ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์
บทที่ 1
ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์
โดย อาจารย์ฐานิกา บุษมงคล
คำว่า "มนุษยสัมพันธ์ " ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Human Relations เป็นคำประสมที่เกิดจากคำ 2 คำรวมกัน คือ มนุษย์ (Human) และ สัมพันธ์ (Relations)
มนุษย์ (Human) หมายถึง ลักษณะของความเป็นมนุษย์ คือ ผู้มีจิตใจสูง
สัมพันธ์ (Relations) หมายถึง ความผูกพัน เกี่ยวข้อง การติดต่อกัน ความเกี่ยวพันกัน
เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันเป็น "มนุษยสัมพันธ์" จึงมีความหมายถึงการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างคนที่อยู่ร่วมกันและมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นความ หมายกลางๆ แต่ในเชิงวิชาการของศาสตร์สาขาต่างๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ ็ได้มีการให้ความหมายของคำว่ามนุษยสัมพันธ์ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ด้านจิตวิทยา คำว่ามนุษยสัมพันธ์มีความหมายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกต่อกันในสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเอง
ด้านสังคมวิทยา มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การที่คนซึ่งอยู่ร่วมกันมีการโต้ตอบและมีการตอบสนองต่อกันและกัน ซึ่งอาจเป็นทั้งความสัมพันธ์ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้เช่น ความร่วมมือ การแข่งขัน การต่อต้าน การต่อสู้ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปมนุษยสัมพันธ์ มักจะใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และมักใช้ในความหมายถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความเป็นมา
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้นไม่สามารถระบุได้ว่าเริ่มเมื่อใด แต่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมก็ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อความมั่นคง ปลอดภัย และเพื่อความอยู่รอด ฯลฯ ดังได้กล่าวมาแล้ว ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการและเป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น มีการแข่งขันด้านธุรกิจมากขึ้น มนุษยสัมพันธ์เริ่มมีความสำคัญยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในองค์การต่าง ๆ เช่น องค์การอุตสาหกรรม องค์การธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการบริหารงานของนายจ้างนั้นต้องเกี่ยวข้องกับกับคนที่เป็นลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงาน ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์เริ่มเด่นชัดกลางศตวรรษที่ 19 คือ เริ่มเปลี่ยนแนวคิดการบริหารมาให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคล ทั้งนี้ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม นายจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมไม่เห็นความสำคัญของลูกจ้าง ไม่สนใจความต้องการ และอารมณ์ความรู้สึกของคน และไม่รู้ว่าความต้องการของคนมีอิทธิพลต่อผลผลิตอย่างสูง ผู้บริหารคิดแต่เพียงว่าแรงงานเปรียบเสมือนสินค้าสำหรับซื้อขาย คนก็กลายเป็นเครื่องจักรที่ต้องการทำงานตลอดเวลาโดยเขาไม่รู้ว่า คนต้องการพักผ่อน ต้องการความเห็นอกเห็นใจ และอื่น ๆ คนงานในสมัยนั้นต้องทำงานวันละหลายชั่วโมงได้รับค่าจ้างในอัตราต่ำ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี คนงานมีสุขภาพทรุดโทรมยากจน เจ็บป่วยเสมอ ทั้งนี้เพราะนายจ้างขาดความเห็นอกเห็นใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ สภาพการทำงานเลวร้ายลง ผลผลิตเสื่อมคุณภาพ โรงงานก็ประสบภาวะการขาดทุน
ต่อมาจึงมีการปฏิวัติอุตสหากรรม หลังการปฎิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ๆ แม้จะมีการจัดระบบงานที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังไม่ดีขึ้นเพราะคนงานยังขาดอิสรภาพในการทำงาน ไม่มีเวลาว่างสำหรับพักผ่อน และยังไม่มีความพอใจในการทำงาน ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1800 โรเบิร์ท โอเวน (Robert Owen) นักอุตสาหกรรมชาวเวลล์ เป็นบุคคลแรกที่คำนึกถึงความต้องการพื้นฐานของคนงาน เช่น เขาคิดว่า เด็กยังมีพัฒนาการไม่เหมือนคนผู้ใหญ่ โอเวน จึงไม่ยอมรับเด็กเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขาเชื่อว่า ความสะอาด และความเหมาะสมของงานมีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงได้จัดสถานที่ทำงานให้สะอาด และจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมขึ้นซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นการสร้างสัมพันธภาพกับคนงาน
ต่อมาปี ค.ศ. 1835 แอนดรู ยูรี (Andreww Urie) เป็นอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่คนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสหกรรมการผลิต เช่น การจัดให้มีการหยุดพักดื่มน้ำชา ให้การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย การปรับปรุงห้องทำงานให้มีพัดลมระบายอากาศจ่ายค่าจ้างเมื่อคนงานเจ็บป่วยเป็นต้น
ต้นปี ค.ศ.1900 เทย์เลอร์ (Taylor) วิศวกรชาวอเมริกาซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานถลุงเหล็กได้พัฒนาทฤษฎีและการจัดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ขึ้น เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ โดยที่เขาได้ริเริ่มวางพื้นฐานมนุษย์สัมพันธ์ด้านธุรกิจขึ้น เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงานเขาได้พยายามวางมาตรฐานเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละอย่างที่ต้องใช้เครื่องจักรกลทุกด้าน และพิจารณาศึกษาการทำงานของคนงานในแต่ละวันว่าทำงานวันละกี่ชั่วโมงจึงจะเหมาะสมที่สุด ระยะการพักงานแต่ละวันควรมีกี่ระยะ และระยะหนึ่ง ๆ นานเท่าใด เขาได้ทำการทดลองวิธีการทำงานที่ถูกต้องกับคนกลุ่มหนึ่งและพบว่าการทำงานที่ถูกวิธีจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น เขาเป็นบุคคลแรกที่เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทำงานของคนงานเพราะคนงานเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตจึงนับได้ว่าทำให้เกิดการสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีกระดับหนึ่ง
