การสวนปัสสาวะ

การสวนปัสสาวะ

อ.ฐานิกา บุษมงคล พยม.

ความหมายของสวนปัสสาวะ

การสวนปัสสาวะ (urinary catheterization) หมายถึง การสอดใส่สายสวนที่เรียกว่า catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะออกสู่ภายนอก ทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ามีความจำเป็นจะต้องสวนปัสสาวะหรือไม่


การสวนปัสสาวะ

ชนิดของการสวนปัสสาวะ
• การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization )
• การสวนปัสสาวะคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterization )


ข้อบ่งชี้การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization )
• ไม่สามารถปัสสาวะได้เองภายใน 6-8 ชม. หลังจากถ่ายปัสสาวะครั้งสุดท้าย
• ถ่ายปัสสาวะไม่ได้ กรณีได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง
• เก็บปัสสาวะส่งตรวจเพื่อตรวจเพื่อเพาะหาเชื้อ ( urine culture) ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
• หาปริมาณของ residual urine


ข้อบ่งชี้การสวนปัสสาวะคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterization )
• มีการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ
• ป้องกันการอุดกั้นของท่อปัสสาวะจากการมีก้อนลิ่มเลือดภายหลังผ่าตัดผ่านท่อปัสสาวะ
• ประเมินปริมาณปัสสาวะเพื่อประเมินการทำงานของไต
• ป้องกันผิวหนังเกิดการระคายเคืองจากปัสสาวะในผู้ป่วยที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว
• ชะล้างกระเพาะปัสสาวะ


หลักในการสวนปัสสาวะ

• อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการสวนปัสสาวะ และวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย
• เครื่องใช้ในการสวนปัสสาวะต้องสะอาดปราศจากเชื้อและเตรียมให้พร้อมสำหรับใช้งาน
• ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ
• จัดท่าให้เหมาะสม ในผู้ป่วยชายให้นอนหงาย (Dorsal position) ส่วนผู้ป่วยหญิงให้นอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position) กรณีผู้ป่วยหญิงมีปัญหาเกี่ยวกับสะโพกควรจัดให้นอนท่าตะแคง (Lateral position)
• ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณรอบรูเปิดท่อปัสสาวะให้สะอาดก่อนสวนปัสสาวะ
• ปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีขั้นตอน ผู้ทำควรมีความชำนาญในการสวนปัสสาวะอย่างถูกวิธี โดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อทุกขั้นตอน
• มีแสงสว่างเพียงพอ



หลักในการสวนปัสสาวะกรณีสวนคา
• ตรวจสอบประสิทธิภาพของลูกโป่งของสายสวนปัสสาวะ ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่
• ถ้าผู้ป่วยบ่นปวดภายหลังใส่น้ำกลั่นเข้าไปในลูกโป่ง ให้รีบเอาน้ำกลั่นออก แล้วทำการสวนด้วยสายสวนปัสสาวะเส้นใหม่


สายสวนปัสสาวะ (Catheter )
ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับท่อปัสสาวะของผู้ป่วย ควรเลือกขนาดที่เล็กกว่าช่องทางเดินปัสสาวะจะลดการบาดเจ็บลงได้


ขนาดของสายสวนปัสสาวะ
เด็ก ใช้ขนาด 8-10 Fr.
ผู้หญิง ใช้ขนาด 14-16 Fr.
ผู้ชาย ใช้ขนาด 16-20 Fr.


