บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม 10, 2016

ถั่วดีต่อสุขภาพหัวใจ

รูปภาพ
by supachai triukose,  ถั่วดีต่อสุขภาพหัวใจ เมื่อกินถั่วแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพราะถั่วช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังมีการศึกษาหนึ่งพบว่า เมื่อบริโภค 20% ของแคลอรีในอาหารไขมันต่ำมาจากวอลนัต ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง 12% ส่วนถั่วอัลมอนด์และพีคอนก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ถั่วยังมีสารอาหารอีกหลายตัวที่อาจช่วยในป้องกันเบาหวาน มะเร็งและโรคหัวใจ ได้แก่สารเบต้าไซโตสเทียรอล มีองค์ประกอบที่คล้ายกับโคเลสเตอรอลที่พบตามธรรมชาติในพืช สารชนิดนี้ช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (แอลดีแอล) และโคเลสเตอรอลรวม โดยการยับยั้งการดูดซึมซับโคเลสเตอรอล สารอาจินีน (arginine) เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นโครงสร้างของโปรตีนทำหน้าที่ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระไม่ให้ทำลายเนื้อเยื่อร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระเกิดขึ้นในกระบวนการเมตาโบลิซึมและเมื่อร่างกายเกิดการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ สารต้านอนุมูลอิสระยังทำหน้าที่สำคัญในการลดการอักเสบซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ สัมพันธ์กันกับเบาหวาน มะเร็ง และกระบวนชราภาพของร่างกาย

โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

รูปภาพ
by supachai triukose โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วย