บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม 1, 2011

ความหมายของการบริหารการพยาบาล

ความหมายของการบริหารการพยาบาล ฐานิกา  บุษมงคล,พยม. ประพิณ วัฒนกิจ, 2541 อ้างใน พรทิพย์ ชีวะพัฒน์, 2551 กล่าวว่า การบริหารการพยาบาล (Nursing administration) หมายถึง การจัดการทางการพยาบาลและจัดระบบบริการพยาบาล เพื่อให้เกิดวิธีการให้การพยาบาลที่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย หรือผู้ใช้บริการรักษาพยาบาลเป็นสำคัญ นิตยา ศรีญาณลักษณ์, 2545 กล่าวว่า การบริหารการพยาบาล หมายถึง การดำเนินงานตามกระบวนการบริหาร โดยอาศัยปัจจัยต่างๆที่จำเป็นต่อการบริหาร เพื่อให้บุคลากรการพยาบาลสามารถให้การพยาบาลที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ วิภาพร วรหาญ, 2550 กล่าวว่า การบริหารการพยาบาล หมายถึง การดำเนินงานที่อาศัยความร่วมมือของบุคลากรทางการพยาบาลทุกระดับในการดูแลรักษาพยาบาลผู้รับบริการโดยใช้ทรัพยากรทางการบริหารที่มีอยู่ เช่น บุคลากร พัสดุ และเวชภัณฑ์ รวมทั้งงบประมาณหรือเงิน ในการดำเนินงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ แก่ผู้รับบริการ ครอบครัว และชุมชน

คน (Man)ทรัพยากรการบริหารอันทรงคุณค่า

คน (Man)ทรัพยากรการบริหารอันทรงคุณค่า ฐานิกา  บุษมงคล, พยม. คน (Man) เป็นหนึ่งในปัจจัยการบริหารที่สำคัญที่สุด ในการบริหารการพยาบาลแล้ว คนหมายถึง บุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารการพยาบาล เช่น พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย พนักงานการแพทย์ พนักงานเวรเปล พนักงานกู้ชีพ เป็นต้น และอาจหมายรวมเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่จะมาปฏิบัติงานในองค์การพยาบาลเพื่อช่วยให้องค์การพยาบาลบรรลุเป้าหมาย ซึ่งในแต่ละองค์การพยาบาล ย่อมมีองค์ประกอบของทรัพยากรบุคคลที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทหลายอย่างของแต่ละองค์การพยาบาล สำหรับการบริหารการพยาบาลแล้ว   การบริหารกำลังคน ถือเป็นประเด็นท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังในส่วนของพยาบาลวิชาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต สอดคล้องกับการศึกษาของ ดร.กฤษดา แสวงดี นักวิชาการพยาบาลชำนาญการพิเศษ หัวหน้าโครงการวิจัย "สุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย" ซึ่งเป็นโครงการวิจัยระยะยาว 20 ปี (2552-2557) ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักกองทุน

องค์ประกอบการบริหารการพยาบาล

รูปภาพ
องค์ประกอบการบริหารการพยาบาล ฐานิกา บุษมงคล, พยม. การบริหารการพยาบาล มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1. ปัจจัยนำเข้า(Input) 2. กระบวนการบริหาร(Process) 3. ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ(Product, Outcome, Impact) ซึ่งผู้บริหารการพยาบาลมีหน้าที่โดยตรงในการบริหารองค์ประกอบเหล่านี้

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การพยาบาล

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารองค์การพยาบาล มีดังนี้  (ยุพดี โสตถิพันธ์, 2539 อ้างใน วรรณฤดี ภู่ทอง, 2551) 1.ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปรัชญา นโยบาย เป้าหมาย และวิธีดำเนินงาน การออกแบบองค์การ และ พฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งมีผลกระทบกับการบริหารงาน การจัดองค์การ ตลอดจนระบบปฏิบัติงานที่กำหนดขึ้น 2.ปัจจัยภายนอก คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการพยาบาล เช่น ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภัยธรรมชาติ นโยบายของรัฐบาล ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโลกาภิวัฒน์ ซึ่งสอดคล้องกับ สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ ที่กล่าวว่า การประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบบริการสุขภาพเพื่อให้เกิดการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และทั่วถึงในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ตลอดจนการส่งเสริมความเข้มแข็งในภาคประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการขยายบทบาทให้ภาคเอกชนร่วมรับผิดชอบในการให้บริการสุขภาพ ทำให้องค์การพยาบาลต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ เช่นเดียวกับองค์การใหญ่ ๆ ของรัฐ และเอกชน