การเลือกใช้สายสวนปัสสาวะ
• สายสวนปัสสาวะชนิดตรง (straight catheter) ใช้สำหรับสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว ทำด้วยยางแดงสาย
• สาย Foley catheter ใช้สำหรับสวนคาสายปัสสาวะ
• Foley catheter ชนิด 2 หาง ช่องทางแรก เป็นทางให้ปัสสาวะไหลออกมา  ช่องทางที่สอง เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นบริสุทธิ์ (sterile water)

• Foley catheter ชนิด 3 หาง มีลักษณะคล้ายชนิด 2 หาง โดยเพิ่มช่องที่สาม เป็นทางสำหรับใส่น้ำหรือน้ำยาเข้าไปเพื่อชะล้างกระเพาะปัสสาวะ


thank you picture from http://www.foleycatheter.cn/upload/200812/20081219170245133.jpg

เครื่องใช้ในการสวนปัสสาวะ

1.ชุดสวนปัสสาวะปลอดเชื้อ
• ชามรูปไต
• ปากคีบชนิดไม่มีเขี้ยว
• ก๊อซขนาด 2 x2 นิ้ว
• ชามกลม 2 ใบ
• ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง

2.สายสวนปัสสาวะ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

3.น้ำยาระงับเชื้อ (antiseptic solution) สำหรับทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกก่อนสวนปัสสาวะ


การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนการสวนปัสสาวะ
ภายหลังมีคำสั่งการรักษา ควรประเมินสภาพผู้ป่วยกอนการสวนปัสสาวะดังนี้
1.ระดับความรู้สึกตัวเพื่อประเมินความร่วมมือในการสวนปัสสาวะ

2.กำลังกล้ามเนื้อต้นขาของผู้ป่วยหญิงที่ใช้จัดท่าสำหรับสวนปัสสาวะ ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีคนช่วยพยุงให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมระหว่างการสวน

3.อายุ เพื่อเป็นเกณฑ์นการเลือกใช้ขนาดของสายสวนปัสสาวะ

4.พยาธิสภาพของโรคผู้ป่วยชาย ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการสวนปัสสาวะ เช่นต่อมลูกหมากโต


วิธีการสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว ( Intermittent catheterization )


มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1.ตรวจสอบชื่อ - สกุลผู้ป่วยและชนิดการสวนปัสสาวะจากคำสั่งการรักษา เพื่อจัดเตรียอุปกรณ์ให้ถูกต้องเหมาะสม

2.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการสวนปัสสาวะ และวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะสวนปัสสาวะ เพื่อช่วยลดควากลัว ความวิตกกังวล และได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย

3.ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนสวนปัสสาวะ เพื่อประเมินว่าสามารถของผู้ป่วยในการจัดท่านอนสำหรับสวนปัสสาวะ

4.ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดโอกาสเกิดการแพร่กระจายเชื้อ

5.จัดเตรียมเครื่องใช้มาวางที่เตียงผู้ป่วย เพื่อลดความพร้อมในการสวนปัสสาวะ

6.ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยผู้ป่วย

7.จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยใช้ไฟฉายส่องทีอวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อให้สามารถเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะ

8.ผู้ทำยืนข้างเตียงผู้ป่วยข้างที่ตนถนัด เช่น ผู้ที่ถนัดมือขวาควรเข้าข้างขวาของผู้ป่วย ผู้ที่ถนัดมือซ้ายควรเข้าข้างซ้ายของผู้ป่วย

9.จัดท่าที่สวนปัสสาวะให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน
• ในผู้ป่วยหญิงจัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่า( Dorsal recumbent position ) ปิดตา ห่มผ้า ถอดผ้านุ่ง จัดผ้าคลุม เปิดเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ( drape ) การชันเข่าควรบอกผู้ป่วยให้วางส้นเท้าชิดกัน เท้าทั้งสองข้างห่างกัน 2 ฟุต การลุมผ้าช่วยให้ผู้ป่วยีความรู้สึกเป็นส่วนตัว

• ในผู้ป่วยชายจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย( Dorsal position ) ปิดตา ถอดกางเกง จัดผ้าห่มคลุมส่วนบนของร่างกายจนถึงหัวหน่าว และใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ คลุมตั้งแต่องคชาติลงมา เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

ขั้นตอน

1.ชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด เพื่อลดจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนมากับสายสวนปัสสาวะเข้าไปกระเพาะปัสสาวะขณะสอดใส่สายสวน