ต่อมาได้มีการจัดประชุมสัมมนาด้านมนุษยสัมพันธ์ในวงการอุตสาหกรรมขึ้นที่กรุงนิวยอร์ค และได้จัดเรื่อยมาจึงปัจจุบันซึ่งเป็นการจัดสัมมนาที่เริ่มใช้คำว่า “มนุษยสัมพันธ์”
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มีนักจิตวิทยาให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ดังนี้
อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าการที่ มนุษย์มีสัมพันธ์กันมนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคมดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2525 : 402 )
ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะหรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่มเพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มรวมไปถึงวิธีการจูงใจและประสานความต้องการของบุคคลและกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหาเพื่อทำความเข้าใจโดยการใช้ลักษณะรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลเป็นผลก่อให้เกิดความเชื่อมโยงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การของแต่ละบุคคลที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง ( 2544: 99)
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดยมีความพอใจในทางเศรษฐกิจและสังคมมนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดีในการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลต่อบุคคลตลอดจนองค์กรต่อองค์กร David, Keith.1977
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลเพื่อต้องการให้ได้มาซึ่งความร่วมมือช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดีและให้ความร่วมมือร่วมใจทำงานด้วยความเต็มใจ
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจในงานและความสามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจาและใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่งพึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข
มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์” ได้ว่า เป็นกลวิธีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ให้มาทำกิจกรรมร่วมกันแบบเต็มใจ และบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ก็จะเป็นบุคคลที่สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีจิตสาธารณะที่เป็นที่รักใคร่ของผู้อื่นใครเห็นใครก็อยากอยู่ใกล้ มนุษยสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับความต้องการของบุคคล แรงจูงใจหรือสาเหตุภายในของบุคคลที่จะเข้ามาทำกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการสามารถเอาชนะจิตใจผู้อื่นให้คล้อยตามจนสามารถทำงานนั้นๆ ได้สำเร็จ
ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการและทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการหรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็นศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล นักศึกษาจะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่าคนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อหรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยากจะเข้าใกล้หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
นับตั้งแต่เกิดมาเราต้องอยู่ร่วมและติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นในสังคมและชุมชน เนื่องจากมนุษย์เป็น สัตว์สังคม ซึ่งหมายถึงเราไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพังตนเอง แต่จำเป็นต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยบุคคลที่อยู่รอบข้างเพื่อความอยู่รอดของชีวิตหรือเพื่อความสุขใจของเราเอง
ดังนั้น การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลโดยทั่วไป จึงทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น และก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
มนุษยสัมพันธ์จึงมีความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคมโดยส่วนรวม ใน 4 ด้าน คือ
1. ด้านการดำเนินชีวิต การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่า แต่ทำให้เรารู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย ทำให้เราได้รับความรักและ การยอมรับในสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์
2. ด้านการบริหารจัดการ ในสถานประกอบการหรือในองค์การทุกแห่ง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือคน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้กิจการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ผู้ที่เข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องก็คือคนอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่มาติดต่อจึงจำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารและประสานงานกัน เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย
3. ด้านเศรษฐกิจ ในกิจการอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตาม คนเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญและหลักมนุษยสัมพันธ์จำเป็นในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ก็จำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการติดต่อประสานงานเช่นกัน
4. ด้านการเมือง มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญทั้งในการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับชาติ เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับนักการเมืองหรือข้าราชการ ระหว่างนักการทูตกับประเทศต่างๆ เป็นต้น
มนุษยสัมพันธ์จึงจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน มนุษยสัมพันธ์จำเป็นในเวทีการประชุมของสมาชิกองค์การสหประชาชาติ มนุษยสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
