หลักการเขียนความสำคัญของปัญหาวิจัย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหานั้นเป็นเสมือนบทนำหรือภูมิหลังของการวิจัยเรื่องนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องการศึกษาวิจัยเรื่องนั้น การเขียนจะมุ่งเน้นความอยากรู้ในเรื่องที่ต้องการศึกษาในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ได้แนวคิด ทฤษฎี วิธีการหรือองค์ความรู้ใหม่ๆไปใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นการสื่อที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาที่ศึกษาว่าคืออะไร มีความสำคัญในแง่มุมใดบ้างที่น่าจะทำการวิจัย

ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะต้องหามาสนับสนุนอย่างน้อยควรมี ๔ ประการ ได้แก่

1. สภาพที่เป็นปัญหาในอดีต ปัจจุบันและ แนวโน้มในอนาคต

2. แนวคิดและทฤษฎี

3. ผลการวิจัยของผู้อื่น

4. กลุ่มเป้าหมายและตัวแปรที่จะศึกษา

หลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียนให้ตรงประเด็นโดยเริ่มจากสภาพปัญหาในระดับมหภาคไล่ลงมาจนถึงปัญหาระดับจุลภาคและเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทำการศึกษาวิจัย เน้นปัญหาถูกจุด ไม่ควรให้ยืดเยื้อให้เนื้อความครอบคลุมประเด็นสำคัญที่จะศึกษาทุกประเด็น ใช้ภาษาง่ายๆจัดลำดับประเด็นที่เสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ถ้ามีการอ้างอิงควรอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ปกตินั้นการเขียนส่วนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยมักจะมีเนื้อหาความยาวให้อยู่ประมาณไม่เกิน ๓ หน้าพิมพ์ ซึ่งในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหานั้นให้สรุปเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัยที่จะศึกษาต่อไปด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)