2.ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดจุลินทรีย์บนมือของผู้ทำเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

3.นำชุดสวนปัสสาวะ วางไว้ระหว่างขาขอผู้ป่วย กล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เปิดผ้าห่อออกทั้ง 4 มุม และเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยเทคนิปลอดเชื้อ เพื่อให้มีพื้นที่สะอาดไม่เกิดการปนเปื้อน
• เทน้ำยาระงับเชื้อบนสำลีในชามกลมพอให้สำลีเปียกชุ่ม
• บีบสารหล่อลื่นลงบนก๊อซในชามรูปไต

4.ใส่ถุงมือด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อให้มือผู้ทำสะอาดปราศจากเชื้อ สามารถหยิบจับของสะอาดปราศจากเชื้อได้

5.คลี่ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางคลุมอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ให้ช่องเจาะกลางอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ

6.หยิบสายสวนปัสสาวะ เลือขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ทาปลายสายสวนปัสสาวะด้วยสารหล่อลื่นผู้หญิงยาว 1- 2 นิ้ว ในผู้ชายยาว 6- 7 นิ้ว (ระวังอุดรูที่ปลายสายสวนปัสสาวะ) วางไว้ชามรูปไต สารหล่อลื่นช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บ บริเวณท่อปัสสาวะ

4.หยิบชามกลมใบว่าง (สำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว) วางไว้ใกล้ผู้ป่วยและชามกลมที่มีสำลีวางถัดออกมา เพื่อไม่ให้เกิดการข้ามกรายของสะอาดขณะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

5.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดยใช้ปากคีบ
• ในผู้ป่วยหญิงเมื่อทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกจนถึงแคมใน ใช้นิ้วมือข้างที่ไม่ถนัด แหวกแคมในให้กว้างและยกขึ้นจะเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน แล้วใช้สำลีเช็ดตรงรูเปิดของท่อปัสสาวะ แหวกค้างไว้จนกระทั่งสอดสายสวน และมีน้ำปัสสาวะไหลออกมา อย่าลืมว่า มือที่ใช้แหวกแคมนี้ไม่ปลอดเชื้ออีกต่อไป เพื่อระวังไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเครื่องใช้ปลอดเชื้อ
• ในผู้ป่วยชายใช่มือข้างที่ไม่ถนัดจับองคชาติตั้งขึ้นทำมุม 90 องศา กับร่างกาย กรณีไม่ขลิบหนังหุ้มองคชาติ ให้รูดหนังหุ้มปลายองคชาติลงมาและ จับทำมุม 90 องศา ค้างไว้จนกว่าจะสอดสายสวนปัสสาวะ และมีปัสสาวะไหลออกมา การจับองคชาติตั้งขึ้น 90 องศา เพื่อทำให้ท่อปัสสาวะเป็นแนวตรง สามารถสวนปัสสาวะได้ง่าย   ใช้นิ้วมือข้างที่ถนัดเช็ดองคชาติโดยใช้ปากคีบคีบสำลีทีละก้อน เช็ดบริเวณรูเปิดของท่อ  ปัสสาวะ เช็ดวนออกมาด้านนอก แล้วเช็ดจากปลายองคชาติลงมาที่ฐานองคชาติ 3-4 ครั้ง จนรอบ องคชาติ การเช็ดแต่ละครั้งใช้สำลีก้อนใหม่ และไม่เช็ดย้อนกลับไปมา

6.ใช้ปากคีบเลื่อนชามกลมทั้งสองออกห่างผู้ป่วย วางปากคีบลงในชามกลม ไม่ใช้มือข้างที่ถนัดเลื่อนชามกลมที่ใช้แล้ว เพื่อให้ถุงมือคงความปลอดเชื้อ

7.ยกชามรูปไตใบที่ใส่สายปัสสาวะวางไว้บริเวณใกล้ตัวผู้ป่วย

8.ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะ ปลายสายอีกข้างหนึ่งวางไว้ในชามรูปไต