มนุษย์สัมพันธ์มีความสำคัญต่อบุคคลมาก อาจเรียกได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อบุคคลมากเพราะ เราไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกเราต้องการให้คนอื่นยอมรับเรา เริ่มตั้งแต่เกิดมาเราก็จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับบุคคลในครอบครัวเราต้องสัมพันธ์กับคนในครอบครัว พอโตหน่อยเราก็ต้องมีกลุ่ม มีเพื่อนทั้งเป็นเพื่อนเรียน เพื่อนร่วมสถาบันฯ เพื่อนต่างสถาบัน เพื่อนร่วมอาชีพ การเข้าสู่ระบบสังคมเราต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ทำอย่างไรให้เข้ากับคนอื่นได้ ทำอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจเรา ทำอย่างไรให้มีผู้อื่นเข้ามาช่วยงาน และเราก็เต็มใจที่จะช่วยงานคนอื่นเช่นกัน หลายคนมีกลุ่ม มีเพื่อนมากหลายคนไม่มีกลุ่มไม่มีพวกไม่มีใคร คนเหล่านั้นทำงานมีความสุขหรือไม่ ทำอย่างไรให้คนทำงานสามารถช่วยเหลือในงานของกันและกัน รู้หน้าที่ในการทำงาน เพราะงานนั้นเป็นงานของเรา เราต้องรับผิดชอบในงาน เมื่อมีงานใดๆ ก็ร่วมมือกันทำงานไม่หนีงานแต่เข้ามา ร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันงานนั้นๆ บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงสำคัญมากเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการกลุ่มต้องการสมาคมและทำกิจกรรมร่วมกัน
มนุษยสัมพันธ์ ช่วยทำให้มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมไม่ว่าสังคมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ละคนที่มาอยู่ร่วมกันนั้นต่างก็มีความแตกต่างกัน ( Individual ) ความแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ความสามารถประสบการณ์ เจตคติ รสนิยม ความคิดเห็น เชาวน์ปัญญา เป็นต้น แต่ถ้าทุกคนสามารถร่วมใจกัน ระดมความแตกต่างเหล่านี้แล้วนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งที่ดีใหม่ ๆ ขึ้นในสังคมก็จะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะการคิดของคนหลายคนย่อมจะรอบคอบกว่าและมีโอกาสผิดพลาดมีน้อยกว่าการคิดคนเดียว ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไร บุคคลหลาย ๆ คนจึงจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความเต็มใจ ช่วยกันคิดช่วยกันทำอย่างเต็มความรู้ความสามารถของตนเอง และจะต้องก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความรักใคร่ สมัครสมานสามัคคีต่อกัน มีความเคารพยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน จริงใจต่อกัน มีเจตคติที่ดีต่อกัน มีเป้าหมายร่วมกัน ที่กล่าวมาทั้งหมดคือการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนนั้นนั่นเอง มนุษยสัมพันธ์จึงสำคัญมากตั้งแต่ หน่วยสังคมตั้งแต่เล็กที่สุดคือ ครอบครัวไปจนถึงหน่วยสังคมที่ใหญ่ที่สุด คือ สมาคมโลก ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ ลงมาจนเป็นประเทศ ถ้าหากสามารถทำให้คนที่มาอยู่รวมกันนั้น มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมีความไว้วางใจกัน มีความปรารถนาจะร่วมมือร่วมใจกัน แบ่งหน้าที่กันทำ กำหนดบทบาท หน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ หน่วยงานหรือสังคมนั้นก็จะเป็นระเบียบ มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า พัฒนาไปสู่ความเป็นสากลได้ ฉะนั้น ผู้นำของกลุ่มต้องมีบทบาทอย่างมากในการที่จะทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โดยอาศัยความรู้ทางมนุษยสัมพันธ์ นำมาสร้างขวัญ กำลังใจ ให้กับผู้ร่วมงาน ให้โอกาสผู้ร่วมงานร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ร่วมทำกิจกรรม ให้เกียรติกัน มีความยุติธรรม ให้ความสำคัญแก่ผู้ร่วมงานอย่างจริงใจ มีสวัสดิการดี จะเป็นผลให้เกิดความศรัทธาและความพึงพอใจเกิดขึ้น และในที่สุดคนทำงานทุกคนก็จะทุ่มเทกำลังและพลังกาย พลังความคิด ร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็มที่ และผู้นำที่สามารถปฏิบัติจนจนก่อให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
มนุษย์ทุกคนสามารถฝึกการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ถ้ามีความปรารถนา มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์ และนำไปปฏิบัติจริง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ “มนุษยสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเข้ากับคน การเอาชนะใจคนและการครองใจคนทุกระดับ เช่น ผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานและ รวมทั้งคนในครอบครัวด้วย การพูดจาดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตรกับทุกคนเป็นหลักการแรกที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในขั้นต่อไปและจำไว้เสมอว่าเราเป็นมนุษย์ต้องปฏิบัติกับคนอื่นเช่นเดียวกับตัวเรา และเราอาจสรุปได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญ ดังนี้คือ
1. มนุษยสัมพันธ์ทำให้เกิดสร้างความสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในกลุ่มสังคม ในหมู่คณะ
2. มนุษยสัมพันธ์ทำให้การบริหารงานต่างๆ สามารถก่อให้เกิดการรวมพลัง เพื่อก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ เกิดความรักใคร่สมัครสมานสามัคคีในการปฏิบัติงาน
3. มนุษยสัมพันธ์ทำให้สังคมปกติสุข คนในสังคมนั้นๆ อยู่ดีมีสุข
4. มนุษยสัมพันธ์ทำให้สร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างสรรค์สังคม
5. มนุษยสัมพันธ์ทำให้งานต่างๆ ประสบความสำเร็จเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราทำงานหลายอย่างคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน งานจึงจะประสบความสำเร็จ
6. มนุษยสัมพันธ์ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจิตใจดังนั้นในการอยู่ร่วมกันจึงทำให้มนุษย์รู้ถึงความรักใคร่และไมตรีที่มีให้กัน รวมถึงความต้องการที่จะบรรลุจุดหมายด้วยความภูมิใจ
7. มนุษยสัมพันธ์ทำให้บุคคลยอมรับนับถือกัน ตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” (Human dignity) ต้องทำให้คนที่ทำงานร่วมกันรู้และเข้าใจถึงการให้เกียรติกันเสมอมนุษย์เฉกเช่นเดียวกันคือการยอมรับคุณค่าความเป็นมนุษย์นั่นเอง
8. มนุษยสัมพันธ์ทำให้งานทุกอย่างบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรต้องการ เพราะทุกคนเคารพในการแสดงความคิดเห็นและพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละบุคคลอันจะนำไปสู่ความร่วมมือและการประสานงานที่ดีนั่นเอง
