การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยผ่านชุดให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยผ่านชุดให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
(ฐานิกา บุษมงคล)

ในปัจจุบัน เมื่อผู้ป่วย admit หรือนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มักจะได้เฟอร์นิเจอร์อย่างหนึ่งติดตัวก็คือ น้ำเกลือ หรือ สารละลายทางหลอดเลือดดำ หรือ intravenous fluid หรือ IVF   แต่ถ้กรณีที่มีข้อห้ามคือภาวะต่อไปนี้ ภาวะน้ำเกิน(volume overload)  ภาวะหัวใจล้มเหลว(congestive heart failure) เป็นต้น ก็จะใช้วิธี heparin lock (hep lock) หรือ normal saline lock (nss lock) แทน 


บางคนอาจจะสงสัยว่ามีความจำเป็นที่ต้องให้น้ำเกลือผู้ป่วยหรือ on nss lock ผู้ป่วยทุกรายเชียวหรือ
สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่าก็มีความจำเป็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องทำในผู้ป่วยทุกรายเป็น package แต่ควรพิจารณาเป็นรายๆไป แล้วเราจะพิจารณาจากอะไร เราก็พิจารณาว่า ผู้ป่วยเข้าได้กับภาวะต่อไปนี้หรือไม่

1. ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอาการใดๆที่ต้องได้รับยาฉีดเพื่อช่วยชีวิตและบรรเทาอาการอย่างเร่งด่วนหรือไม่  เช่นมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ(cardiac arrythmia)  มีภาวะหัวใจหยุดเต้น(cadiac arresst)  ก่อนหน้านี้   ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งผู้เขียนเคยปฏิบัติงานที่ศูนย์หัวใจพบว่ามีความจำเป็นมากทีเดียว และช่วยให้เราฉีดยาให้ผู้ป่วยได้ทันท่วงทีและช่วยชีวิตผู้ป่วยและบรรเทาความรุนแรงของอาการได้มาก
2. ผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีดแบบต่อเนื่อง continuous order  หรือ around the clock ทุก2 ชั่วโมง ทุก 4 ชั่วโมง ทุก 6 ชั่วโมง หรือ ทุก 8 ชั่วโมง
3. ผู้ป่วยที่ต้องได้รับสารน้ำทดแทน เนื่องจากรับประทานไม่ได้ หรือมีภาวะช็อค(shock) จากสาเหตุต่างๆเช่น การติดเชื้อรุนแรง การเสียเลือดมาก ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกอย่างรุนแรง ท้องร่วงรุนแรงเป็นต้น
4.ผู้ป่วยที่หมดสติ
5.ผู้ป่วยที่เตรียมผ่าตัด


ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีชุดให้สารละลายติดตัวแล้ว เวลาพยาบาลจะไปฉีดยา ก็ต้องฉีดผ่านชุดให้สารละลาย หรือ สายน้ำเกลือนั่นเอง


ก่อนจะลงมือฉีดยา ต้องทบทวนตามหลัก 6 R เสียก่อน แล้วจึงค่อยลงมือ ตามขั้นตอนต่อไปนี้


1.  ตรวจสอบ medication record กับ แผนการรักษาให้ถูกต้อง

2.  ตรวจสอบ ชื่อยา ขนาดยา วิถีทางให้ยา เวลาในการให้ยา ให้ถูกต้อง แล้วเตรียมยา เตรียมอุปกรณ์

3.  ตรวจสอบว่าผู้ป่วยที่จะได้รับการฉีดยา ตรงตามแผนการรักษาหรือไม่  (ตรวจสอบชื่อ-สกุล ระวังผู้ป่วยที่มีชื่อหรือ ชื่อ-สกุลซ้ำกัน ให้ตรวจสอบรายละเอียดอย่างอื่นเพิ่มเติมเช่นอายุ เป็นต้น)
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ

4. ตรวจสอบว่าน้ำเกลือไหลดี บริเวณที่แทงเข็มให้น้ำเกลือไม่มีบวม แดง

5. ใช้สำลีชุบ แอลกอฮอล์ 70 % เช็ดบริเวณmedication port หรือท่อยางของสายน้ำเกลือ  ขอย้ำว่าไม่ใช่ตรงท่อที่เป็นพลาสติคใส เพราะถ้าฉีดตรงนั้น สายน้ำเกลือจะรั่ว ใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนสายใหม่ทำให้สิ้นเปลืองและผู้ป่วยจะไม่ได้รับสารน้ำ

6. ใช้เข็มเบอร์ 23 หรือ 24 ในการฉีด ไล่อากาศจากกระบอกฉีดยาจนหมด

7. แทงเข็มเข้าบริเวณmedication port  หรือ ท่อยางที่เช็ดแอลกอฮอล์ไว้แล้ว โดยหงายปลายตัดเข็มขึ้น หักพับสายให้น้ำเกลือเหนือตำแหน่งฉีดยา เดินยาช้า ๆ จนหมด สังเกตอาการผู้ป่วยขณะให้ยา (ตาดูตำแหน่งที่ฉีดยา สลับกับมองหน้าผู้ป่วย ปากก็คอยสอบถามว่า เจ็บไหม หูคอยฟังว่าผู้ป่วยยังสามารถโต้ตอบกับเราได้) ถ้าฉีดไม่เข้า หรือฝืด ให้หยุด ห้ามใช้แรงในการดันยาเข้าไป เพราะอาจจะไปดันลิ่มเลือดให้หลุดเข้าไปในกระแสเลือดได้ (สำคัญมาก) ถ้าเกิดกรณีดังกล่าว ให้ถอดเข็มให้นำเกลืออันเก่าทิ้ง และแทงใหม่ก่อนให้ยา

8. ใช้สำลีชุบ แอลกอฮอล์ 70 % เช็ดบริเวณท่อยางของสายน้ำเกลือ  หลังถอนเข็มฉีดยาออก

9. ลงชื่อผู้ฉีด และเวลา ใน medication record แบบ real time เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับยาในเวลาที่ไม่ตรงกัน

10. ลงบันทึกใน nurse' note ถึงปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ป่วยต่อยา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1