การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด
ฐานิกา บุษมงคล. 2550. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤต ไอซียูศัลยศาสตร์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการศึกษา อิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาอิสระ: รองศาสตราจารย์วิภาพร วรหาญ
บทคัดย่อ
การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤต ไอซียูศัลยศาสตร์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอาศัยการค้นคว้าตำรา เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้การจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤต ได้ร่างมาตรฐานการพยาบาลเชิงกระบวนการและเชิงผลลัพธ์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน นำไปปรับแก้และตรวจสอบความตรงตามความสัมพันธ์ตามแนวคิดเมสัน ก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤตไอซียูศัลยศาสตร์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯจำนวน 20 คน ระหว่างวันที่ 1ถึง28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและการพิจารณาความสัมพันธ์ของข้อความมาตรฐานเชิงกระบวนการกับมาตรฐานเชิงผลลัพธ์
ผลการศึกษาได้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤตจำนวน 3 มาตรฐานใหญ่ 12 มาตรฐานย่อย คือ
มาตรฐานที่ 1 วิธีปฏิบัติการรับผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด
มาตรฐานที่ 1.1 การเคลื่อนย้ายและการจัดท่า
มาตรฐานที่ 1.2 การ Monitor และการต่ออุปกรณ์ต่างๆ
มาตรฐานที่ 1.3 การบริหารยา/สารน้ำ/เลือด/ส่วนประกอบของเลือด
มาตรฐานที่ 1.4 การประเมินสภาพเมื่อแรกรับ
มาตรฐานที่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤต
มาตรฐานที่ 2.1 ผู้ป่วยมีปริมาณการสูบฉีดโลหิตที่ออกจากหัวใจอย่างเพียงพอ
มาตรฐานที่ 2.2 ผู้ป่วยมีการหายใจที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
มาตรฐานที่ 2.3 ผู้ป่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
มาตรฐานที่ 2.4 ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะติดเชื้อ
มาตรฐานที่ 2.5 ผู้ป่วยปลอดภัยจากการเกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดในสมอง ปอด และอวัยวะส่วนปลาย
มาตรฐานที่ 2.6 ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะไตวาย
มาตรฐานที่ 3 การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมก่อนย้ายออกจากไอซียูศัลยศาสตร์
มาตรฐานที่ 3.1 การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด ด้านจิตใจ อารมณ์และสังคมก่อนย้ายออกจากไอซียูศัลยศาสตร์
มาตรฐานที่ 3.2 การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด ด้านร่างกายก่อนย้ายออกจากไอซียูศัลยศาสตร์
จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารการพยาบาล ว่าควรประกาศนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤตในการนิเทศงาน จัดอบรม หรือส่งพยาบาลวิชาชีพไปอบรมเพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะทางด้านการสร้างมาตรฐานการพยาบาลและการนำมาตรฐานการพยาบาลไปใช้ นำมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดระยะวิกฤตที่สร้างขึ้น ไปเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในไอซียูศัลยศาสตร์ และจัดให้มีการทบทวนมาตรฐานการพยาบาลที่สร้างขึ้นมาใช้ทุก1-2 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติการพยาบาลยิ่งขึ้น
Thanika Busmongkhol. 2007. The Development of Nursing Standards for the Critical Open Heart Surgery Patients in Queen Sirikit Heart Center of the Northeast. An Independent Study Report for the Master of Nursing Science in Nursing Administration, Faculty of Nursing, Khon Kaen University.
Independent Study Advisors: Assoc.Prof.Wiphaporn Vorahan
ABSTRACT
The objective of this independent study was to development of nursing standards for the critical open heart surgery patients in intensive care unit Queen Sirikit Heart Center of the Northeast. The process and outcome standards was developed by reviewing literature and group discussion according to the critical open heart surgery patient nursing standard conferences and operation workshop at Queen Sirikit Heart Center of the Northeast. The standard was validated, it’s content by 5 specialists and it’s criterion-related validity was tested by applying for the providing nursing care to 20 patients, from 1- 28 February 2007
The result of this study showed three nursing standards for the critical open heart surgery patients in Queen Sirikit Heart Center of the Northeast that are summarized as follow:
Standard 1 nursing instruction for admit the critical open heart surgery patients to intensive care unit
Standard 1.1 moving and positioning
Standard 1.2 monitoring and connecting the medical equipment
Standard 1.3 drugs/ fluid/ blood/ blood component administration
Standard 1.4 assessments
Standard 2: nursing care for prevention and monitoring the complication
Standard 2.1 the patients regain normal range of cardiac output
Standard 2.2 the patients maintain normal respiratory
Standard 2.3 the patients obtain pain relief
Standard 2.4 the patients experience no infection
Standard 2.5 the patients experience no embolism
Standard 2.6 the patients experience no renal failure
Standard 3 nursing care before transfer the patients to ward
Standard 3.1 mind emotion and social preparing before transfer the patients to ward
Standard 3.2 physical preparing before transfer the patients to ward
Suggestions from this study are nursing administrators who should state the application of nursing standards for critical open heart surgery patients and for nursing supervision as a policy in the unit. The standards should be revised in order to create an efficient nursing standard every 1-2 years for the benefit of the patient and nursing profession.
ความคิดเห็น