9. มนุษยสัมพันธ์ทำให้คนคล้อยตามได้ หากทำให้จิตใจเขาคล้อยตามได้บุคคลจะเกิดความชื่นชอบและจะพัฒนาความชื่นชอบจนเกิดความศรัทธาและเมื่อบุคคลเกิดความศรัทธาบุคคลก็ยินดีที่จะปฏิบัติตามซึ่งการทำให้คนอื่นคล้อยตามต้องอยู่บนเงื่อนไขของความชอบธรรมก็จะสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ถาวรได้แต่หากบุคคลกระทำทุกอย่างเพียงเพื่อประโยชน์แห่งตนมนุษยสัมพันธ์นั้นๆ ก็เป็นแค่ชั่วคราว เมื่อความจริงกระจ่างอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้น ในกรณีเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกคนมีไมตรีต่อกันทุกคนจึงควรคิดและกระทำในสิ่งดีดีให้แก่กันเราก็จะได้สิ่งดีๆ ตอบ
มนุษยสัมพันธ์ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ยอมรับซึ่งกันและกันมีความสนิทสนมคุ้นเคยรักใคร่ มีความนับถือกันและความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสามารถร่วมมือกันดำเนินงานของส่วนรวมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทำให้การคบหาสมาคมเป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจยินดีให้ความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อให้มีความเข้าใจอันดีต่อมนุษย์ด้วยกัน และเพื่อให้เกิดความเชื่อถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ ในเหตุผลอื่นๆ อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความปลอดภัย มนุษย์ต้องการความปลอดภัย จึงต้องรวมกลุ่มกันสร้างสัมพันธภาพ เช่น บุคคลพยายามรู้จักกับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
2. เศรษฐกิจ มนุษยสัมพันธ์เพิ่มผลผลิตได้ เพราะมนุษย์มีจิตใจปกติและเป็นสุข ย่อมสร้างงานอย่างมีประสิทธิผล นั่นคือการมีมนุษยสัมพันธ์จะช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจได้
3. ความว้าเหว่ เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ จะรู้สึกเหงา จึงต้องสร้างและใช้มนุษยสัมพันธ์โดยการคบเพื่อน เพื่อให้คลายเหงา
4. สังคม มนุษยสัมพันธ์ช่วยให้มนุษย์รักกัน ชอบกัน ยอมรับและคบหาสมาคมกันอันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม
5. การปฏิบัติงาน มนุษย์ไม่อาจปฏิบัติงานโดยลำพังได้ ต้องอาศัยหรือเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีเพื่อนร่วมงาน
6. การเมือง มนุษยสัมพันธ์ช่วยประสานหรือแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองได้ในลักษณะที่เรียกว่า “กาวใจ”
7. ความสำเร็จ มนุษย์ทั้งหลายต่างก็หวังจะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารองค์การจะต้องคำนึงถึงมากกว่าใคร ๆ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในองค์การรู้จักกัน และสามารถประสานงานให้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี
8. ความรัก มนุษย์ต้องการแสดงออกซึ่งความรัก คือ รักบุคคลที่เกี่ยวข้อง และต้องการให้เขารักตอบด้วย จะแสดงออกในรูปของการรักเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ ทั้งความรักอันบริสุทธิ์และความรักด้วยเพศสัมพันธ์
บทความโดย อาจารย์ฐานิกา บุษมงคล
สงวนลิขสิทธิ์
บรรณานุกรม
กองบริการการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Online]. Available URL: http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm
จิตรลดา วัฒนาพรรณกิตติ.(มปป.) เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.
โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏลำปาง.
ชัยพร วิชชาวุธ .มูลสารจิตวิทยา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,491 หน้า, 2525.
ชุติมา วงษ์สวัสดิ์. [Online]. Available URL: http://www.neepandin.com/data/society/society2b.htm
นารี จิตรรักษา.ราชภัฎเชียงราย. [Online]. Available URL: http://www.edu.ricr.ac.th/naree/
บริษัทมีดส์จอนสัน.. [Online]. Available URL: http://www.meadjohnson.bms.co.th/t_momsm1.htm
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ .มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงแก้ไข) คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ.
[Online]. Available URL: http://www.chula.ac.th/services/cupress/04.htm
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). [Online]. Available URL: http://www.wfb-hq.org/specth4.htm
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 930 หน้า,2525.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Online]. Available URL:http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2538/eda380038t.html
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Online]. Available URL: http://sut2.sut.ac.th/ Human_Resources/ development.htm
ยงยุทธ เกษสาคร.ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม,2521.
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. [Online]. Available URL: http://www.yupparaj.ac.th/webpage/business/page6.html
โรงเรียนปราสาทวิทยาคาร จ.สุรินทร์. [Online]. Available URL:http://www.pwk.ac.th/ data_school/hope2.html
วิจิตร อาวะกุล. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 8,กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง,300 หน้า,2542.
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. [Online]. Available URL:http://www.nationejobs.com/nationjob /tips_tools/howto/ht020520.html
ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์. กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน. หน้า 52 -55 .
สวัสดิ์ บรรเทิงสุข มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .[Online].
Available URL: http://edpg730.hypermart.net/ccop2.htm
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.22 เมษายน 2544. [Online]. Available URL:http://www. bkknews.com/jud /
sun/20010404/page18.html
อำนวย แสงสว่าง. (2544).จิตวิทยาอุตสาหกรรม Industrial Psychology.พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร :อักษราพิพัฒน์, 207 หน้า.
อาภา จันทรสกุล. (2529).ทฤษฏีและวิธีการให้คำปรึกษาในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Copyright 2000-2001 Thai Smart Kids. [Online]. Available URL: http://www.thaismartkids.net/teacher/
Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com /IdeaBoard/Question.asp?GID=4
David, Keith. Human Behavior at Work., New York : Graw-Hill,Co.,1977.
