บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน 12, 2020

การแพร่เชื้อตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดอาการ(Presymptomatic transmission)

#สำหรับประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การแพร่เชื้อตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดอาการ (Presymptomatic transmission) ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา 5/4/63 รายงานสืบสวนสอบสวน Morbidity and Mortality Weekly Report 1 เมษายน 2563  เป็นรายงานจากประเทศสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 23 มกราคม จนถึง 16 มีนาคม 2563 ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการแพร่จากคนที่ติดเชื้อ ก่อนที่จะเกิดอาการ ไปให้ผู้อื่น (นอกจากนั้นในหลายรายงานทั่วไปและในประเทศจีน เกาหลีพบคนที่แพร่เชื้อโดยที่ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้นจำนวมมากขึ้นและเป็นเป้าหมายหลักในการที่จะจำกัด กำจัดการแพร่ให้ได้ชะงัด และระวังไม่ให้แพร่เข้ามาในสถานพยาบาล) จากรายงานนี้พบ 7 กระจุก (cluster) ของผู้ติดเชื้อ ที่แพร่ไปสู่ผู้อื่น ก่อนที่ตนเองจะมีอาการ  กระจุก A  ผู้หญิงอายุ 55 ปี A1  ผู้ชายอายุ 56 A2 นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางมาถึงประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 19 มกราคมได้ประกอบกิจกรรม ที่โบสถ์ในวันนั้น  A1 มีอาการวันที่ 22 และA2 มีอาการวันที่ 24 ผู้ป่วย A3 A4 A5 ที่ได้ไปโบสถ์ในวันเดียวกันมีอาการวันที่ 23 และ 30 มกราคมและ 3 กุมภาพันธ์  การแพร่ที่เกิดขึ้นในอีก 6 กระจุก มีล

โควิด-19 ในเด็ก

โควิด-19 ในเด็ก คงหนีไม่พ้นโคโรนา จากในบทความก่อนเรื่องโควิด-19 ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งพบว่าไม่ได้มีความเสี่ยงติดเชื้อในปอดรุนแรงกว่าคนทั่วไป แต่อาจจะทำให้คลอดออกมาก่อนกำหนด วันนี้มาที่เด็กน้อยกันบ้าง จากข่าวที่ออกมาช่วงแรกว่ามีเด็กแรกเกิดติดจากแม่บ้าง จากพี่เลี้ยงบ้าง แล้วสรุปเด็กติดง่ายกว่าผู้ใหญ่ไหม แล้วถ้าติดจะป่วยหนักหรือจะตายเยอะกว่าผู้ใหญ่ไหม ก็จึงมาถึงการวิจัยเชิงระบาดวิทยา และเป็นการดูข้อมูลย้อนหลัง (retrospective) ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Pediatric หรือนิตยสารเด็ก เรื่อง Epidemiological Characteristics of 2143 Pediatric Patients With 2019 Coronavirus Disease in China ซึ่งก็คือการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก 2,143 คนที่ติดหรือสงสัยโควิด-19 ในประเทศจีน และก็เป็นการวิจัยแรกที่ดูการติดเชื้อโควิด-19 เฉพาะในเด็กอีกด้วย ในการศึกษานี้ได้รวมเคสมาจากทั่วประเทศจีนที่ได้รับรายงานมาสู่กรมควบคุมโรคระหว่าง 16 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2563 ใน 2,143 เคสไม่ใช่ทุกเคสที่ได้รับการตรวจโดยป้ายหลังคอ หรือหลังจมูกเพื่อส่งไปตรวจด้วยวิธีทางพันธุกรรม บางเคสประวัติใกล้ชิดคนเป็นโควิด-19 มีอาการเหมือน เช่น ไข้ ไอ

