รวมบทความการพยาบาลกับอาเซียน
ข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียน
(ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Nursing Services)
เรื่องเดิม
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครัง้ ที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนทัง้ 10 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali Concord II ซึ่งได้มีการกำหนดให้จัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักภายในปี 2551 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ/แรงงานเชี่ยวชาญ/ผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ทัง้นี ้รัฐมนตรีเศรษฐกิจ
อาเซียนได้มีการลงนามข้อตกลงสาขาวิศวกรรม เมื่อปี 2548 ลงนาม MRA สาขาวิชาชีพการพยาบาลเมื่อปี2549 และลงนาม MRA สาขาสถาปัตยกรรมและกรอบข้อตกลงการยอมรับในคุณสมบัติด้านการสำรวจ เมื่อปี2550 ล่าสุด อาเซียนได้เจรจาจัดทำ MRA วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และบริการบัญชี ซึ่งสามารถตกลงกัน ได้ในสาระสำคัญแล้ว โดยในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครัง้ ที่ 40 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551
อาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นไทย ได้ลงนาม MRA วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และบริการบัญชีแล้วสาระสำคัญของข้อตกลงฯ MRA สาขาวิชาชีพการพยาบาลมีหลักการคือ เปิดให้พยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถ จดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนัน้ ๆ ด้วย พยาบาลต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกำกับดูแล) ในประเทศที่รับให้ทำงาน (ของประเทศไทย คือ สภาการพยาบาล)
ประโยชน์ที่จะได้รับ
การดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวิชาชีพการพยาบาลของอาเซียนจะช่วยให้พยาบาลที่มีใบอนุญาตในประเทศเดิมและมีประสบการณ์ สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนอื่นได้สะดวกขึน้ โดยลดขัน้ตอนในการตรวจสอบ/รับรองวุฒิการศึกษาหรือความรู้ทางวิชาชีพอย่างไรก็ตาม พยาบาลต่างชาติจะต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนัน้ ๆ ด้วย
-----------------------
อ้างอิงจาก
http://www.thaifta.com/trade/ascorner/asean_doc16.pdf
http://km.ru.ac.th/hrd/article/asean/aec2.pdf
ห่วง’พยาบาล’สมองไหลออก หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
“เมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว บัณฑิตพยาบาลจะแข่งขันกับตลาดอาเซียนได้หรือไม่นั้น ในด้านทักษะวิชาชีพ เชื่อว่าแข่งขันได้แน่นอนส่วนทักษะด้านภาษา กรณีที่เป็นภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ได้ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาล โดยเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษมากว่า 5 ปีแล้วมั่นใจว่าสู้ต่างประเทศได้ แต่ทักษะด้านภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันบัณฑิตพยาบาลยังต้องฝึกเพิ่มเติมอีก แม้เราจะไม่สนับสนุนให้บัณฑิตพยาบาลไปทำงานต่างประเทศ แต่ก็เพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้เข้มข้นมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกในอนาคตของพยาบาลเอง ส่วนพยาบาลต่างชาติจะไหลเข้ามาในประเทศหรือไม่นั้น ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะพยาบาลต่างชาติต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลก่อนเข้าทำงานได้ แต่หากเป็นกรณีผู้ช่วยแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน ก็ไม่จำเป็นต้องสอบ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนพอสมควร และค่าตอบแทนสูง” น.ส.ขนิษฐากล่าว
อ้างอิงจาก มติชน http://parunnews.wordpress.com/2012/01/25/asean-nurse/
ฟิลิปปินส์หาทางแก้ปัญหาสภาวะล้นเกินของพยาบาล
เพื่อแก้ปัญหาภาวะล้นเกินของบัณฑิตพยาบาลใน Quezon City สมาชิกสภานิติบัญญัติ Jessica Castelo Daza เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการอุดมศึกษาบรรจุวิชาว่าด้วยการประกอบกิจการไว้ในหลักสูตรการพยาบาล ทั้งนี้ การล้นเกินเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของบัณฑิตพยาบาลที่ไม่ได้รับการจ้างงาน โดยฟิลิปปินส์มีจำนวนโรงเรียนการพยาบาลมากกว่า 450 แห่งซึ่งผลิตบัณฑิตพยาบาลกว่าแสนคนต่อปี (ที่มา:philippinenews.com)
บทวิเคราะห์
ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกพยาบาลรายใหญ่ที่สุดให้แก่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐ เนื่องจากพยาบาลฟิลิปปินส์มีทักษะสูงและสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ขาดเงินทุนที่จะสนับสนุนอาชีพนี้ โดสภาวะล้นเกินของพยาบาลนั้นเป็นผลมาจากความต้องการพยาบาลที่ลดน้อยลงจากต่างประเทศ ซึ่งภาวะดังกล่าว บวกกับโอกาสที่ดีไม่แพ้กันจากภายในภูมิภาคจะทำให้แนวโน้มของการไหลเข้าของพยาบาลฟิลิปปินส์สู่ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซียเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้ และก็จะเพิ่มการแข่งขันสำหรับพยาบาลในประเทศต่างๆอีกด้วย
อ้างอิง
http://aseanwatch.org/2012/01/27/%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%8C-23-27-%E0%B8%A1-%E0%B8%84-55/
ความคิดเห็น