http://www.ESIE HR CLUB - Human Relations มนุษยสัมพันธ์.html
http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=173
http://teacher.stjohn.ac.th/tgkhem/lesson/01meaning.html
http://www.sombatlegal.com/index.phplay=show&ac=article&Id=421797
http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2531/eda310002t.html
Titannetwork co.,ltd. [Online]. Available URL: http://www.thainetway.com/test/test5.php
ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์
โดย อาจารย์ฐานิกา บุษมงคล
คำว่า "มนุษยสัมพันธ์ " ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Human Relations เป็นคำประสมที่เกิดจากคำ 2 คำรวมกัน คือ มนุษย์ (Human) และ สัมพันธ์ (Relations)
มนุษย์ (Human) หมายถึง ลักษณะของความเป็นมนุษย์ คือ ผู้มีจิตใจสูง
สัมพันธ์ (Relations) หมายถึง ความผูกพัน เกี่ยวข้อง การติดต่อกัน ความเกี่ยวพันกัน
เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันเป็น "มนุษยสัมพันธ์" จึงมีความหมายถึงการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างคนที่อยู่ร่วมกันและมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นความ หมายกลางๆ แต่ในเชิงวิชาการของศาสตร์สาขาต่างๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ ็ได้มีการให้ความหมายของคำว่ามนุษยสัมพันธ์ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ด้านจิตวิทยา คำว่ามนุษยสัมพันธ์มีความหมายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกต่อกันในสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเอง
ด้านสังคมวิทยา มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การที่คนซึ่งอยู่ร่วมกันมีการโต้ตอบและมีการตอบสนองต่อกันและกัน ซึ่งอาจเป็นทั้งความสัมพันธ์ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้เช่น ความร่วมมือ การแข่งขัน การต่อต้าน การต่อสู้ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปมนุษยสัมพันธ์ มักจะใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และมักใช้ในความหมายถึงการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความเป็นมา
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้นไม่สามารถระบุได้ว่าเริ่มเมื่อใด แต่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมก็ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อความมั่นคง ปลอดภัย และเพื่อความอยู่รอด ฯลฯ ดังได้กล่าวมาแล้ว ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการและเป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น มีการแข่งขันด้านธุรกิจมากขึ้น มนุษยสัมพันธ์เริ่มมีความสำคัญยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในองค์การต่าง ๆ เช่น องค์การอุตสาหกรรม องค์การธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการบริหารงานของนายจ้างนั้นต้องเกี่ยวข้องกับกับคนที่เป็นลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงาน ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์เริ่มเด่นชัดกลางศตวรรษที่ 19 คือ เริ่มเปลี่ยนแนวคิดการบริหารมาให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคล ทั้งนี้ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม นายจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมไม่เห็นความสำคัญของลูกจ้าง ไม่สนใจความต้องการ และอารมณ์ความรู้สึกของคน และไม่รู้ว่าความต้องการของคนมีอิทธิพลต่อผลผลิตอย่างสูง ผู้บริหารคิดแต่เพียงว่าแรงงานเปรียบเสมือนสินค้าสำหรับซื้อขาย คนก็กลายเป็นเครื่องจักรที่ต้องการทำงานตลอดเวลาโดยเขาไม่รู้ว่า คนต้องการพักผ่อน ต้องการความเห็นอกเห็นใจ และอื่น ๆ คนงานในสมัยนั้นต้องทำงานวันละหลายชั่วโมงได้รับค่าจ้างในอัตราต่ำ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี คนงานมีสุขภาพทรุดโทรมยากจน เจ็บป่วยเสมอ ทั้งนี้เพราะนายจ้างขาดความเห็นอกเห็นใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ สภาพการทำงานเลวร้ายลง ผลผลิตเสื่อมคุณภาพ โรงงานก็ประสบภาวะการขาดทุน
ต่อมาจึงมีการปฏิวัติอุตสหากรรม หลังการปฎิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ๆ แม้จะมีการจัดระบบงานที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังไม่ดีขึ้นเพราะคนงานยังขาดอิสรภาพในการทำงาน ไม่มีเวลาว่างสำหรับพักผ่อน และยังไม่มีความพอใจในการทำงาน ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1800 โรเบิร์ท โอเวน (Robert Owen) นักอุตสาหกรรมชาวเวลล์ เป็นบุคคลแรกที่คำนึกถึงความต้องการพื้นฐานของคนงาน เช่น เขาคิดว่า เด็กยังมีพัฒนาการไม่เหมือนคนผู้ใหญ่ โอเวน จึงไม่ยอมรับเด็กเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขาเชื่อว่า ความสะอาด และความเหมาะสมของงานมีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงได้จัดสถานที่ทำงานให้สะอาด และจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมขึ้นซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นการสร้างสัมพันธภาพกับคนงาน
ต่อมาปี ค.ศ. 1835 แอนดรู ยูรี (Andreww Urie) เป็นอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่คนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสหกรรมการผลิต เช่น การจัดให้มีการหยุดพักดื่มน้ำชา ให้การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย การปรับปรุงห้องทำงานให้มีพัดลมระบายอากาศจ่ายค่าจ้างเมื่อคนงานเจ็บป่วยเป็นต้น
ต้นปี ค.ศ.1900 เทย์เลอร์ (Taylor) วิศวกรชาวอเมริกาซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานถลุงเหล็กได้พัฒนาทฤษฎีและการจัดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ขึ้น เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ โดยที่เขาได้ริเริ่มวางพื้นฐานมนุษย์สัมพันธ์ด้านธุรกิจขึ้น เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงานเขาได้พยายามวางมาตรฐานเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละอย่างที่ต้องใช้เครื่องจักรกลทุกด้าน และพิจารณาศึกษาการทำงานของคนงานในแต่ละวันว่าทำงานวันละกี่ชั่วโมงจึงจะเหมาะสมที่สุด ระยะการพักงานแต่ละวันควรมีกี่ระยะ และระยะหนึ่ง ๆ นานเท่าใด เขาได้ทำการทดลองวิธีการทำงานที่ถูกต้องกับคนกลุ่มหนึ่งและพบว่าการทำงานที่ถูกวิธีจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น เขาเป็นบุคคลแรกที่เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทำงานของคนงานเพราะคนงานเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตจึงนับได้ว่าทำให้เกิดการสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีกระดับหนึ่ง
