บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน 29, 2010

การฉีดยา

การฉีดยา (ฐานิกา  บุษมงคล)        คนส่วนใหญ่มักจะกลัวเข็มฉีดยา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือ ผู้ใหญ่ บางคนกลัวเข็มเลยพาลกลัวหมอ กลัวพยาบาล จนกระทั่งกลัวโรงพยาบาลไปเลยก็มี แต่จริงๆแล้วตัวคุณหมอเองก็ไม่ได้อยากจะฉีดยาผู้ป่วยสักเท่าไหร่ แต่ที่ต้องฉีดก็เพราะ ยากินได้ผลช้า หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็ว ทันท่วงทีในการช่วยชีวิตและบรรเทาอาการเจ็บป่วย  สำหรับนักศึกษาพยาบาลแล้ว เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเรียนเรื่องการฉีดยา ทุกคนก็เต็มไปด้วยความตื่นเต้น เพราะครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรียนทฤษฎีในห้องเรียน หรือฝึกปฏิบัติกับหุ่นในห้องปฏิบัติการ(LABORATORY) แต่ต้องฉีดยากันเอง เมื่อถึงวันที่ต้องฉีดยากันเอง บรรยากาศในวันนั้นอาจารย์ก็ทั้งขำ ทั้งสงสารนักศึกษา เพราะว่าบางคนก็ตื่นเต้นจนหน้าซีด มือเย็นเฉียบ เป็นลม หรือร้องไห้ ที่ตลกไปกว่านั้นคือคนโดนฉีดไม่ร้องไห้ แต่คนที่ฉีดเพื่อนดันร้องไห้ซะเอง พออาจารย์ถามนักศึกษาตอบว่า สงสารเพื่อน กลัวเพื่อนเจ็บ อือ แบบนี้พอเรียนจบไป น่าจะเป็นคุณพยาบาลที่อ่อนหวาน ใจดีกับผู้ป่วยนะคะ      ...

DM

1. DM ย่อมาจาก Diabetes mellitus ความหมาย  โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ อ่านเพิ่มเติมคลิก http://th.wikipedia.org/wiki/Diabetes_mellitus 2. โรคเบาหวานที่พบในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคเบาหวาน ชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin dependent diabetes mellitus, IDDM) และโรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (non insulin-dependent diabetes mellitus, NIDDM)  อ่านเพิ่มเติมคลิก http://www.panyathai.or.th/

การ draw ยาจาก ampule

วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุหลอด (Ampule) 1. ทำความสะอาดรอบคอหลอดยา และใบเลื่อยด้วยสำลีชุบอัลกอฮอล์ 70% 2. เลื่อยรอบคอหลอดยาพอเป็นรอย โดยคลี่สำลีชุบอัลกอฮอล์รองหลังคอหลอดยา ถ้ามียาค้างอยู่เหนือคอหลอดยาต้องไล่ยาลงไปอยู่ส่วนใต้คอหลอดยา ถ้าหลอดยามีแถบสีที่คอหลอดยาไม่จำเป็นต้องเลื่อยคอหลอดยา 3. เช็ดรอบคอหลอดยาด้วยสำลีชุบอัลกอฮอล์ 4. คลี่สำลีชุบอัลกอฮอล์ หรือก๊อซที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วหุ้มรอบบริเวณคอหลอดยาเพื่อป้องกันหลอดยาที่หักปลายแล้วบาดนิ้วมือ แล้วทำการหักหลอดยา วางหลอดยาที่หักปลายแล้วในบริเวณที่ไม่ถูกปนเปื้อน 5. แก้ห่อกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน 6. สวมหัวเข็มสำหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ 7. ถอดปลอกเข็มออก จับหลอดยาด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างที่ถนัด สอดเข็มเข้าหลอดยา ระวังมิให้เข็มสัมผัสกับด้านนอกและปากหลอดยา 8. เอียงหลอดยาให้ปลายตัดเข็มจุ่มในน้ำยา ดูดยาตามจำนวนที่ต้องการ 9. ตรวจสอบชื่อยาบนหลอดยาอีกครั้งหนึ่งก่อนทิ้งหลอดยา 10. เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยานั้น ๆ 11. ถ้...

การฉีดอินซูลินด้วยตนเอง