skunkworks คืออะไร

SKUNKWORKS

ด้วยสันดานของการเป็นนักเรียนรู้ ในปี 2550 ก็ให้บังเอิญไปอ่านเจอ เครื่องมือทางการบริหารตัวหนึ่ง ในหนังสือ Learning Organization ของ ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ หนังสือเล่มนี้ คุณสุภิญญา ศรีทอง เป็นผู้มอบให้ผู้เขียนเมื่อปี 2550 จึงได้สรุปออกมาเป็นบทความ "100 เครื่องมือนักบริหารสมัยใหม่" เสร็จสิ้นเมื่อปี 2554 ท่านสามารถอ่านได้จากลิงค์นี้  https://thethanika.blogspot.com/2011/06/100.html 

โดยในบทความดังกล่าว มีคำภาษาอังกฤษที่ ดร.วรภัทร์ ท่านไม่ได้ขยายความไว้ ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าเพิ่มเติม และนำมาเขียนบทความได้สำเร็จในปี 2555 และในปี 2561 ก็ได้ปรับปรุงเพิ่มเติม และแชร์ใน facebook เพื่อแบ่งปันทุกท่านที่สนใจ

ที่มาของคำว่า Skunkworks

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
photo: Lockheed Martin


เริ่มจากโครงการพัฒนาเครื่องบิน P-80 ซึ่งเป็นเครื่องบินประเภท  High Speed Fighter Planet แล้วเสร็จได้ภายในเวลา 180 วัน  หากท่านได้ศึกษาเรื่องราวของอากาศยานนั้นหลายๆท่านคงได้ยินชื่อของ ษริษัทยักษ์ใหญ่ทางอากาศยานรบที่ชื่อว่า LOCKHEED MARTIN และถ้าศึกษาให้ลงลึกไปกว่านี้ ก็คงจะได้ยินชื่อของหน่วยงานพิเศษที่ชื่อว่า SKUNK WORKS หน่วยงานนี้จะเป็นทีมงานพิเศษที่คอยวิจัยและพัฒนาอากาศยานลับต่างๆ เช่น เครื่องบินสอดแนม เครื่องบิน X และอื่นๆที่ดูเป็นโลกอนาคตมากๆ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ LOCKHEED MARTIN
photo: Reuters

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ skunk work
photo: Wikipedia


ซึ่งผลงานของทีมงานนี้บอกได้คำเดียวว่าพลิกประวัติศาสตร์การบินทั้งนั้นครับ ทีมงานนี้ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้สนามบิน บ็อบ โฮปเป็นฐานการวิจัย และยังเป็นที่ทำงานของท่าน เคลลี จอห์นสัน ผู้เป็นมันสมองของทีมงานนี้ โดยผลงานแรกของเขาคือเครื่องบิน P-80 แต่ซึ่งที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ที่มันเป็นเครื่องบินไอพ่นแบบแรกของสหรัฐ แต่มันอยู่ที่เขาใช้เวลาสร้างเพียง 180เท่านั้น


โดยผลงานที่เด่นๆในปัจจุบันก็คือ U-2 SR-71 F-117 และ F-35 ด้วย นอกจากเรื่องนี้แล้วก็ยังคงมีชื่อของ AREA 51 ด้วย พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ลับสำหรับโครงการต่างๆโดนรอบๆพื้นที่จะมีเวรยามแน่นหนาตลอดเวลา และถ้าคุณไม่ บิ๊ก จริงๆละก็อย่าหวังเลยว่าจะได้เหยียบ AREA 51 โดยมีทั้งเรดาร์ 24 ชม. หากฝ่าฝืนเข้ามาคุณก็จะโดนทีมงานลับจับตัวคุณไปสอบสวนแน่ๆ นอกจากนี้พื้นที่นี้ยังมีดาวเทียมคอยสอดส่องอยู่ตลอดเวลา โดยพื้นที่แห่งนี้ประกอบไปด้วย

1.โรงเก็บเครื่องบิน
2.หอควบคุมการบิน
3.โรงอาหาร
4.รันเวย์
และอื่นๆอีกจำนวนไม่น้อย
โดยเครื่องแบบแรกที่เข้ามาที่นี้คือ U-2
ต่อมาคือ A-12