ต่อมาได้มีการจัดประชุมสัมมนาด้านมนุษยสัมพันธ์ในวงการอุตสาหกรรมขึ้นที่กรุงนิวยอร์ค และได้จัดเรื่อยมาจึงปัจจุบันซึ่งเป็นการจัดสัมมนาที่เริ่มใช้คำว่า “มนุษยสัมพันธ์”
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มีนักจิตวิทยาให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ดังนี้
อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าการที่ มนุษย์มีสัมพันธ์กันมนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคมดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2525 : 402 )
ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน
มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะหรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่มเพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มรวมไปถึงวิธีการจูงใจและประสานความต้องการของบุคคลและกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหาเพื่อทำความเข้าใจโดยการใช้ลักษณะรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลเป็นผลก่อให้เกิดความเชื่อมโยงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การของแต่ละบุคคลที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง ( 2544: 99)
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดยมีความพอใจในทางเศรษฐกิจและสังคมมนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดีในการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลต่อบุคคลตลอดจนองค์กรต่อองค์กร David, Keith.1977
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลเพื่อต้องการให้ได้มาซึ่งความร่วมมือช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดีและให้ความร่วมมือร่วมใจทำงานด้วยความเต็มใจ
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจในงานและความสามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจาและใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่งพึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข
มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ เต็มความสามารถ
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปความหมายของคำว่า “มนุษยสัมพันธ์” ได้ว่า เป็นกลวิธีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ให้มาทำกิจกรรมร่วมกันแบบเต็มใจ และบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ก็จะเป็นบุคคลที่สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีจิตสาธารณะที่เป็นที่รักใคร่ของผู้อื่นใครเห็นใครก็อยากอยู่ใกล้ มนุษยสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับความต้องการของบุคคล แรงจูงใจหรือสาเหตุภายในของบุคคลที่จะเข้ามาทำกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการสามารถเอาชนะจิตใจผู้อื่นให้คล้อยตามจนสามารถทำงานนั้นๆ ได้สำเร็จ
ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการและทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการหรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็นศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล นักศึกษาจะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่าคนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อหรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยากจะเข้าใกล้หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
นับตั้งแต่เกิดมาเราต้องอยู่ร่วมและติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นในสังคมและชุมชน เนื่องจากมนุษย์เป็น สัตว์สังคม ซึ่งหมายถึงเราไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพังตนเอง แต่จำเป็นต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยบุคคลที่อยู่รอบข้างเพื่อความอยู่รอดของชีวิตหรือเพื่อความสุขใจของเราเอง
ดังนั้น การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลโดยทั่วไป จึงทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น และก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
มนุษยสัมพันธ์จึงมีความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคมโดยส่วนรวม ใน 4 ด้าน คือ
1. ด้านการดำเนินชีวิต การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่า แต่ทำให้เรารู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย ทำให้เราได้รับความรักและ การยอมรับในสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์
2. ด้านการบริหารจัดการ ในสถานประกอบการหรือในองค์การทุกแห่ง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือคน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้กิจการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ผู้ที่เข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องก็คือคนอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่มาติดต่อจึงจำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารและประสานงานกัน เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย
3. ด้านเศรษฐกิจ ในกิจการอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตาม คนเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญและหลักมนุษยสัมพันธ์จำเป็นในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ก็จำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการติดต่อประสานงานเช่นกัน
4. ด้านการเมือง มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญทั้งในการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับชาติ เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับนักการเมืองหรือข้าราชการ ระหว่างนักการทูตกับประเทศต่างๆ เป็นต้น
มนุษยสัมพันธ์จึงจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน มนุษยสัมพันธ์จำเป็นในเวทีการประชุมของสมาชิกองค์การสหประชาชาติ มนุษยสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
