บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน 29, 2015

ถึงเวลารื้อระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแล้วหรือยัง?

loading... ถึงเวลารื้อระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแล้วหรือยัง? โดย ฐานิกา บุษมงคล พยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2558 ได้เกิดคดีสะเทือนขวัญ ผู้ป่วยจิตเวชได้สังหารเด็ก 5 ศพ เป็นเรื่องราวที่สะเทือนใจทั้งครอบครัว และคนในสังคม บล็อก EDUTAINMENT SOCIETY BY THANIKA จึงต้องเขียนบทความเรื่องนี้ไว้ เผื่อจะเป็นบทเรียน และง่ายในการสืบค้น เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับวงการสาธารณสุขไทยโดยตรง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ต้องขอออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช จึงเขียนตามความเห็นในเชิงของการบริหารตามสาขาที่ตนเองร่ำเรียนมา บทนำ บทเรียนราคาแพงของสังคมไทย ซึ่งมีทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว การที่มีอาชญากรรมเกิดขึ้นมากมายในสังคมไทยนั้น หากวิเคราะห์ให้ดี อืม ว่าแต่เป็นหน้าที่ของใครดีล่ะคะ ที่จะต้องทำงานนี้ ต่อค่ะ ถ้าวิเคราะห์ให้ดี เราจะพบว่าเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจและสังคม  และ พันธุกรรม ฯลฯ ที่บ่มเพาะมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ ให้เป็นคนจิตป่วย ลักษณะของคนเหล่านี้ โดยสังเขป    1 มีพละกำลังที่มากกว่าคนทั่วไป ไม่กิน ...

โรคไข้หูดับ'แพร่จากหมูสู่คนได้

รูปภาพ
โรคไข้หูดับ'แพร่จากหมูสู่คนได้ จัดเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ในไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดเวทีประชุมเรื่อง "แนวทางการจัดการโรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ของประเทศไทย" ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา โดยมี รศ.นสพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ นักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานสถานการณ์โรค "สเตรปโตคอกคัส ซูอิส" ในไทย พร้อมกันนี้ สกว.ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ อย. กรมปศุสัตว์ สำนักอนามัย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ฯลฯ พัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดการความเสี่ยงของโรคปัจจุบันพบการระบาดของโรคสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ในอีกหลายประเทศของทวีปเอเชีย เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนาม สำหรับประเทศไทย มีรายงานการติดเชื้อตั้งแต่ในปี พ.ศ.2550 โดยพบผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 150 ราย มีอัตราการเสียชีวิตจำนวน 23 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือ และจากการสำรวจข้อมูลในปี 2558 ไทยมีผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น จากร้อ...

เตือนระวัง‘มือ เท้า ปาก’

รูปภาพ
เตือนระวัง‘มือ เท้า ปาก’ นางวิมลรัตน์ เศรษฐอนันต์ ผู้อำนวยการเขตพระโขนง เผยว่า เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเวลาเข้าสู่ฤดูฝน อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสมือ เท้า ปาก เอนเทอโรไวรัส 71 (EV71) สายพันธุ์ที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงของโรค คือ เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากยังมีภูมิต้านทานไม่เต็มที่ เขตจึงขอให้ศูนย์เด็กเล็กและผู้ปกครองดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รักษาความสะอาดทั่วไปและสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหาร และหลังขับถ่ายทุกครั้ง รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร และไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน ขวดนม ร่วมกับผู้อื่น ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้นหมั่นล้างมือบ่อยๆ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว เมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ ล้างทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้และเครื่องเล่นภายในศูนย์เด็กฯ หรือโรงเรียนเป็นประจำ โดยเฉพาะห้องน้ำเพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค โดยเด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการเป็นไข้อ่อนเพลีย เจ็บปาก และเบื่ออาหารมีแผลอักเสบที่ลิ้น เ...