การใช้เครื่องช่วยหายใจ Bird respirator

การใช้เครื่องช่วยหายใจ (Respirator)
โดย นิธิพัฒน ์ เจียรกุล

เครื่องช่วยหายใจที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะเป็น Bird respirator ชนิด ควบคุมด้วย ความดัน (pressure-cycled) ในที่นี้จะแบ่งการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็น 4 ส่วน คือ

1. การเริ่มใช้เครื่องช่วยหายใจ

2. การปรับเครื่องช่วยหายใจ

3. การแก้ไขปัญหาที่พบบ่อยในระหว่างการใช้เครื่องช่วยหายใจ

4. การ wean และการหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจ

ข้อบ่งชี้

เพื่อเริ่มการใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้เพียงพอ หรือมีการแลกเปลี่ยน แก๊ส ผิดปกติมาก

อุปกรณ์
1. เครื่องช่วยหายใจพร้อมสายต่อและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ

2. Spirometer สำหรับวัด tidal volume

วิธีการ

1. เมื่อต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิด assist/control ให้ ทำตามขั้นตอนดังนี้

1.1 ตั้งปุ่ม starting effort ทางด้านซ้ายมือของเครื่องให้อยู่ที่ขีด 20

1.2 ตั้งปุ่ม pressure limit ทางด้านขวามือของเครื่องให้อยู่ที่ขีด 20

1.3 ใช้ฝาปิดช่องสำหรับดูดอากาศภายนอกเข้าไปผสม (air mix control) ที่อยู่ใต้ปุ่ม starting effort เพื่อให้แก๊สที่เข้าสู่ผู้ป่วยเป็นออกซิเจน 100 % สำหรับในรายที่ไม่ภาวะพร่องออกซิเจนรุนแรง ให้เปิดช่องนี้ไว้เพื่อให้แก๊ส เป็นออกซิเจนผสมกับอากาศภายนอก

1.4 หมุนปุ่ม inspiratory flow rate ที่อยู่ส่วนบนทางด้านหน้าของเครื่องให้อยู่ในตำแหน่งประมาณ 12 นาฬิกา

1.5 เปิดปุ่มการทำงานของเครื่องที่อยู่ทางด้านบน

1.6 ปรับ ปุ่ม controlled expiratory time ที่อยู่ส่วนล่างทางด้านหน้าของเครื่อง โดยใช้การ ฟังเสียงหายใจเข้าออกให้เหมาะสม ( สัดส่วนเวลาหายใจออกยาวประมาณ 2 เท่าของหายใจเข้า ) และให้ได้อัตราการหายใจ 12-16 ครั้งต่อนาที

1.7 ต่อปลายสายเครื่องช่วยหายใจเข้ากับท่อหลอดลมของผู้ป่วย

1.8 ใช้ spirometer วัด tidal volume ที่ exhalation valve ซึ่งอยู่ บริเวณปลายสายเครื่องช่วยหายใจก่อนถึงท่อหลอดลมของผู้ป่วย โดย tidal volume ที่ต้องการประมาณ 10 มล . ต่อน้ำหนักตัวของผู้ป่วย 1 กก . ถ้าต้องการเพิ่ม tidal volume ให้ปรับปุ่ม pressure limit ให้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เข็มที่หน้าปัทม์ของเครื่องขึ้นไปสูงเกินขีด 35 ซม . น้ำ ในทางตรงข้ามถ้าต้องการลด tidal volume ให้ปรับปุ่มไปในทางน้อยลง โดย อาจต้องปรับปุ่ม inspiratory flow rate ร่วมด้วย เพื่อให้ได้สัดส่วนเวลาการหายใจที่เหมาะสม

2. หลังจากใช้เครื่องช่วยหายใจ ต่อเนื่อง ไปอย่างน้อย 15 นาที ให้ทำการตรวจแก๊สในเลือดแดงเพื่อ ประเมินผล สำหรับ ใช้ในการปรับ เครื่องช่วยหายใจ กล่าวคือ

2.1 ถ้าต้องการเพิ่มหรือลด tidal volume ให้ปรับปุ่ม pressure limit

2.2 ถ้าต้องการเพิ่มหรือลดอัตราการหายใจ ให้ปรับปุ่ม controlled expiratory time หลังปรับแล้ว 15 นาที ให้ทำการตรวจแก๊สในเลือด แดง ซ้ำอีกครั้งเพื่อตรวจสอบว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่

3. ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจไประยะหนึ่ง ได้แก่

3.1 ผู้ป่วยออกแรงหายใจมากกว่าหนึ่งครั้งจึงสามารถ trigger ให้เครื่องช่วยหายใจ ทำงาน หนึ่งครั้ง ใ นกรณีนี้ใ ห้ปรับปุ่ม starting effort ไปในทางลดลง

3.2 ผู้ป่วยหายใจไม่สัมพันธ์กับเครื่อง อาจเกิดได้จาก

3.2.1 ปัจจัยทางด้านผู้ป่วย เช่น หลอดลมตีบ เสมหะอุดตัน ภาวะ โพรงเยื่อหุ้ม ป อด มีอากาศ (pneumothorax) หรือ ความต้องการหายใจเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น