กัญชาไมโครโดส...หลักปฏิบัติที่สำคัญ

กัญชาไมโครโดส...หลักปฏิบัติที่สำคัญ   การใช้กัญชาที่ถูกหลักคือการใช้ขนาดน้อยที่สุดหรือที่เรียกว่าไมโครโดส ที่เราเรียกว่าใช้ปลายไม้จิ้มฟันแตะซอกฟัน เวลาเย็นหรือก่อนนอนเป็นการใช้ครั้งแรก และในวันต่อมาค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นทีละน้อย เช่น ไม้จิ้มฟันหักปลายจุ่มลงในน้ำมันกัญชาปาดส่วนเกินออก แตะที่ซอกฟัน (กรณีที่ไม่มีฟันจะใช้ดูดเอาก็ได้) การเริ่มต้นด้วยการหยดใต้ลิ้น ถ้าหยดถูกวิธีโดยไม่กลืนเป็นเวลาหนึ่งนาทีจะทำให้การดูดซึมค่อนข้างสมบูรณ์และออกฤทธิ์ได้เร็วภายใน 15 ถึง 45 นาทีก็ตาม แต่มักควบคุมขนาดของหยดไม่ได้และกลายเป็นได้ปริมาณมากเกินไปจนเกิดเมา การใช้ไม้จิ้มฟันแม้ว่าปริมาณที่ได้รับอาจไม่แน่นอนเพราะกลายเป็นการกินและการออกฤทธิ์อาจช้า โดยต้องรอถึง 1–4 ชั่วโมงก็ตาม แต่มีความปลอดภัยกว่ามาก และจะทำให้กลไกทั้งหลายที่พูดกันขณะนี้ นุ่มนวลขึ้น ไม่เมา แต่ในขณะเดียวกันอาจยังไม่เห็นผลทันที โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสมองเสื่อม การลดอาการเกร็งและในเรื่องของโรคพาร์กินสัน แม้ในเรื่องการนอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับขนาดทีละเล็กทีละน้อย โดยอาจจะต้องรอโดยใช้เวลาถึง 10-14 วัน เรื่องที่กัญชาทำให้ความดันต่ำ (ท

การใช้แอลกอฮอล์เป็นยา​ ตอน2

การใช้แอลกอฮอล์เป็นยา... สืบสาวจากโบราณกาล (ตอน 2) การใช้แอลกอฮอล์เป็นยาในรูปของไวน์ เบียร์ ยังมีต่อเนื่องมาตลอด แม้แต่โรงพยาบาลในกรุงลอนดอนจนถึงศตวรรษที่ 18 โดยที่ระยะหลังเริ่มรับรู้ถึงประโยชน์และโทษซึ่งขึ้นกับปริมาณ ทั้งนี้ การที่ให้ตระหนักถึงปริมาณได้มีการชี้ให้เห็นตั้งแต่สมัย Paracelsus (1493-1591) มาก่อน แต่ถึงกระนั้นในยุคนั้นยังมีการใช้แอลกอฮอล์เป็นยาเช่น David Hume มีอาการสติแตกยังได้รับการรักษาด้วยสูตรตำรับ “ชาวบ้าน” มีเครื่องยาเป็นแอลกอฮอล์ และน้ำโทนิคยังเป็นสูตรให้เด็กๆที่ไม่สบายในสมัยนั้น ต่อมาสูตรเครื่องดื่ม-ยา มีคู่แข่งเป็นชาจากเอเชียจัดเป็นของ “มหัศจรรย์” ใหม่ แต่แม้จะมีคู่แข่ง ความที่สามารถปรับรสปรุงสูตรได้มากหลายจนเกิดตำรับ น้ำกลั่น “จูนิเปอร์” (Juniper) มาจากเจนิวา หรือ “จิน” (Gin) นั่นเอง และใช้ในอังกฤษรักษาอาการทางกระเพาะ โรคเกาต์ นิ่วในถุงน้ำดี โรคตับ ไต หัวใจ ทั้งนี้เป็นจากการที่กษัตริย์วิลเลียมแห่งออเรนจ์นำจากฮอลแลนด์ บันทึกของหมอไอริช ดร.Robert Bentley Todd ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ที่ King’s College ลอนดอน กล่าวว่า จินช่วยเสริมกระบวนการให้หายป่วยตามธรรมชาติ ความที่จิน