การบริหารองค์การพยาบาล

รูปภาพ
photo under creative common การบริหารองค์การพยาบาล หมายถึง การใช้แนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารเพื่อบูรณาการ การปฏิบัติการพยาบาล การวิจัย และการศึกษาสู่การปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ ภายในขอบเขตแห่ง การประกอบวิชาชีพ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของระบบบริการสุขภาพที่เป็นพลวัตร การบริหารการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้องค์การสามารถที่จะอยู่รอด มีการเจริญเติบโต สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อสังคม

วัตถุประสงค์ขององค์การพยาบาล

วัตถุประสงค์ขององค์การพยาบาล (Organization Objectives) แบ่งออกได้ ดังนี้ 1. ความอยู่รอด หมายถึง ความสามารถที่จะดำรงและดำเนินงานต่อไปได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากองค์การพยาบาลเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการบริการพยาบาล ดังนั้นความอยู่รอดขององค์การพยาบาลจึงหมายถึงการอยู่รอดของบุคคลในองค์การพยาบาลด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกันองค์การพยาบาลซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจนั้นต้องไม่ละทิ้ง เพิกเฉยต่อบุคลากรในองค์การ องค์การพยาบาลจักต้องดูแล พิทักษ์สิทธิ และใช้เครื่องมือทางการบริหารในการเอื้ออำนวยให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความสุข เปรียบเสมือนหัวใจที่มีหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย อันจะนำไปสู่การมีขวัญ กำลังใจและความสุขในการปฏิบัติงานและส่งผลถึงการดำรงคงอยู่ของบุคลากรในองค์การต่อไป 2. ความเจริญเติบโต หมายถึง องค์การที่ดีมิใช่เพียงรักษาองค์การให้อยู่รอดเท่านั้น แต่ต้องสามารถที่จะเติบโตและมีพัฒนาการที่ดีด้วย คำว่ามีพัฒนาการที่ดีมิได้หมายถึงการขยายขนาดขององค์การพยาบาลเท่านั้น แต่หมายรวมถึงพัฒนาการของการบริหาร การบริการและวิชาการขององค์การพยาบาลอีกด้วย อันจะส่ง

มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์

มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Standard of Nursing and Midwifery Service Organization) มีรายละเอียดดังนี้ มาตรฐานที่ 1 การจัดองค์กรและการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 1.1 การบริหารจัดการการพยาบาลดำเนินการโดยองค์กรการพยาบาล และ การผดุงครรภ์ 1.2 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเป็นพยาบาลวิชาชีพ 1.3 องค์กรการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดปรัชญา นโยบายทางการพยาบาลเพื่อเป็นทิศทางการปฏิบัติของทุกหน่วยงานบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 1.4 องค์กรการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีโครงสร้างและขอบเขตงานในความรับผิดชอบชัดเจน 1.5 มีระบบและกลไกการบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน 1.6 มีนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่ส่งเสริมคุณภาพบริการพยาบาล และการส่งเสริมเอกสิทธิ์ในการปฏิบัติการพยาบาล มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 2.1 มีระบบและกลไกการคัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน 2.2 พยาบาลทุกระดับมีคุณสมบัติเหมาะสมและประสบการณ์ที่เพียงพอ ดังนี้ 2.2.1 พยาบาลทุกคนต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

