้างใน ศิริพร ฉัตรโพธิ์ทอง, 2530) ซึ่งมาตรฐานที่สร้างขึ้นเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการประกันคุณภาพการพยาบาล ในปี ค.ศ.1970 มีการจัดตั้งสมาคมโรงพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (American Hospital Association) และกรรมาธิการร่วมเพื่อการรับรองโรงพยาบาล (JOINT Commission on Accreditation of  Hospital) ใช้ชื่อย่อว่า JCAH มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพทางการแพทย์และการพยาบาล โดยจะดูผลการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับด้วยวิธีการตรวจสอบย้อนหลังถึงคุณภาพการพยาบาลของหน่วยง

คุณประโยชน์ของมาตรฐานการพยาบาล

                    พวงรัตน์  บุญญานุรักษ์ (2538) กล่าวถึง คุณประโยชน์ของมาตรฐานการพยาบาลดังนี้                     (1)  สร้างความสำนึกในความรับผิดชอบต่อวิชาชีพการพยาบาล                     (2)  เป็นการประกันการดูแลที่มีคุณภาพสูงสุด                     (3)  สร้างความสำเร็จของงานการบริการพยาบาล                     (4)  เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในวิชาชีพการพยาบาล                     (5)  ป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน                     (6)  เป็นการคุ้มครองผู้ป่วย                     (7)  เป็นการใช้ระบบการควบคุมที่มีคุณค่า                     (8)  สร้างเอกสิทธิ์ทางวิชาชีพการพยาบาล                     (9)  เป็นการรับรองคุณภาพการพยาบาลให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง                     (10)ให้แนวทางในการใช้ทฤษฎีการพยาบาล                     ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามาตรฐานการพยาบาล เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวัดคุณภาพการพยาบาล ต่อผู้ใช้บริการ ต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพ เป็นสิ่งสำคัญต่อโปรแกรมการประกันคุณภาพการพยาบาล เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ประเมินผลการพยาบาลและเป็นเอกสิทธิ์ทางวิชาชีพที่

คุณค่าของมาตรฐานการพยาบาล

คุณค่าของมาตรฐานการพยาบาล                     จินตนา  ยูนิพันธุ์(2539) ได้กล่าวถึงคุณค่าของมาตรฐานการพยาบาลไว้ดังนี้                     1.คุณค่าต่อวิชาชีพ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเป็นขั้นตอนแรกของการประกันคุณภาพการพยาบาล ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่สังคมยอมรับ เชื่อมั่นการบริการที่ตนเองได้รับ ช่วยให้วิชาชีพมีคุณค่าต่อสังคม มีประโยชน์ ทำให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปอย่างมีระบบ มีทิศทาง และเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ มีอิสระของการปฏิบัติวิชาชีพพยาบาล และเป็นเอกสิทธิ์ของวิชาชีพ                     2.คุณค่าต่อผู้รับบริการ โดยใช้เป็นแนวทางหลักในการจัดบริการ และการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้บริการ ได้รับบริการที่มีคุณภาพและเสมอภาคมากที่สุด                     3. คุณค่าต่อพยาบาล โดยพยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน และการให้บริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ เป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพ สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องเป็นแนวทางแก่ผู้บริหารทุกระดับ ในการจัดหา/จัดสรรทรัพยากร รวมถึงกำหนดนโยบายให้บรรลุจุดมุ่งหมาย เป