โดยลำดับเหตุการณ์ต่างๆได้ดังนี้ 

1. 1956 U-2 มาถึง
2.1959 เครื่องต้นแบบ A-12 BLACKBIRD
3.1960 เริ่มโครงการ A-12 OXCARTและทำการปรับปรุงรันเวย์
4. 1962 มีการสร้างถังน้ำมันขนาด 1320000 แกลลอน และเริ่มทดสอบเครื่อง A-12 BLACKBIRD
5.1963 เริ่มทดสอบ A-12 อย่างจริงจัง เครื่องตกไป 2 ลำ จากการทดสอบความเร็ว 3 มัค
6.1965 ปิดโครงการ OXCART
7.1966 ทดสอบเครื่อง D-21 ( Drone / UAV )
8.ทดสอบเครื่อง MIG-21 ที่ยึดได้
9. ต่อยอด A-12 เป็น SR-71 ที่เป็น บ.ที่ล้ำยุคมากขณะนั้น
10.1977 เปิดโครงการ Have Blue แต่แท้จริงแล้วคือ F-117
11.1982 ยืนยันโครงการ SR-71และโครงการอวกาศ
12.1983 ทดสอบ UAV ชื่อ HALSOL
13.เริ่มมีเรื่องของ AREA 51 มากขึ้น
14.1987 เป็นเวลา 3 ปีที่สภาคองเกรสให้อำนาจขาดกับทอ. ในพื้นที่นี้
15.1989 ผู้คนสนในพื้นที่นี้แต่ในนาม UFO
16.ทอ.เริ่มดูแลความปลอดภัยสูงขึ้น
17.1995 ทอ.ยึดภูเขา สองลูก
18.1996 ปรับปรุงรันเวย์
ปัจจุบันพื้นที่นี้ก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามอยู่ต่อไป


ทีนี้เรามารู้จักกับ 

บัญญัติ 14 ประการ ของท่าน เคลลี่ จอห์นสัน
1.โครงการต่างๆจะต้องควบคุมดูแลของประธานและรายงานผลขึ้นไปเบื้องบนเท่านั้น
2.เล็กแต่แข็งแกร่ง เป็นวางระบบงาน
3.การติดต่องานกับภายนอกต้องทำให้น้อยที่สุดและกับผู้ที่ตรวจสอบแล้วเท่านั้น
4.การคิดค้นต้องเรียบง่ายและยืดหยุ่น
5.ทำงานแบบร้องขอน้อยที่สุด แต่บันทึกให้มากที่สุด
6.ตรวจสอบรายรับรายจ่ายและอย่าคลาดเคลื่อนเวลาการนำเสนอ
7.ในการทำสัญญาให้ฝ่ายสัญญาทำแต่ทำกับภายนอกให้ใช้ตัวแทน
8.ระบบตรวจสอบให้ใช้ของทีมงาน แต่หากร่วมมือกับฝ่ายอื่นค่อยว่ากัน
9.ผู้ทำสัญญาจะเป็นตัวแทนรับมอบและตรวจสอบหากไม่ทำ ก็จะไม่มีอำนาจในการคิดค้นในลำดับต่อไป
10.รายละเอียดให้ทำตามโจทย์ให้ดีที่สุด โดยทหารมักจะมีอะไรๆที่ทำเป็นชิ้นงานได้ยาก
11.ใช้ทุนในโครงการในเวลาที่สมควรและอย่างคงเหลือไว้ เพื่อใช้ในงานอื่นๆ
12.การทำงานจะต้องไว้ใจกันให้มากที่สุดและใกล้ชิดที่สุด
13.การเข้าสู่โครงการจากภายนอกต้องตรวจสอบและควบคุมดูแล้วเท่านั้น
14.เนื่องจากมีผู้คนน้อยแต่เงินเยอะจึงไม่สมดุล จงใช้เม็ดเงินทั้งหมดให้คุ้มค่า
นอกจากนี้ยังมีข้อที่ 15 ให้แสบๆคันๆคือ อย่าทำงานกับกองทัพเรือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ skunk work
photo: Lockheed Martin