ทักษะของผู้บริหารการพยาบาล

รูปภาพ
photo under creative common ผู้บริหารการพยาบาลทุกคน จำเป็นต้องมีทักษะทางการบริหาร  ( Sovie, 1987 อ้างใน Simms, 1994) โดยทักษะ 3 ชนิดของนักบริหารประกอบด้วย  (นิตยา ศรีญาณลักษณ์, 2545) 1. ทักษะการคิด(conceptual skill) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และมองได้กว้างและไกล สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆได้ คิดประเมินสภาพการณ์ที่เป็นจริงได้ถูกต้อง คิดแหลมลึกเห็นปัญหาที่ซ่อนเร้นได้ คิดริเริ่มที่ทันสมัยเหนือคู่แข่ง คิดกลยุทธ์วิธีการต่างๆ หรือสิ่งที่ดีกว่าออกมาใช้ 2. ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (human skill) ความสามารถทางด้านการเข้ากับคน คือ การรู้ถึงจิตใจ คน เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และมีเทคนิคการเอาชนะใจคน มีทักษะในด้านการติดต่อสื่อสารและจูงใจคน จะช่วยชักนำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประสานงานและทุ่มเททำงานอุทิศให้กับองค์การ 3. ทักษะด้านเทคนิค (technical skill) ความสามารถด้านเทคนิค คือมีความเข้าใจในงาน วิธีทำงาน และปัญหาด้านเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในองค์การ รวมถึงการเข้าใจในสภาพเงื่อนไขของทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการทำงาน และการรู้จักปรับปรุงวิธ

ผู้บริหารการพยาบาล

รูปภาพ
photo under creative common ผู้บริหารการพยาบาล ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์การสุขภาพ  ในทรรศนะของผู้เขียนแล้วผู้บริหารการพยาบาลเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังขององค์การเลยทีเดียว เพราะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริการ การคัดเลือกบุคลากร และความสำเร็จขององค์การ  ถ้าผู้บริหารการพยาบาลมีภาวะผู้นำมากพอก็จะนำพาองค์การสุขภาพมุ่งสู่ความสำเร็จได้ ผู้บริหารการพยาบาลถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญซึ่งต้องได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนา  แต่ถ้าผู้บริหารการพยาบาลขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางการบริหารองค์การ ขาดความรู้และมุมมองทางด้านธุรกิจและการเงินก็อาจนำพาให้องค์การล้มเหลวได้เช่นกัน  จึงเป็นที่น่าเสียดายที่แม้ทุกคนจะทราบความจริงข้อนี้ แต่ยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารการพยาบาล ทำให้ผู้บริหารการพยาบาลขาดโอกาสในการเข้ารับการศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ โดยเฉพาะ ด้านการบริหารธุรกิจ การเงิน ตลอดจนทักษะการบริหารองค์การอื่นๆ Douglass LM. ,1996 กล่าวว่า เพื่อให้การบริหารการพยาบาลมีประสิทธิภาพ องค์การสุขภาพ ควรจัดให้มีผู้บริหารการพยาบาล (nurse manager) 3 ระดับคือ 1

ความสำคัญของการบริหารการพยาบาล

รูปภาพ
photo under creative common ความสำคัญของการบริหารการพยาบาล นิตยา ศรีญาณลักษณ์ ได้กล่าวถึง "ความสำคัญของการบริหารการพยาบาล" ไว้ดังนี้ 1. การบริหารการพยาบาล ช่วยให้บุคลากรพยาบาลร่วมกันทำงานในองค์การได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2. การบริหารการพยาบาล จะช่วยชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มทั้งในด้านความเจริญและความสำเร็จของ สังคมในอนาคต 3. องค์การพยาบาลจะคงสภาพอยู่ มีความเจริญก้าวหน้า หรือถดถอย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการ บริหาร 4. การบริหารองค์การพยาบาล ซึ่งเป็นองค์การขนาดใหญ่ และมีความสลับซับซ้อน จะต้องมีการ จัดระบบระเบียบขององค์การ ซึ่งเป็นมรรควิธีที่สำคัญที่จะนำสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้า 5. การบริหารการพยาบาล มีลักษณะต้องใช้การวินิจฉัยสั่งการเป็นเครื่องมือ ซึ่งผู้บริหารต้อง คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ และการวินิจฉัยสั่งการนี่เองเป็นเครื่องมือแสดงให้ทราบถึงความสามารถของนักบริหาร 6. การบริหารการพยาบาลที่ดี ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพราะสามารถให้การพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ 7. ชีวิตประจำวันของบุคลากรพยาบาล ไม่ว่าในครอบครัวหรือในองค์การพยาบาล ย่อมมีส่วน