การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หลักการสำคัญในการศึกษา

@ เพื่อเป็นการค้นคว้าหาหัวข้อวิจัยว่า มีประเด็นปัญหาอะไรที่น่าจะนำมาเป็นปัญหา(ซึ่งผู้วิจัยยังไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไร)

@ เพื่อศึกษาว่าในเรื่องที่ผู้วิจัยจะทำวิจัยนี้ มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง ถ้าทำแล้วมีผลอย่างไร จะต้องเสริมจุดไหนที่ยังไม่ชัดเจน (ซึ่งแสดงว่าเรื่องที่จะทำวิจัย ยังไม่ชัดเจนถึงขนาดตั้งเป็นชื่อเรื่องได้)



จุดมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้าเอกสารผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

1. เพื่อเลือกปัญหาที่จะทำวิจัย : เป็นการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปกำหนดขอบเขตการศึกษา และเลือกปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น

2. เพื่อให้เกิดความกระจ่างในปัญหาที่จะทำวิจัย : เป็นการตัดสินใจว่าควรจะทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหานั้นต่อไป หรือควรเปลี่ยนปัญหาที่จะทำวิจัยใหม่

3. เพื่อหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับผู้อื่น : หากพบว่ามีผู้ทำแล้วไม่ควรทำวิจัยซ้ำ นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบผลการวิจัย หลังจากเวลาเปลี่ยนแปลงไปว่าผลการวิจัยยังเหมือนเดิมหรือไม่

4. เพื่อค้นหาเทคนิคและวิธีการในการทำวิจัย : ช่วยให้เกิดแนวความคิดในการตัดสินใจว่าจะใช้เทคนิคใด

5. เพื่อช่วยในการแปลความหมายข้อมูล : โดยการอ้างอิงผลงานวิจัยที่มีผู้ทำมาแล้ว จะทำให้มีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

6. เพื่อช่วยในการสรุปและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล : การแปลความหมายจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ถ้ามีทฤษฎี หรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยสนับสนุน

7. เพื่อเตรียมเขียนรายงานการวิจัย : เป็นการศึกษารูปแบบ ระบบและแนวการเขียนรายงานของผู้อื่น ช่วยให้เกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาการเขียนรายงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



ขั้นตอนวิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. กำหนดกรอบเนื้อหาที่ต้องการศึกษา

2. ค้นหาข้อมูลที่ต้องการศึกษา

3. อ่านและจดบันทึก

4. ประมวลผลการศึกษา

5. เขียนรายงานผลการศึกษาค้นคว้า





1. กำหนดกรอบเนื้อหาที่ต้องการศึกษา

เป็นการเริ่มต้นตีความเนื้อหาสาระที่ต้องการศึกษา โดยการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายว่าต้องการศึกษาอะไรบ้าง ต้องการรู้เรื่องอะไร เกี่ยวกับ....

- ตัวแปร

- ทฤษฎี

- หลักการ

- แนวคิด

- รายละเอียดของข้อมูล



2.ค้นหาข้อมูลที่ต้องการศึกษา

สถานที่ : ห้องสมุด, หอสมุด, คอมพิวเตอร์

วิธีค้นหา : รู้จักการใช้เครื่องต่างๆ



3. อ่านและจดบันทึก แหล่งที่มา : ชื่อผู้วิจัย ชื่อเรื่องวิจัย ปีที่วิจัย สาระสำคัญ : จุดมุ่งหมาย สมมุติฐาน วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ ผลการวิจัย



4.ประมวลผลการศึกษา : รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาสาระ



5.เขียนรายงานผลการศึกษาค้นคว้า : เป็นการเสนอแนวคิดจากผู้รู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่สัมพันธ์กับปัญหา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่วิจัยได้ดี



แหล่งที่มาของเอกสารผลงานวิจัย ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาศึกษา

@ เนื้อหา : ความเกี่ยวข้อง ผลการวิจัย ตัวแปร ข้อสรุป

@ รูปแบบการวิจัย : แนวคิด ทฤษฎี ตัวแปร การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีลักษณะอย่างไร

@ ทำการสำรวจเครื่องมือและอุปกรณ์ที่บุคคลอื่นใช้ในการวิจัย : มีหลักการ ทฤษฎี แนวความคิดในการสร้างและพัฒนาอย่างไร



หลักการตรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. เลือกสำรวจหัวข้ออย่างกว้างๆ เพื่อมองภาพทั้งหมดของปัญหา

2. ควรมีเนื้อหา หรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่นการศึกษาตัวแปร ทฤษฎี หลักการ กลุ่มตัวอย่างเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน



แหล่งค้นคว้า และงานวิจัยเอกสารที่ใช้อ้างอิง จากห้องสมุดของสถานศึกษา หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

1. เอกสาร : หนังสือ ตำรา วารสาร สารานุกรม พจนานุกรม รายงานการประชุมสัมมนา

2.งานวิจัย : รายงานที่สมบูรณ์ งานวิจัยบุคคล หรือสถาบัน ผลงานของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโท เอก หนังสือรวบรวมงานวิจัย รวมบทสรุปของงานวิจัยรวมบทคัดย่อของงานวิจัย



หลักการตรวจและวินิจฉัยเอกสารที่จะนำมาใช้อ้างอิง

1. เริ่มจากบทความที่พิมพ์ล่าสุด โดยตรวจสอบย้อนหลัง 5-10 ปี เพื่อช่วยให้ทราบถึงความก้าวหน้าทางวิชาการของหัวข้อวิจัยนั้นๆ

2. จัดลำดับความสำคัญของเอกสาร ที่มีเนื้อหาสาระ ชื่อเรื่อง ใจความย่อ ที่เกี่ยวข้อง ตรงกับหัวข้อหรือประเด็นที่วิจัยมากที่สุด



หลักการที่สำคัญในการเขียนเอกสารอ้างอิงเอกสารและผลงานที่เกี่ยวข้อง

1. ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง

2. นำเฉพาะส่วนที่สำคัญและเกี่ยวข้องเท่านั้น

3. ทำสรุปเนื้อหาของงานวิจัยที่นำมาใช้อ้างอิง

4. อ้างอิงจากแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารที่ค้นคว้า ว่าผลการวิจัยมีความสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของใครบ้าง อย่างไร


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ajarnben&month=11-2009&date=09&group=12&gblog=43

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)