9.บอกให้ผู้ป่วยหายใจยาวๆ ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะ ในผู้ป่วยหญิงสอดลึกอย่างน้อย 2- 3 นิ้ว ผู้ชายสอดลึก 6- 8 นิ้ว หรือเกือบสุดสายสวน จนมีปัสสาวะไหลลงชามรูปไต แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

ถ้าพบว่ามีแรงต้าน ไม่ใช่แรงดันสายสวนปัสสาวะ ควรบอกให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ ยาวๆ และหมุนสายสวนปัสสาวะอย่างเบามือขณะสอด


ถ้าไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาภายใน 1-2 นาทีให้ตรวจสอบดูว่าปลายสายเข้าไปในช่องคลอดหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ให้ถอดสายสวนออก และทำการสวนด้วยสายสวนปัสสาวะเส้นใหม่


10.ใช้มือที่แหวกแคมเล็ก หรือจับองคชาติเลื่อนมาจับสายสวนไว้ให้อยู่กับที่

11.ในกรณีต้องการเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ให้ใช้ขวดรองรับจากปลายสายสวนปัสสาวะขณะที่ปล่อยให้ปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต

12.เมื่อปัสสาวะหยุดไหลแล้วใช้มือกดเบาๆ บนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณเหนือหัวหน่าวจนแน่ใจว่าไม่มีปัสสาวะ เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกจนหมด

13.ค่อยๆดึงสายสวนออกวางในชามรูปไตใบว่าง ในผู้ชายจับองคชาติตั้งขึ้น 90 องศากับร่างกานก่อนดึงสายสวนออก ขณะดึงออกถ้ามีปัสสาวะไหลออกมา ให้จับสายสวนปัสสาวะค้างไว้ที่เดิม รอจนกระทั่งไม่มีปัสสาวะจึงดึงสายสวนออก

14.ซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้ง

15.นำเครื่องใช้ออกจากเตียงผู้ป่วย ถอดถุงมือ

16.จัดเสื้อผ้าและจัดให้ผู้ป่ววยนอนในท่าที่สบาย ซักถามอาการผู้ป่วย เปิดประตูหรือม่าน

17.เก็บเครื่องใช้ไปทำความสะอาด

18.สังเกตลักษณะของปัสสาวะที่ผิดปกติและตวงปัสสาวะที่ได้จากการสวน

19.ถ้าเป็นกรณีเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ส่งขวดปัสสวะที่ติดฉลากข้างขวด เขียนชื่อหอผู้ป่วย ชื่อ - สกุลผู้ป่วย วัน เดือน ปี ที่ส่งตรวจพร้อมใบส่งตรวจ( request ) ไปยังห้องปฏิบัติการ

 
วิธีการสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization)

มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. ตรวจสอบชื่อ - สกุลผู้ป่วยและชนิดของการสวนปัสสาวะจากคำสั่งการรักษา เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสม

2. อธิบายใหผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการสวนปัสสาวะ และวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะสวนปัสสาวะ เพื่อช่วยลดความกลัว ความวิตกกังวลและได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วย

3. ประเมินสภาพผู่ป่วยก่อนการสวนปัสสาวะ เพื่อประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการจัดท่านอนสำหรับสวนปัสสาวะ

4. ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดโอกาสเกิดการแพร่กระจายเชื้อ

5. จัดเตรียมเครื่องมือมาวางที่เตียงผู้ป่วยเพื่อความพร้อมในการสวนปัสสาวะ

6. ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยผู้ป่วย

7. จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยใช้โคมไฟหรือไฟฉายส่องไปที่อวัยวะสืบพันธุ์ เพื่อให้สามารถมองเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะ

8. ผู้ทำยืนข้างเตียงผู้ป่วยข้างที่ตนถนัด

9. จัดท่าที่ใช้ในการสวนปัสสาวะให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถมองเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน
9.1 ในผู้ป่วยหญิงจัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่า ปิดตา ห่มผ้า ถอดผ้าถุง จัดผ้าคลุม เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (drape) การชันเข่าควรบอกให้ผู้ป่วยให้วางส้นเท้าชิดกัน เท้าทั้งสองข้างห่างกันประมาณ 2 ฟุต การคลุมผ้าช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเป็นส่วนตัว
9.2 ในผู้ชายจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย ปิดตา ถอดกางเกงจัดผ้าห่มคลุมส่วนบนจนถึงหัวหน่าว และใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่คลุมตั้งแต่องคชาตลงมา เปิดเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

10. ชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดเพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนติดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะขณะสอดใส่สายสวน

11. ล้างมือให้สะอาด เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์บนมือของผู้ทำ เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

12. นำชุดสวนปัสสาวะวางไว้ระหว่างขาของผู้ป่วยใกล้กับอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เปิดผ้าห่อออกทังสี่มุมด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อให้มีพื้นที่สะอาดไม่เกิดการปนเปื้อนและทำกิจกรรมต่อไปนี้ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
12.1 เทน้ำยาระงับเชื้อลงในสำลี ในชามกลมพอให้สำลีเปียกชุ่ม
12.2 บีบสารหล่อลื่นลงบนก๊อซในชามรูปไต
12.3 ฉีกซองสายสวนปัสสาวะ วางไว้ในชุดสวนปัสสาวะ

13. ใส่ถุงมือด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อให้มือผู้ทำการสวนปัสสาวะสะอาดปราศจากเชื้อ สามารถหยิบจับของปราศจากเชื้อได้

14. คลี่ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางคลุมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ให้ช่องเจาะกลางอยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ

15. หยิบสายสวนปัสสาวะ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ทาปลายสายสวนปัสสาวะด้วยสารหล่อลื่นในผู้หญิงยาว 1- 2 นิ้ว ในผู้ชายยาว 6- 7 นิ้ว ( ระวังไม่ให้สารหล่อลื่นอุดรูที่ปลายสายสวนปัสสาวะ ) วางในชามรูปไต สารหล่อลื่นช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะ

16. หยิบชามกลมใบว่าง ( สำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว ) วางใกล้กับผู้ป่วยและชามกลมใบที่มีสำลีถัดออกมา
เพื่อไม่ให้เกิดการข้ามกรายของสะอาดขณะทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

17. ทำความสะอาดอวัยวะภายนอกโดยใช้ปากคีบ
17.1 ในผู้ป่วยหญิง เมื่อทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกจนถึงแคมใน ใช้นิ้วมือข้างที่ไม่ถนัดแหวกแคมให้กว้างและยกขึ้นจะเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะได้ชัดเจน แล้วใช้สำลีเช็ดตรงรูเปิดของท่อปัสสาวะ และให้มีน้ำปัสสาวะไหลออกมา อย่าลืมว่ามือที่ใช้แหวกแคมในนี้ไม่สะอาดอีกต่อไป เพื่อระวังมือสัมผัสทำให้เกิดการปนเปื้อนเครื่องใช้ที่ปลอดเชื้อ
17.2 ในผู้ป่วยชาย ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับองคชาตตั้งขึ้นทำมุม 90 องศากับร่างกายกรณีไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายองคชาต (circumcision) ให้รูดหนังปลายองคชาตลงมา และ จับทำมุม 90 องศาค้างไว้จนกว่าจะสอดสายสวนปัสสาวะ และมีปัสสาวะไหงออกมา การจับองคชาตต้งขึ้น 90 องศา เพื่อทำให้ท่อปัสสาวะเป็นแนวตรงสามารถสวนปัสสาวะได้ง่าย ใช้มือข้างที่ถนัดเช็ดบริเวณองคชาตโดยใช้ปากคีมคีบสำลีที่ละก้อนเช็ดบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะ เช็ดวนออกมาด้านนอกแล้วเช็ดจากปลายองคชาตลงมาที่ฐานองคชาต 3-4 ครั้ง จนรอบองคชาต การเช็ดแต่ละครั้งให้ใช้สำลีก้อนใหม่ และไม่เช็ดย้อนกลับไป - มา

