บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม 30, 2010

วงจรเดมมิ่ง PDCA

PDCA วงจรเดมมิ่ง PDCA วงจร PDCA ได้รับการพัฒนามาจากวงจรเดมมิ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างคุณภาพของสินค้า วงจรเดมมิ่งแสดงความสัมพันธ์ของการออกแบบ ผลิต จำหน่าย และการวิเคราะห์ตลาด เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ เมื่อวงจรเดมมิ่งได้ถูกนำไปใช้และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นวงจร PDCA ทำให้วงจร P DCA ดังกล่าวได้กลายมาเป็นหลักในการบริหารงานอย่างแพร่หลาย ทั้งระดับองค์กร ระดับแผนก และระดับพนักงาน วงจร PDCA มาจากคำภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ • P –Plan วางแผน โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ และตั้งเป้าหมาย กำหนดขั้นตอนวิธีการ และระยะเวลา จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นทั้งในด้านบุคคล เครื่องมืองบประมาณ • D- Do ปฏิบัติ โดยการทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติตามแผน • C-Check ตรวจสอบ เพื่อติดตามความคืบหน้า และดูผลสำเร็จของงานเมื่อเทียบกับแผน • A-Act ดำเนินการให้เหมาะสม หากการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจ ก็จัดให้เป็นมาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางให้ปฏิบัติต่อไป หากการปฏิบัติมีข้อควรปรับปรุง ให้กำหนดวิธีการปรับปรุงต่อไป หากเราทำกิจกรรมเพียงเรื่องเล็กๆ เช่น จัดกระเป๋านักเรียน

การให้ความรู้ด้านประกันคุณภาพแก่นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา          นักศึกษาในฐานะผู้รับบริการและเป็นผลผลิตสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงของสถาบันอุดมศึกษา จึงมีพันธะสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพการ จัดการศึกษาของสถาบัน มีส่วนร่วมและเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้งานประกันคุณภาพการศึกษา มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เป้าหมายระดับ............. เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ 1. มีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา 2. มีระบบส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้กับกิจกรรมนักศึกษา 3. มีกลไกให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย 4. นักศึกษามีการใช้กระบวนการคุณภาพ ในการพัฒนาคุณภาพของกิจกรรม หรือโครงการนักศึกษา 5. นักศึกษาสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน 6. มีระบบติดตามประเมินผลการประกันคุณภาพในกิจกรรมที่นักศึกษา ดำเนินการ และในส่วนที่ นักศึกษามีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพของสถาบัน 7. มีการนำผลการประเมินไปพัฒนากระบวนการให้ความรู้และกลไกการดำเนินงา