สำหรับผู้ที่สนใจในเครื่องบินรูปทรงประหลาดๆของสหรัฐฯ หลายๆรุ่นคงจะเคยได้ยินชื่อของ ‘สกั๊งค์ เวิร์ค’ กันมามั่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่เท่าที่รู้กันก็เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากงานของพวกเขานั้นปะหน้าว่า ‘ลับสุดยอด’ โดยชื่อนี้เป็นชื่อของกลุ่มคนดังกล่าวประกอบไปด้วย วิศวกรการบินและอวกาศ รวมถึงเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคในสาขาต่างๆอันเกี่ยวกับการบินและอวกาศเช่นกัน

คนกลุ่มนี้รวมตัวกันโดยผ่านการคัดเลือกมาอย่างเข้มงวดเพื่อร่วมกันออกแบบสร้าง, วิจัย และ พัฒนาอากาศยานต่างๆซึ่งเป็นโครงการลับของสหรัฐฯล้วนๆ Skunk Works แท้จริงไม่ใช่ชื่อที่เป็นทางการแต่อย่างใด มันเป็นเหมือนชื่อฉายา ชื่อเล่น หรือชื่อพรางของ ‘ทีมพัฒนาโครงการขั้นสูงของล็อกฮีด มาร์ติน’ (Lockheed Advance Development Project Unit) และทีมสร้างงานวิจัยขึ้นมาให้เป็นจริงตามที่ค้นคว้าขึ้นมาในโครงการต่างๆ ซึ่งรวมกันอยู่ภายในอย่างครบครัน

ผลงานของทีม Skunkworks

-ผลงานแรกที่ดูจะมีชื่อเสียงของพวกเขาคือการค้นคว้าและพัฒนาเครื่องบินขับไล่ไอพ่นรุ่น P-80 Shooting Star ของเคลลี จอห์นสัน ปรมจารย์ของทีมงานสกั๊งค์เวิร์คภายในเวลาเพียง 180 วันเท่านั้น และยังเป็นเครื่องบินขับไล่ไอพ่นแบบแรกที่ได้ประจำการในทัพฟ้าสหรัฐอีกด้วย

เครื่องบินสอดแนมจารกรรมข้อมูลแบบ U-2 Dragon Lady ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามเย็นเพื่อให้ทัพฟ้าสหรัฐใช้ในการบินสอดแนมการเคลื่อนไหวของโซเวียต แต่เนื่องจากโซเวียตมีอาวุธต่อต้านอากาศยานที่ทันสมัย ทำให้ U-2 ถูกยิงตกบ่อยมาก และเป็นปัญหาให้เหล่าทีมงานต้องเร่งแก้ไข

-เครื่องบินสอดแนมทางยุทธศาสตร์แบบ SR-71 Blackbird ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน U-2 หลักจากสหรัฐฯ เสียนักบินไปเป็นจำนวนมากจากปัญหาการถูกยิงตก ในที่สุด พวกเขาก็ส่งเจ้านกเหล็กสีดำมาเป็นตัวแก้ไข แบล็คเบิร์ด สามารถบินด้วยความเร็วกว่า 3 มัค ได้ที่ความสูงกว่า 1 แสนฟุต และนั่นนอกเหนือจากระยะที่โซเวียตจะสามารถยิงต่อต้านได้ แต่เนื่องจากอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่สูง รวมทั้งปัญหาต่างๆในที่สุดเจ้าแบล็กเบิร์ดก็ถูกปลดประจำการอย่างรวดเร็ว

เครื่องบินทิ้งระเบิดกึ่งล่องหนแบบ F-117 Nighthawk เครื่องบินระดับตำนานที่ได้ชื่อว่า ‘เครื่องบินล่องหน’ แท้จริงแล้ว ด้วยรูปร่างที่มีหลายเหลี่ยมของมัน รวมทั้งสารเคลือบที่นอกตัวเครื่องทำให้มันมีอัตราสะท้อนเรดาห์ต่ำ และทำให้ศัตรูตรวจจับมันได้ยากเท่านั้น มันเป็นเครื่องบินที่เขย่าโลกมาแล้วด้วยความพิเศษของมัน แต่เพราะข้อเสียใหญ่หลวงที่มันไม่สามารถนำมาใช้ในการต่อสู้ทางอากาศได้และใช้ได้เพียงภาระกิจทิ้งระเบิดเท่านั้น ในที่สุดพวกมันก็ถูกปลดประจำการในที่สุด แต่มันก็ยังคงเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้