18. ใช้ปากคีบเลื่อนชามกลมทั้งสองออกห่างจากก้นผู้ป่วย วางปากคีมลงในชามกลม ไม่ใช่มือข้างที่ถนัดเลื่อนชามกลมที่ใช้แล้ว เพื่อให้ถุงมือคงความปลอดเชื้อ

19. ยกชามรูปไตใบที่ใส่สายปัสสาวะวางไว้บริเวณใกลตัวผู้ป่วย

20. ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะ ปลายสายอีกข้างหนึ่งวางในชามรูปไต

21. บอกให้ผู้ป่วยหายใจยาวๆค่อยๆสอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะ ในผู้หญิงสอดลึกอย่างน้อย 3- 4 นิ้ว ผู้ชายสอดลึก 6- 8 นิ้ว หรือเกือบสุดสายจนมีปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถ้าพบมีแรงต้านไม่ใช่แรงดันควรบอกให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆยาวๆแล้วหมุนสายสวนปัสสาวะอย่างเบา มือขณะสอด ถ้าไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาภายใน 1-2 นาที ให้ตรวจสอบดูว่าปลายสายเข้าไปในช่องคลอดหรือไม่ ถ้าใช่ให้ถอดสายสวนออกและทำการสวนปัสสาวะใหม่ด้วยสายสวนปัสสาวะเส้นใหม่

22. ใช้มือแหวกแคมเล็ก หรือจับองคชาตเลื่อนมาจับสายสวนปัสสาวะไว้ให้อยู่กับที่

23. ในกรณีตองการเก็บปัสสาวะส่งตรวจให้ใช้ขวดรองรับจากปลายสายสวนปัสสาวะขณะที่ปล่อยให้ปัสสาวะไหลลงสู่ชามรูปไต

24. ภายหลังปัสสาวะไหลดี สอดสาย Foley catheter เข้าไปอีก 1 นิ้ว เพื่อให้แน่ใจว่าลูกโป่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ไม่อยู่ในท่อปัสสาวะ ป้องกันภาวะเลือดออกเกิดจากท่อปัสสาวะแตก (rupture urethra) กรณีสอด Foley catheter ไม่พ้นท่อปัสสาวะ

25. ใส่น้ำกลั่นเข้าทางหางที่เป็นแถบสีของ Foley catheter ให้ลูกโป่งที่อยู่ภายในขยายตัว
( ปริมาณตามที่ระบุไว้ตรงปลายสาย catheter ประมาณ 5-10 ซีซี) ลูกโป่งควรมีขนาดพอเหมาะหากขนาดใหญ่มากเกินไปจะกดคอของกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บตึงหรือรำคาญ แต่ถ้าลูกโป่งน้อยเกินไปอาจหลุดออกจากกระเพาะปัสสาวะได้

ถ้าผู้ป่วยบ่นรำคาญหรือเจ็บปวดภายหลังใส่น้ำกลั่นให้ลูกโป่งขยาย ให้รีบเอาน้ำกลั่นออกเนื่องจากลูกโป่งอาจอยู่ในท่อปัสสาวะให้สอดสาย catheter เข้าไปอีกจนแน่ใจว่าลูกโป่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ




