บันทึกทางการพยาบาล
บันทึกทางการพยาบาล
Nursing documentation หมายถึง ข้อมูลที่พยาบาลเขียน และ/หรือบันทึกในรูปของข้อมูลที่เป็นแบบฟอร์มเอกสาร (proforma) หรือ computerised recordingsเกี่ยวกับการปฏิบัติพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วย หรือบันทึกเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย
แบบบันทึกทางการพยาบาล ประกอบด้วย:
• บันทึกรายงานการพยาบาล (Nurse’s Note)
• แบบประเมินผู้ป่วย (Nursing Assessment Form)
• แบบฟอร์มการวางแผนการดูแลผู้ป่วย (Nursing Care Plan)
• แบบฟอร์มการวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
• บันทึกการวางแผนจำหน่าย (Discharge planning)
• แบบฟอร์มกิจกรรมการพยาบาล (Nursing Interventions)
• แบบบันทึกการบริหารยา (Medication records)
• แบบบันทึกการส่งต่อ (Patient transfer)
• อื่นๆ
ความสำคัญของบันทึกทางการพยาบาล
• เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในระบบประกันคุณภาพเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพทั้งด้านกฎหมายและ
คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาล
• เป็นดัชนีหนึ่งในการกำหนด nursing costs ในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์การบันทึกทางการพยาบาล
• เป็นข้อมูลแสดงข้อเท็จจริงในการตรวจรักษาหรือปฏิบัติการใดๆ ตลอดจนผลของการปฏิบัตินั้นๆ
• เป็นพยานหลักฐานในทางคดีความประเภท พยานเอกสาร
บันทึกทางการพยาบาลที่ดี จะต้อง:
• เป็นความจริงที่สมบูรณ์
• มีความชัดเจน อ่านออก
• เป็นความลับ
• มีความต่อเนื่อง
• มีลำดับวันที่ เวลา กำกับอย่างชัดเจน
• ใช้อักษรย่อที่เป็นสากล
• ลงนามผู้บันทึก หากแก้ไขต้องมีลายเซ็นกำกับ
• สามารถติดตามผลการรักษาพยาบาลได้ แสดงปัญหาและความก้าวหน้าของผู้ป่วย
แนวปฏิบัติการบันทึกทางการพยาบาล จะต้อง:
• บันทึกโดยพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง
• ระบุถึงการใช้กระบวนการพยาบาล เช่น Assessment (A), Implementation (I), Evaluation (E)
• แสดงให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการดูแลทางกาย จิต สังคมและมิติต่างๆของการดูแล ได้แก่ การรักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟู
• แสดงให้เห็นถึงน้ำหนักของงานพยาบาล (Nursing weights) ทั้งในด้านดูแลผู้ป่วย เช่นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยพยาบาล 1-2 คน การสอนโดยใช้เวลา 30 นาที และการประสานงานกับทีม
• แสดงให้เห็นถึง Patient-centered care ได้อย่างแท้จริง เช่นการบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยพูดหรือแสดงความรู้สึก
• แสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพในกรณีการรับคำสั่งทางโทรศัพท์ จะต้อง:
• กระทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยรายงานอาการผู้ป่วยให้ชัดเจน และ confirm คำสั่งเพื่อความมั่นใจทั้งผู้สั่งและผู้รับคำสั่ง
• บันทึกคำสั่งไว้ใน Nurse’s Note
• ติดตามให้แพทย์บันทึกคำสั่งภายใน 24 ชั่วโมง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบันทึกทางการพยาบาล
พยานประกอบด้วย:
• พยานบุคคล
• พยานวัตถุ
• พยานเอกสาร
• ผู้ชำนาญการพิเศษ
การปฏิบัติที่ไม่มีการบันทึก = ไม่ทำ
ป.อ.มาตรา 269
ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ป.อ.มาตรา 264
ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อเสนอแนะ
• บันทึกทางการพยาบาล ควรสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แท้ของผู้ป่วย
• บันทึกทางการพยาบาล ควรสะท้อนงานของพยาบาลที่ชัดเจน ทั้ง direct และ indirect care
• บันทึกทางการพยาบาล ควรเป็นส่วนหนึ่งของ Total Progress Note ที่ใช้ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้
• Word ควรมีการปรับแบบบันทึกที่เหมาะสมกับลักษณะงานของหน่วยนั้น ๆ
• ไม่คัดลอกลักษณะการบันทึกจากเวรเดิมโดยไม่คำนึงถึงปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างแท้จริง
• บันทึกทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงเสมอ ทั้งที่ได้กระทำและไม่ได้กระทำ พร้อมทั้งเหตุผล
• มีการ audit chart อย่างสม่ำเสมอ
สรุป
บันทึกทางการพยาบาล ควรแสดงให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างชัดเจน ทั้งนี้มาตรฐานของการบันทึกจะไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกด้วยมือหรือระบบ electronic นั่นคือ
การบันทึกจะต้องสมบูรณ์เที่ยงตรงตามเวลาที่เกิดขึ้น โดยระบุประเด็นการดูแล บุคคลที่ให้การดูแล