มนุษย์สัมพันธ์มีความสำคัญต่อบุคคลมาก อาจเรียกได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อบุคคลมากเพราะ เราไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกเราต้องการให้คนอื่นยอมรับเรา เริ่มตั้งแต่เกิดมาเราก็จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับบุคคลในครอบครัวเราต้องสัมพันธ์กับคนในครอบครัว พอโตหน่อยเราก็ต้องมีกลุ่ม มีเพื่อนทั้งเป็นเพื่อนเรียน เพื่อนร่วมสถาบันฯ เพื่อนต่างสถาบัน เพื่อนร่วมอาชีพ การเข้าสู่ระบบสังคมเราต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ทำอย่างไรให้เข้ากับคนอื่นได้ ทำอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจเรา ทำอย่างไรให้มีผู้อื่นเข้ามาช่วยงาน และเราก็เต็มใจที่จะช่วยงานคนอื่นเช่นกัน หลายคนมีกลุ่ม มีเพื่อนมากหลายคนไม่มีกลุ่มไม่มีพวกไม่มีใคร คนเหล่านั้นทำงานมีความสุขหรือไม่ ทำอย่างไรให้คนทำงานสามารถช่วยเหลือในงานของกันและกัน รู้หน้าที่ในการทำงาน เพราะงานนั้นเป็นงานของเรา เราต้องรับผิดชอบในงาน เมื่อมีงานใดๆ ก็ร่วมมือกันทำงานไม่หนีงานแต่เข้ามา ร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันงานนั้นๆ บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงสำคัญมากเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการกลุ่มต้องการสมาคมและทำกิจกรรมร่วมกัน
มนุษยสัมพันธ์ ช่วยทำให้มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมไม่ว่าสังคมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ละคนที่มาอยู่ร่วมกันนั้นต่างก็มีความแตกต่างกัน ( Individual ) ความแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ความสามารถประสบการณ์ เจตคติ รสนิยม ความคิดเห็น เชาวน์ปัญญา เป็นต้น แต่ถ้าทุกคนสามารถร่วมใจกัน ระดมความแตกต่างเหล่านี้แล้วนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งที่ดีใหม่ ๆ ขึ้นในสังคมก็จะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะการคิดของคนหลายคนย่อมจะรอบคอบกว่าและมีโอกาสผิดพลาดมีน้อยกว่าการคิดคนเดียว ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไร บุคคลหลาย ๆ คนจึงจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความเต็มใจ ช่วยกันคิดช่วยกันทำอย่างเต็มความรู้ความสามารถของตนเอง และจะต้องก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความรักใคร่ สมัครสมานสามัคคีต่อกัน มีความเคารพยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน จริงใจต่อกัน มีเจตคติที่ดีต่อกัน มีเป้าหมายร่วมกัน ที่กล่าวมาทั้งหมดคือการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนนั้นนั่นเอง มนุษยสัมพันธ์จึงสำคัญมากตั้งแต่ หน่วยสังคมตั้งแต่เล็กที่สุดคือ ครอบครัวไปจนถึงหน่วยสังคมที่ใหญ่ที่สุด คือ สมาคมโลก ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ ลงมาจนเป็นประเทศ ถ้าหากสามารถทำให้คนที่มาอยู่รวมกันนั้น มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมีความไว้วางใจกัน มีความปรารถนาจะร่วมมือร่วมใจกัน แบ่งหน้าที่กันทำ กำหนดบทบาท หน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ หน่วยงานหรือสังคมนั้นก็จะเป็นระเบียบ มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า พัฒนาไปสู่ความเป็นสากลได้ ฉะนั้น ผู้นำของกลุ่มต้องมีบทบาทอย่างมากในการที่จะทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โดยอาศัยความรู้ทางมนุษยสัมพันธ์ นำมาสร้างขวัญ กำลังใจ ให้กับผู้ร่วมงาน ให้โอกาสผู้ร่วมงานร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ร่วมทำกิจกรรม ให้เกียรติกัน มีความยุติธรรม ให้ความสำคัญแก่ผู้ร่วมงานอย่างจริงใจ มีสวัสดิการดี จะเป็นผลให้เกิดความศรัทธาและความพึงพอใจเกิดขึ้น และในที่สุดคนทำงานทุกคนก็จะทุ่มเทกำลังและพลังกาย พลังความคิด ร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็มที่ และผู้นำที่สามารถปฏิบัติจนจนก่อให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
มนุษย์ทุกคนสามารถฝึกการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ถ้ามีความปรารถนา มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์ และนำไปปฏิบัติจริง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ “มนุษยสัมพันธ์” เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเข้ากับคน การเอาชนะใจคนและการครองใจคนทุกระดับ เช่น ผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานและ รวมทั้งคนในครอบครัวด้วย การพูดจาดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตรกับทุกคนเป็นหลักการแรกที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในขั้นต่อไปและจำไว้เสมอว่าเราเป็นมนุษย์ต้องปฏิบัติกับคนอื่นเช่นเดียวกับตัวเรา และเราอาจสรุปได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญ ดังนี้คือ
1. มนุษยสัมพันธ์ทำให้เกิดสร้างความสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในกลุ่มสังคม ในหมู่คณะ
2. มนุษยสัมพันธ์ทำให้การบริหารงานต่างๆ สามารถก่อให้เกิดการรวมพลัง เพื่อก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ เกิดความรักใคร่สมัครสมานสามัคคีในการปฏิบัติงาน
3. มนุษยสัมพันธ์ทำให้สังคมปกติสุข คนในสังคมนั้นๆ อยู่ดีมีสุข
4. มนุษยสัมพันธ์ทำให้สร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างสรรค์สังคม
5. มนุษยสัมพันธ์ทำให้งานต่างๆ ประสบความสำเร็จเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราทำงานหลายอย่างคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน งานจึงจะประสบความสำเร็จ
6. มนุษยสัมพันธ์ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจิตใจดังนั้นในการอยู่ร่วมกันจึงทำให้มนุษย์รู้ถึงความรักใคร่และไมตรีที่มีให้กัน รวมถึงความต้องการที่จะบรรลุจุดหมายด้วยความภูมิใจ
7. มนุษยสัมพันธ์ทำให้บุคคลยอมรับนับถือกัน ตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” (Human dignity) ต้องทำให้คนที่ทำงานร่วมกันรู้และเข้าใจถึงการให้เกียรติกันเสมอมนุษย์เฉกเช่นเดียวกันคือการยอมรับคุณค่าความเป็นมนุษย์นั่นเอง
8. มนุษยสัมพันธ์ทำให้งานทุกอย่างบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรต้องการ เพราะทุกคนเคารพในการแสดงความคิดเห็นและพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละบุคคลอันจะนำไปสู่ความร่วมมือและการประสานงานที่ดีนั่นเอง
9. มนุษยสัมพันธ์ทำให้คนคล้อยตามได้ หากทำให้จิตใจเขาคล้อยตามได้บุคคลจะเกิดความชื่นชอบและจะพัฒนาความชื่นชอบจนเกิดความศรัทธาและเมื่อบุคคลเกิดความศรัทธาบุคคลก็ยินดีที่จะปฏิบัติตามซึ่งการทำให้คนอื่นคล้อยตามต้องอยู่บนเงื่อนไขของความชอบธรรมก็จะสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ถาวรได้แต่หากบุคคลกระทำทุกอย่างเพียงเพื่อประโยชน์แห่งตนมนุษยสัมพันธ์นั้นๆ ก็เป็นแค่ชั่วคราว เมื่อความจริงกระจ่างอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้น ในกรณีเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกคนมีไมตรีต่อกันทุกคนจึงควรคิดและกระทำในสิ่งดีดีให้แก่กันเราก็จะได้สิ่งดีๆ ตอบ