3.2. 2 ปัจจัยทางด้านเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ เช่น ท่อหลอดลมอุดตันหรือเลื่อนตำแหน่ง สายเครื่องช่วยหายใจหักพับ การตั้งเครื่องช่วยหายใจไม่เหมาะสม หรือ เครื่องช่วยหายใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น ถ้า เกิดปัญหา ดังกล่าวข้างต้น ให้ปลดเครื่องช่วยหายใจ ออก แล้ว ช่วยหายใจโดยใช้ Ambu TM bag ในระหว่างนั้นให้ทดลองดูดเสมหะในท่อหลอดลมจนแน่ใจว่าไม่มีการอุดตัน แล้วจึง ต่อเครื่อง ช่วยหายใจ กลับเข้าไปใหม่ หาก ยังไม่ดีขึ้น ค่อยๆ ตรวจสอบหาสาเหตุดังที่กล่าวมาแล้ว

3.3 เสียงเครื่องช่วยหายใจ กระชั้น กว่าเดิมและวัด tidal volume ได้ลดลง เกิดได้จาก

3.3.1 มีแรงต้านในตัวผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เช่น เสมหะอุดตัน หลอดลมตีบ ปอดบวมน้ำ เนื้อปอด แฟบ (atelectasis) หรือภาวะ โพรงเยื่อหุ้มปอด มีอากาศ เป็นต้น

3.3.2 มีแรงต้านนอกตัวผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เช่น การหักงอตั้งแต่ท่อหลอดลมมาจนถึงสายต่อเครื่องช่วยหายใจ หรือ น้ำ ที่ ค้างอยู่ ในสายต่อท่อเครื่องช่วยหายใจ มีปริมาณ มาก เป็นต้น ถ้า ไม่พบ สาเหตุดังกล่าวข้างต้นให้ตรวจสอบ และตั้งเครื่อง ช่วยหายใจใหม่
3.4 เสียงเครื่องช่วยหายใจ ห่าง กว่าเดิม เป็นผลจากแรงดันอากาศเข้าสู่ผู้ป่วยลดลง ปัญหาเกิดจาก ลูกโป่งที่ท่อหลอดลม รั่ว สายต่อต่างๆ ของเครื่องช่วยหายใจเลื่อนหลุด หรือ exhalation valve ปิดไม่สนิท ถ้า ไม่พบ สาเหตุดังกล่าว ให้ตรวจสอบ และตั้งเครื่องช่วยหายใจใหม่

4. พิจารณา wean ผู้ป่วยจากเครื่องช่วยหายใจ เมื่อ

4.1 โรคที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

4.2 การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตคงที่โดยไม่ใช้ยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตหรือใช้ยาในขนาดต่ำ

4.3 ระดับของออกซิเจนในเลือดแดงมากกว่า 60 มม . ปรอท ขณะใช้ air mix หรือความเข้มข้นออกซิเจน 40 %
4.4 การทำงานของศูนย์หายใจปรกติ เช่น ไม่ได้รับยากดประสาทส่วนกลางขนาดสูง ไม่มีภาวะดุลกรด-ด่างที่ผิดปกติมาก เป็นต้น


ตัวชี้วัดที่บ่งถึงความพร้อมของผู้ป่วยที่จะหายใจได้ด้วยตัวเอง ได้แก่

- tidal volume มากกว่า 5 มล./กก.

- จำนวนครั้งของการหายใจต่อ 1 นาที หารด้วย tidal volume (ลิตร) มีค่ามากกว่า 105 ( หลังจากให้ผู้ป่วยหายใจผ่าน T - piece ด้วยตัวเอง 2 นาที )

การ wean
ควรเริ่มในช่วงเช้าหลังให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยประจำวันแล้ว โดยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหัวสูงประมาณ 60 องศา 
นับอัตราการหายใจ ชีพจร และวัดความดันโลหิตก่อนเริ่มการหายใจเอง 
ดูดเสมหะในท่อหลอดลมให้เรียบร้อย 
เริ่มให้ผู้ป่วยหายใจผ่าน T - piece โดยปรับอัตราการไหลของออกซิเจน ขนาด 1- 5 ลิตร/นาทีและไม่ต้องต่อ extension tube ให้ได้ความอิ่มตัวของออกซิเจนจากชีพจรประมาณ 92-95% แต่ถ้ายังไม่ได้ระดับที่ต้องการ  ให้ต่อ extension tube และเพิ่ม อัตราการไหลของออกซิเจน 

ติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของการหายใจ ชีพจร ความดันโลหิตและระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนของผู้ป่วยทุกๆ 5-10 นาที ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก ให้ผู้ป่วยหายใจเองต่อไปเรื่อยๆ

พิจารณาว่า wean สำเร็จและสามารถหยุดใช้เครื่องช่วยหายใจได้ เมื่อผู้ป่วยหายใจได้เองเป็นเวลานาน 30-120 นาทีขึ้นกับโรคเดิมของผู้ป่วยแต่ละราย 

ถ้า wean ไม่สำเร็จให้ผู้ป่วยพักโดยกลับไปใช้เครื่องช่วยหายใจ แล้วทดลองให้ผู้ป่วยหายใจเองใหม่ในวันรุ่งขึ้น
............................................................................................................
เอกสารประกอบ

1. McPherson SP . Respiratory care equipment, 5 th ed . Mosby, St . Louis , 1995:191-210.

2. นิธิพัฒน์ เจียรกุล . การ wean ผู้ป่วยออกจากเครื่องช่วยหายใจ . ใน : เวชบำบัดวิกฤต 2000 เล่ม 1, สุนีรัตน์ คงเสรีพงศ์, สุชัย เจริญรัตนกุล, บรรณาธิการ , เรือนแก้วการพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2543;279-285.

ที่มา
http://www.si.mahidol.ac.th/department/Medicine/home/chest/b06.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)