และชื่อผู้บันทึก
Nursing documentation หมายถึง ข้อมูลที่พยาบาลเขียน และ/หรือบันทึกในรูปของข้อมูลที่เป็นแบบฟอร์มเอกสาร (proforma) หรือ computerised recordingsเกี่ยวกับการปฏิบัติพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วย หรือบันทึกเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย
แบบบันทึกทางการพยาบาล ประกอบด้วย:
• บันทึกรายงานการพยาบาล (Nurse’s Note)
• แบบประเมินผู้ป่วย (Nursing Assessment Form)
• แบบฟอร์มการวางแผนการดูแลผู้ป่วย (Nursing Care Plan)
• แบบฟอร์มการวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
• บันทึกการวางแผนจำหน่าย (Discharge planning)
• แบบฟอร์มกิจกรรมการพยาบาล (Nursing Interventions)
• แบบบันทึกการบริหารยา (Medication records)
• แบบบันทึกการส่งต่อ (Patient transfer)
• อื่นๆ
ความสำคัญของบันทึกทางการพยาบาล
• เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในระบบประกันคุณภาพเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพทั้งด้านกฎหมายและ
คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาล
• เป็นดัชนีหนึ่งในการกำหนด nursing costs ในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์การบันทึกทางการพยาบาล
• เป็นข้อมูลแสดงข้อเท็จจริงในการตรวจรักษาหรือปฏิบัติการใดๆ ตลอดจนผลของการปฏิบัตินั้นๆ
• เป็นพยานหลักฐานในทางคดีความประเภท พยานเอกสาร
บันทึกทางการพยาบาลที่ดี จะต้อง:
• เป็นความจริงที่สมบูรณ์
• มีความชัดเจน อ่านออก
• เป็นความลับ
• มีความต่อเนื่อง
• มีลำดับวันที่ เวลา กำกับอย่างชัดเจน
• ใช้อักษรย่อที่เป็นสากล
• ลงนามผู้บันทึก หากแก้ไขต้องมีลายเซ็นกำกับ
• สามารถติดตามผลการรักษาพยาบาลได้ แสดงปัญหาและความก้าวหน้าของผู้ป่วย
แนวปฏิบัติการบันทึกทางการพยาบาล จะต้อง:
• บันทึกโดยพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง
• ระบุถึงการใช้กระบวนการพยาบาล เช่น Assessment (A), Implementation (I), Evaluation (E)
• แสดงให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการดูแลทางกาย จิต สังคมและมิติต่างๆของการดูแล ได้แก่ การรักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟู
• แสดงให้เห็นถึงน้ำหนักของงานพยาบาล (Nursing weights) ทั้งในด้านดูแลผู้ป่วย เช่นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยพยาบาล 1-2 คน การสอนโดยใช้เวลา 30 นาที และการประสานงานกับทีม
• แสดงให้เห็นถึง Patient-centered care ได้อย่างแท้จริง เช่นการบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยพูดหรือแสดงความรู้สึก
• แสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพในกรณีการรับคำสั่งทางโทรศัพท์ จะต้อง:
• กระทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยรายงานอาการผู้ป่วยให้ชัดเจน และ confirm คำสั่งเพื่อความมั่นใจทั้งผู้สั่งและผู้รับคำสั่ง
• บันทึกคำสั่งไว้ใน Nurse’s Note
• ติดตามให้แพทย์บันทึกคำสั่งภายใน 24 ชั่วโมง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบันทึกทางการพยาบาล
พยานประกอบด้วย:
• พยานบุคคล
• พยานวัตถุ
• พยานเอกสาร
• ผู้ชำนาญการพิเศษ
การปฏิบัติที่ไม่มีการบันทึก = ไม่ทำ
ป.อ.มาตรา 269
ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ป.อ.มาตรา 264
ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อเสนอแนะ
• บันทึกทางการพยาบาล ควรสะท้อนปัญหาและความต้องการที่แท้ของผู้ป่วย
• บันทึกทางการพยาบาล ควรสะท้อนงานของพยาบาลที่ชัดเจน ทั้ง direct และ indirect care
• บันทึกทางการพยาบาล ควรเป็นส่วนหนึ่งของ Total Progress Note ที่ใช้ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้
• Word ควรมีการปรับแบบบันทึกที่เหมาะสมกับลักษณะงานของหน่วยนั้น ๆ
• ไม่คัดลอกลักษณะการบันทึกจากเวรเดิมโดยไม่คำนึงถึงปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างแท้จริง
• บันทึกทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงเสมอ ทั้งที่ได้กระทำและไม่ได้กระทำ พร้อมทั้งเหตุผล
• มีการ audit chart อย่างสม่ำเสมอ
สรุป
บันทึกทางการพยาบาล ควรแสดงให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างชัดเจน ทั้งนี้มาตรฐานของการบันทึกจะไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกด้วยมือหรือระบบ electronic นั่นคือ
การบันทึกจะต้องสมบูรณ์เที่ยงตรงตามเวลาที่เกิดขึ้น โดยระบุประเด็นการดูแล บุคคลที่ให้การดูแล
และชื่อผู้บันทึก
ความคิดเห็น