บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน 16, 2020

เราอาจประเมินการแพร่เชื้อทางอากาศของโรคโควิด-19 ต่ำไป

เมื่อวันที่ 16 เม.ย. นักวิจัยจากออสเตรเลียและจีนเผยแพร่บทความร่วมกันในวารสาร Environment International โดยอ้างว่าเราอาจประเมินการแพร่เชื้อทางอากาศของโรคโควิด-19 ต่ำไป !!! ขอบคุณข้อมูล: https://www.xinhuathai.com/high/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%80_20200416

การวิจัยถึงสภาพแวดล้อมและการทนความร้อนของไวรัสโควิด-19

เว็บไซต์ bioRxvi.org เผยแพร่ผลการวิจัยของคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเอ็กซ์-มาร์แซย์ ในฝรั่งเศส ซึ่งทำการวิจัยถึงสภาพแวดล้อมและการทนความร้อนของไวรัสโควิด-19 ว่า ยังหลงเหลือความสามารถแบ่งตัวเพื่อแพร่เชื้อระลอกใหม่ได้ หลังใช้ความร้อนสูง 60 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมงแล้วก็ตาม และพบว่าต้องใช้อุณหภูมิเกือบถึงจุดเดือด จึงจะทำลายไวรัสได้ทั้งหมด ผลการวิจัยดังกล่าว ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยคณะนักวิจัยฉีดไวรัสที่ยังมีชีวิตที่ได้จากผู้ป่วยคนหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ใส่ไปในเซลล์เพาะเนื้อที่ได้มาจากไตของลิงเขียวแอฟริกา ซึ่งเป็นเซลล์มาตรฐานสำหรับการทดลองไวรัสที่มีชีวิต จากนั้นนำเซลล์ดังกล่าวที่ติดเชื้อไวรัสใส่หลอดทดลอง 2 หลอด ที่จำลองสภาพแวดล้อมจริง 2 แบบ ได้แก่ แบบสะอาด และแบบสกปรก ที่มีการปนเปื้อนทางชีวภาพอื่นอยู่ เช่น ในช่องปากของมนุษย์ หลังผ่านการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง เชื้อไวรัสในหลอดทดลองแบบสะอาดถูกกำจัดหมด ส่วนในหลอดทดลองแบบสกปรก เชื้อไวรัสยังมีชีวิต และสามารถเริ่มการแพร่เชื้อใหม่ได้ แม้ว่าฤทธิ์ของเชื้อจะลดลงก็ตาม ศาสตราจารย์เรมี ชาเรล หัวหน้าคณะนักวิจัย