มนุษยสัมพันธ์ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ยอมรับซึ่งกันและกันมีความสนิทสนมคุ้นเคยรักใคร่ มีความนับถือกันและความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสามารถร่วมมือกันดำเนินงานของส่วนรวมให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทำให้การคบหาสมาคมเป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจยินดีให้ความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อให้มีความเข้าใจอันดีต่อมนุษย์ด้วยกัน และเพื่อให้เกิดความเชื่อถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ ในเหตุผลอื่นๆ อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความปลอดภัย มนุษย์ต้องการความปลอดภัย จึงต้องรวมกลุ่มกันสร้างสัมพันธภาพ เช่น บุคคลพยายามรู้จักกับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
2. เศรษฐกิจ มนุษยสัมพันธ์เพิ่มผลผลิตได้ เพราะมนุษย์มีจิตใจปกติและเป็นสุข ย่อมสร้างงานอย่างมีประสิทธิผล นั่นคือการมีมนุษยสัมพันธ์จะช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจได้
3. ความว้าเหว่ เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ จะรู้สึกเหงา จึงต้องสร้างและใช้มนุษยสัมพันธ์โดยการคบเพื่อน เพื่อให้คลายเหงา
4. สังคม มนุษยสัมพันธ์ช่วยให้มนุษย์รักกัน ชอบกัน ยอมรับและคบหาสมาคมกันอันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม
5. การปฏิบัติงาน มนุษย์ไม่อาจปฏิบัติงานโดยลำพังได้ ต้องอาศัยหรือเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีเพื่อนร่วมงาน
6. การเมือง มนุษยสัมพันธ์ช่วยประสานหรือแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองได้ในลักษณะที่เรียกว่า “กาวใจ”
7. ความสำเร็จ มนุษย์ทั้งหลายต่างก็หวังจะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารองค์การจะต้องคำนึงถึงมากกว่าใคร ๆ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในองค์การรู้จักกัน และสามารถประสานงานให้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี
8. ความรัก มนุษย์ต้องการแสดงออกซึ่งความรัก คือ รักบุคคลที่เกี่ยวข้อง และต้องการให้เขารักตอบด้วย จะแสดงออกในรูปของการรักเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ ทั้งความรักอันบริสุทธิ์และความรักด้วยเพศสัมพันธ์
บทความโดย อาจารย์ฐานิกา บุษมงคล
สงวนลิขสิทธิ์
บรรณานุกรม
กองบริการการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร. [Online]. Available URL: http://www.acad.nu.ac.th/relation.htm
จิตรลดา วัฒนาพรรณกิตติ.(มปป.) เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.
โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏลำปาง.
ชัยพร วิชชาวุธ .มูลสารจิตวิทยา.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,491 หน้า, 2525.
ชุติมา วงษ์สวัสดิ์. [Online]. Available URL: http://www.neepandin.com/data/society/society2b.htm
นารี จิตรรักษา.ราชภัฎเชียงราย. [Online]. Available URL: http://www.edu.ricr.ac.th/naree/
บริษัทมีดส์จอนสัน.. [Online]. Available URL: http://www.meadjohnson.bms.co.th/t_momsm1.htm
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ .มนุษยสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงแก้ไข) คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ.
[Online]. Available URL: http://www.chula.ac.th/services/cupress/04.htm
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต). [Online]. Available URL: http://www.wfb-hq.org/specth4.htm
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 930 หน้า,2525.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2538.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [Online]. Available URL:http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2538/eda380038t.html
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Online]. Available URL: http://sut2.sut.ac.th/ Human_Resources/ development.htm
ยงยุทธ เกษสาคร.ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม,2521.
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. [Online]. Available URL: http://www.yupparaj.ac.th/webpage/business/page6.html
โรงเรียนปราสาทวิทยาคาร จ.สุรินทร์. [Online]. Available URL:http://www.pwk.ac.th/ data_school/hope2.html
วิจิตร อาวะกุล. เทคนิคมนุษยสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 8,กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง,300 หน้า,2542.
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. [Online]. Available URL:http://www.nationejobs.com/nationjob /tips_tools/howto/ht020520.html
ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์. กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน. หน้า 52 -55 .
สวัสดิ์ บรรเทิงสุข มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .[Online].
Available URL: http://edpg730.hypermart.net/ccop2.htm
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.22 เมษายน 2544. [Online]. Available URL:http://www. bkknews.com/jud /
sun/20010404/page18.html
อำนวย แสงสว่าง. (2544).จิตวิทยาอุตสาหกรรม Industrial Psychology.พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร :อักษราพิพัฒน์, 207 หน้า.
อาภา จันทรสกุล. (2529).ทฤษฏีและวิธีการให้คำปรึกษาในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Copyright 2000-2001 Thai Smart Kids. [Online]. Available URL: http://www.thaismartkids.net/teacher/
Copy Right (c) 1999-2000 ThaiEJob.com . [Online]. Available URL: http://www.thaiejob.com /IdeaBoard/Question.asp?GID=4
David, Keith. Human Behavior at Work., New York : Graw-Hill,Co.,1977.
http://www.ESIE HR CLUB - Human Relations มนุษยสัมพันธ์.html
http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=173
http://teacher.stjohn.ac.th/tgkhem/lesson/01meaning.html
http://www.sombatlegal.com/index.phplay=show&ac=article&Id=421797
http://websis.kku.ac.th/abstract/thesis/medu/eda/2531/eda310002t.html
Titannetwork co.,ltd. [Online]. Available URL: http://www.thainetway.com/test/test5.php
ความคิดเห็น