บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม 7, 2012

รูปแบบของการบริหาร

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2545) แบ่งรูปแบบการบริหาร ตามวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งหน่วยงานไว้ 6 รูปแบบ ดังนี้ 1.การบริหารรัฐกิจ หมายถึงการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐ (public administration) หรือการบริหารภาครัฐ มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้ง คือ การให้บริการสาธารณะ (public services) ซึ่งครอบคลุมถึงการอำนวยความสะดวก การรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ เป็นต้น การบริหารส่วนนี้เป็นการบริหารของหน่วยงานของภาครัฐ (public or governmental organization) ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เช่น การบริหารงานของหน่วยงานของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง กรม หรือเทียบเท่า การบริหารงานของจังหวัดและอำเภอ การบริหารงานของหน่วยการบริหารท้องถิ่น หน่วยงานบริหารเมืองหลวง รวมตลอดทั้งการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น 2.การบริหารธุรกิจ หมายถึงการบริหารงานของหน่วยงานภาคธุรกิจ (business administration) หรือการบริหารภาคเอกชนหรือการบริหารของหน่วยงานของเอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งเพื่อการแสวงหากำไร หรือการแสวงหากำไรสูงสุด (maximum profits) ในการท

สาระสำคัญของการบริหาร

สมพงศ์ เกษมสิน (2523) กล่าวว่า การบริหารมีสาระสำคัญหรือ ลักษณะเด่นเป็นสากลอยู่หลายประการ ดังนี้ 1. การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์ 2. การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบ 3. การบริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน 4. การบริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ 5. การบริหารเป็นการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มบุคคล 6. การบริหารอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคคล กล่าวคือ ความร่วมใจ (collective mind) จะก่อให้เกิดความร่วมมือของกลุ่ม (group cooperation) อันจะนำไปสู่พลังของกลุ่ม (group effort) ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ 7. การบริหารมีลักษณะการร่วมมือกันดำเนินการอย่างมีเหตุผล 8. การบริหารมีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ 9. การบริหารไม่มีตัวตน (intangible) แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ อ้างอิง สมพงศ์ เกษมสิน . (2523). การบริหาร . พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช .

แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการใช้งานเว็บบล็อก EDUTAINMENT SOCIETY BY THANIKA