ปัญหา
1.ผู้ป่วยๆไม่สามารถอยู่ในท่าที่จัดไว้ได้ตลอดระยะเวลาการสวนปัสสาวะ

2.ทำความสะอาดอวัยวะเพศสืบพันธุ์ไม่ทั่วถึง พยาบาลไม่แหวกจนถึงแคมใน ค้างไว้จนกว่าจะสวนปัสสาวะได้
3.เครื่องมือที่ใช้มีการปนเปื้อนระหว่างการสวน
4.พยาบาลไม่สามารถสอดสายปัสสาวะเข้าไปในช่องทางเดินปัสสาวะได้ เนื่องจากมีการเกร็งหรือตีบตันของท่อปัสสาวะ
5.สายสวนปัสสาวะมีการปนเปื้อน ก่อนสอดสายเข้าไป
6.มองเห็นรูท่อปัสสาวะไม่ชัดเจน
7.สวนแล้วไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมา
8.สายสวนปัสสาวะหลุดออกทางท่อปัสสาวะภายหลังการใส่
9.ถ้าผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณบริเวณท่อปัสสาวะภายหลั่งใส่น้ำกลั่น


การแก้ไข
1.ขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงาน ช่วยประคองผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม
2.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ให้ทั่งถึง ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดแหวกแคมในไว้และทำความสะอาด
3.จะต้องจัดอุปกรณ์ใหม่
4.แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจยาวๆ ถ้ามีการหดเกร็งหรือตีบตันของท่อปัสสาวะเกิดขึ้น ไม่ควรพยายามดันสายปัสสาวะ
5.จะต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเส้นใหม่
6.ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดแหวกแคมในและยกมือขึ้นข้างบน
7.ถอดสายปัสสาวะและเปลี่ยนเส้นใหม่
8.ปฏิบัติตามขั้นตอนการสวนใหม่
9.ให้รีบเอาน้ำกลั่นออก แล้วสวนปัสสาวะด้วยสายสวนใหม่


การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการสวนคาปัสสาวะ


1.ดูแลให้ปัสสาวะไหลสะดวก ( Freedrainge ) โดย
•กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2,500 – 3,000 มิลลิลิตร
•ดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะหัก พับงอ หรือดึงรั้งท่อปัสสาวะ
•ไม่ปล่อยให้สายหย่อนอยู่ใต้เตียง
•ถุงเก็บปัสสาวะ ควรอยู่ในระดับต่ำ
•ดูแลบีบรีดสายยางบ่อยๆ
2. การป้องกันการติดเชื้อ
•ดูแลให้อยู่ในระบบปิด
•การเทน้ำปัสสาวะ ท่อต้องไม่สัมผัสกับภาชนะรอง
•ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
•ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
•ควรเทน้ำปัสสาวะ เมื่อมีน้ำปัสสาวะ 3 ใน 4 หรือถึงกำหนด
•ถุงเก็บปัสสาวะแขวนไว้กับขอบเตียง ไม่แขวนไว้ที่ราวกั้นเตียง
•หากมีการรั่ว ให้ทำการเปลี่ยนและสวนปัสสาวะใหม่
•ถุงเก็บปัสสาวะใช้ได้นาน 28 วัน โดยไม่ต้องเปลี่ยน ยกเว้นถุงรั่ว ขาด
•เมื่อมีการคาสายปัสสาวะ ควรเปลี่ยนสายเมื่อครบ 2 สัปดาห์
•แนะนำให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการดูแลสุขอนามัย
•แนะนำให้รับประทานอาหารที่ทำให้ปัสสาวะเป็นกรด จะช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
•สังเกตและซักถามอาการที่แสดงออกถึงการติดเชื้อ

3. การบันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับและออกจากร่างกาย จดบันทึกในรอบ 24 ชั่วโมง จะต้องจดบันทึกตรงเวลา และได้ปริมาณที่ถูกต้อง ทั้งนี้จะต้องสังเกตลักษณะของปัสสาวะ เพื่อดูความผิดปกติ เช่น มีเลือกปน

4. การดูแลความสุขสบาย เนื่องจากผู้ป่วยไม่คุ้นเคย ควรดูแลเลือกเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยสวมใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมเกินไป อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ๔งเหตุผลที่จำเป็นต้องสวน






ที่มา
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/know/qa/cath.html
http://student.mahidol.ac.th/~u4909213/page5.htm
http://student.mahidol.ac.th/~u4909247/page5.html
http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_showpic.php?newsID=68&tyep_ID=2

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)