-เครื่องบินขับไล่ครองอากาศกึ่งล่องหนแบบ F-22 Raptor ถ้าจะพูดถึงพระเอกแห่งแดนอินทรี ก็คงไม่อาจหลีกเลี่ยงเจ้า F-22 ไปได้ ด้วยการที่มันเป็น ‘เครื่องบินขับไล่ล่องหนลำแรกของโลก’ F-22 ถือว่าเป็นเครื่องบินขับไล่เจ็ทที่มีความทันสมัยที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และมีความสามารถในการต่อสู้ทางอากาศที่สูง แต่เพราะเป็นของดีในเวลานั้นจึงแลกมาด้วยราคาที่แพงถึง 180-250 ล้านดอลล่าห์สหรัฐต่อลำ ทำให้สหรัฐฯ เองสามารถนำเข้าประจำการได้เพียง 183 ลำเท่านั้น จากความต้องการกว่า 800 ลำ ในที่สุดงานวิจัย 20 ปี หลังเปิดสายการผลิตได้เพียง 5 ปี ก็ต้องถูกปิดตัวลงเนื่องจากราคาที่สูงเกินไป

เครื่องบินขับไล่/โจมตีกึ่งล่องหนแบบ F-35 Lightning II ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นการทดลอง เพื่อทดแทนความต้องการของ ทัพฟ้าสหรัฐที่ต้องการเครื่องบินกว่า 600 ลำ เข้าประจำการ F-35 ถูกสร้างขึ้นในโครงการ JSF ที่เปิดให้หลายประเทศร่วมลงทุนเพื่อทางเลือกใหม่สำหรับ เครื่องบินขับไล่ล่องหนสำหรับพันธมิตร ซึ่งในตอนแรกนั้น ออสเตรเลียได้เชิญไทยไปร่วมลงทุนด้วย แต่ไทยเองก็ไม่มีงบสนับสนุนการพัฒนามากพอ จึงไม่สามารถเข้าร่วมได้ แต่ด้วยราคาตัวเครื่องที่เคยประมาณเอาไว้ว่าจะอยู่ที่ 45-50 ล้านดอลล่าห์สหรัฐกลับถีบตัวขึ้นสูงไปกว่า 135-180 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ ทำให้ประเทศร่วมพัฒนากังวลใจ และหลายประเทศเริ่มถอดใจจากโครงการแล้ว ปัจจุบัน อิสราเอลสั่งซื้อ F-35 สำหรับส่งออกจำนวน 20 ลำแรก แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเปิดสายการผลิตเมื่อใด เพราะปัญหาทางระบบต่างๆยังสูงขึ้นเรื่อยๆและแก้ไม่ตก ซึ่งทำให้ราคาตัวเครื่องสูงตามขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

-เรือล่องหน Sea Shadow ไม่มีข้อมูลมากนักสำหรับโครงการนี้


จะเห็นได้ว่าผลงานล้ำหน้าของโลกส่วนใหญ่นั้น เป็นผลงานของทีมงาน Skunk Works ทั้งสิ้น แน่นอนว่างานของพวกเขาเป็นความลับ ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขามากนัก และพวกเขาอาจจะเป็นความลับเช่นนี้ต่อไป.. ตราบเท่าที่สหรัฐฯ ยังคงอยู่..

Credit : 
1 หนังสือ ‘เครื่องบิน X อากาศยานลับ’ โดยทีมงาน TOPGUN, วิกิพีเดีย และอื่นๆ
2 Top Gun Team. (2548). เครื่องบิน X อากาศยานลับ จากงานวิจัยสู่สมรภูมิรบ. สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป
3 http://www.thaifighterclub.org/
4 http://www.pkbasic.com/forum/general/()-'skunk-works'/
Reuters
6 Wiki
Lockheed Martin

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1