การใช้แอลกอฮอล์เป็นยา ตอน1

การใช้แอลกอฮอล์เป็นยา...สืบสาวจากโบราณกาล (ตอน 1) กาเลน (Galen) สมัยคริสตกาล 130-210 กล่าวไว้ว่า “ไวน์ช่วยดูแลประคับประคองเราจนแก่เฒ่า” เรื่องเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ประสานสนิทแนบแน่นกับคนเรา ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ รวมทั้งความเชื่อทางการรักษา ถูกนำมาใช้ในช่วงเวลาฉลองรื่นเริงและอีกมากมาย การนำมาใช้เพื่อเป็นยาในการรักษาโรคมีประวัติยาวนานเก่าแก่และปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในวัฒนธรรมของเชื้อชาติต่างๆทั่วโลก บทความนี้รวบรวมโดย Steven Rourke ในสื่อ Medscape ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ใช้ในการอ้างอิงและช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ เริ่มกันเลยตั้งแต่ 6,000-7,000 ปีก่อนคริสตกาลมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเหนียวในเมืองจีนตอนเหนือ ซึ่งน่าจะเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดแล้วของแอลกอฮอล์ ในนั้นบรรจุด้วยไวน์ที่ทำจากข้าวและปรุงแต่งด้วยน้ำผึ้งและองุ่น Yao jiu เป็นการใช้แอลกอฮอล์มาเป็นยา และแตกต่างจากประเภทที่ได้จากการหมัก (Huang jiu) และที่ได้จากการกลั่น (Bai jiu) และนำมาใช้รวมทั้งมีตำรับแต่โบราณในการใช้ ซึ่งต้องขึ้นกับ เพศ อายุ และสถานการณ์ภาวะที่ผิดปกติว่าเป็นเช่นไร ในเครื่องยาจีนสม

การใช้น้ำเหลืองในผู้ป่วยที่หายจาก โควิด 19

รูปภาพ
การใช้น้ำเหลืองในผู้ป่วยที่หายจาก โควิด 19 : ข้อสังเกตุและความหวัง ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา 12/4/63 ความจริงคือว่า เราใช้น้ำเหลืองจากคนที่หายมาใช้ในคนป่วยมาแล้ว ในประเทศไทย แต่ไม่ได้ผล ที่ไม่ได้ผล เพราะน้ำเหลืองต้อง มีฤทธ์หรือความแรง (titer) ในการทำลายไวรัส (neutralizing antibody) อยู่ที่ระดับที่กำหนด จึงอาจจะใช้ได้ผล ปกติการใช้สารสกัดน้ำเหลืองจากคนปกติมีมานานแล้ว การนำมาใช้ที่พบว่ามีประโยชน์จริงและใช้กันทั่วโลกอย่างน้อยตั้งแต่ 1989 คือเอาน้ำเหลืองของคนที่ปกติ หลาย 100 หลาย 1000คน มาเลือกแต่ตัวภูมิคุ้มกัน แบบ IgG  และไปรักษาโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันแปรปรวนต่างๆ ตั้งแต่โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน โรค พุ่มพวงราคา ประมาณ 200,000 ถึง 300,000 บาทต่อครั้งที่ทำการรักษา ถือเป็นยาใช้สำหรับภาวะวิกฤต โดยต้องใช้ยาอย่างอื่นต่อและเป็นที่เราเรียกว่าน้ำเหลืองดีมารักษาน้ำเหลืองเสีย การใช้น้ำเหลืองในเรื่องของโควิด 19 ต่างกันคือนำไปใช้ฆ่าเชื้อไวรัส แต่กระบวนการและวิธีการคล้ายกันที่ต้องนำน้ำเหลืองของคนที่หายแล้ว และแยกส่วน IgG ที่มีฤทธ์เฉพาะในการฆ่าไวรัสเท่านั้นมาใช้ แนวคิด