บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน 26, 2017

เช็คลิสต์ท่านเป็นโรคบีบีดีหรือไม่

รูปภาพ
การสังเกตว่าเป็นโรคบีดีดีหรือไม่นั้นดูว่ามีความคิดแก้ไขส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือไม่ ร่วมกับมี ความกังวล ว่า  1. คนอื่นจะเห็นความผิดปกติของตัวเอง  2. พยายามปกปิดส่วนนั้นของร่างกายไว้  3. ส่องกระจกตรวจสอบความผิดปกติบ่อยครั้ง  4. หลีกเลี่ยงการส่องกระจกหรือเงาสะท้อน   5. พยายามอย่างมากที่จะแก้ไขความผิดปกติ  หากมีข้อใดข้อหนึ่งควรปรึกษาจิตแพทย์ 

โรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder :BDD ) หรือโรคคิดหมกมุ่น

รูปภาพ
โรคอยากสวยอยากผอมจนป่วยจิต โรคเสพติดศัลยกรรมจนป่วยจิต โรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder :BDD ) หรือโรคคิดหมกมุ่น เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคบีดีดี (Body Dysmorphic Disorder :BDD ) หรือโรคคิดหมกมุ่น การให้คุณค่าในรูปลักษณ์ของตนเองมากเกินไป คาดหวัง ไม่ยอมรับรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่จนเกิดความทุกข์ เครียด วิตกกังวลซ้ำซาก ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น   ซึ่งเกิดจากค่านิยมความงาม ความเชื่อทางสังคม น่าห่วงเพราะอาจทำให้อัตราป่วยซึมเศร้าสูงขึ้น เนื่องจากกระแสสังคมเรื่องความงามทั่วโลกคือทำให้ตัวเองดูดีขึ้นผ่านการโฆษณา ปัง เป๊ะ เว่อร์ เหมือนกับพรีเซนเตอร์ พยายามหาจุดตำหนิซ้ำๆ ปัจจุบันพบผู้ป่วยร้อยละ 1.7 เป็นเพศหญิงร้อยละ1.9 ผู้ชายร้อยละ 1.4 ที่น่าห่วงที่สุดคือผู้ที่ทำแล้วผลไม่เป็นไปตามที่หวัง ยิ่งกังวล ความเครียดจากการคิดหมกมุ่น กว่าร้อยละ 90 มีภาวะซึมเศร้า เก็บตัว หลีกหนีสังคม ร้อยละ 70 มีภาวะเครียดรุนแรง ร้อยละ20 มีการทำร้ายตัวเองในที่สุด  ด้าน นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผอ.รพ.จิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ จ.นครสวรรค์ กล่าวว่า