การตั้งเครื่องช่วยหายใจชนิด Bird's Respirator โดย อ.ฐานิกา บุษมงคล (ปรับปรุงใหม่)

Bird's Respirator 
เป็นเครื่องช่วยหายใจ ชนิด ควบคุมด้วย ความดัน (Pressure cycled ventilator) การทำงานแต่ละครั้งช่วงหายใจเข้าสิ้นสุดเมื่อถึงความดันที่ตั้งไว้ 

Tidal volume ที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นกับแรงต้านทานของทางเดินหายใจและปอด




สีเขียว Exspiratory time control หรือ Expiratory time
สีน้ำเงิน Inspiratory control หรือ Inspiratory flow rate
สีเหลืองคือ Inspiratory pressure
สีม่วงคือ Sensitivity control หรือ Starting Effort
สีชมพูคือ Air Mix selector
สีแดงคือ Pressure Limit หรือ Pressure Gauge
สีดำคือ บริเวณท่อสำหรับต่อ ออกซิเจน ใกล้กันตรงขาวมือเป็นสวิทซ์ปิดเปิด
จาก http://www.phimaimedicine.org/2009/11/177-respirator-bird.html






ขั้นตอนการตั้งเครื่องช่วยหายใจชนิด Bird's Respirator 



1. หมุนปุ่ม BIRD'S ทั้ง 4 ปุ่มนี้ไปที่ 12 นาฬิกา ได้แก่


Pressure Limit ลูกศร สีเหลือง
Inspiratory flow rate  ลูกศร สีน้ำเงิน
Expiratory time  ลูกศร สีเขียว
Starting Effort  ลูกศร สีม่วง

2. เปิดปุ่ม on-off ไปที่ on



3. ตั้ง Inspiratory pressure ให้ได้ 15-20 cmH2O โดยปรับปุ่ม pressure limit



4.ปรับปุ่ม inspiratory flow rate ถ้าหมุนไปทาง increase คือเพิ่มระยะเวลาของการหายใจเข้า ถ้าหมุนไปทาง decrease ระยะเวลาการหายใจเข้าจะสั้นลง ปรับจนได้เสียงหายใจเข้านานครั้งละ 1.5 วินาที



5.ปรับ Inspiratory pressure จนได้ tidal volume ที่ต้องการ มักใช้ 10 x นน.เป็นกก. เช่นหนัก 50 กก. ก็ตั้ง tidal volume 500 cc  เมื่อปรับ Inspiratory pressure จะทำให้ระยะเวลาการหายใจเข้าเปลี่ยนไป ดังนั้นทุกครั้งที่ ปรับ Inspiratory pressure ต้อง ปรับ ปุ่ม inspiratory flow rate เพื่อให้ได้ระยะเวลาการหายใจเข้าเป็น 1.5-2.0 วินาที





ทุกครั้งที่ ปรับ Inspiratory pressure ต้อง ปรับ ปุ่ม inspiratory flow rate เพื่อให้ได้ระยะเวลาการหายใจเข้าเป็น 1.5-2.0 วินาที


6. ถ้าคนไข้ที่ได้ยาคลายกล้ามเนื้อและยังไม่ได้ reverse หรือ คนไข้ neuro ที่มีปัญหา apnea ไม่หายใจ ให้ตั้งเป็น Control Mode โดย ปรับปุ่ม Controlled Expiratory Time(แปลว่า ปุ่มควบคุมเวลาหายใจออก) ถ้าหมุนไปทาง Decrease อัตราการหายใจจะเร็วขึ้น ถ้าหมุนไปทาง Increase อัตราการหายใจจะช้าลง ให้ปรับจนกระทั่งมีอัตราการหายใจประมาณ 12-14 ครั้ง/นาที


ปุ่ม Controlled Expiratory Time(คือ ปุ่มควบคุมเวลาหายใจออก)
ถ้าหมุนไปทาง Decrease อัตราการหายใจจะเร็วขึ้น
ถ้าหมุนไปทาง Increase อัตราการหายใจจะช้าลง

7. ในคนไข้ที่พอหายใจได้แต่ไม่มีแรงพอจะหายใจเองทั้งหมด ให้ใช้ Mode Assist โดยปรับที่ปุ่ม Starting Effort ไว้ที่ 12 นาฬิกา จะได้ pressure trigger ที่ -2 cmH2O 



แต่ถ้าไม่ได้ให้ปรับ ปุ่ม Starting Effort จนได้ pressure trigger ที่ -2 cmH2O   



(pressure trigger ที่ -2 cmH2O หมายถึง คนไข้ต้องออกแรงดึงเครื่องช่วยหายใจ -2 cmH2O เครื่องช่วยหายใจจึงจะจ่ายก๊าซให้)

8. ในการตั้ง Bird's เป็น Assist Mode(ตามข้อ7) นั้นมีความเสี่ยงต่อคนไข้อาจเสียชีวิตได้ ถ้าคนไข้มีอาการแย่ลงจากพยาธิสภาพของคนไข้เอง หรือ ได้รับยาแก้ปวดชนิดที่กดการหายใจ หรือได้รับยานอนหลับ เพราะ คนไข้จะไม่มีแรงดึงเครื่องช่วยหายใจจนถึง pressure ที่ -2 cmH2O ทำให้เครื่องไม่จ่ายก๊าซให้ คนไข้ก็เสียชีวิต



9. ดังนั้น Mode ที่ safety ที่สุดก็คือ Assist/Control Mode ซึ่งมีวิธีคือ ให้ตั้ง Mode Assist ตามขั้นตอนข้างต้นก่อน จากนั้น ขั้นตอนแรก  ให้บิดปุ่ม Starting Effort ไปที่ 9 นาฬิกา ขั้นตอนที่สอง หมุนปุ่ม Controlled Expiratory Time ไปที่ 12 นาฬิกาอย่างรวดเร็ว นับ rate แล้วปรับปุ่ม Controlled Expiratory Time จนได้อัตราการหายใจ 12-14 ครั้ง/นาที ขั้นตอนที่สาม โยกปุ่ม Starting Effort ไปที่ 12 นาฬิกาเหมือนเดิม ผลก็คือ Bird's จะทำงานโดย คนไข้หายใจช้า เครื่องก็ตีช้าแต่ไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง/นาที คนไข้หายใจเร็ว เครื่องจะตีเร็ว แต่จะไม่หยุดตีแน่นอน (ถ้าไม่มีคนไปปิด)

ขอบคุณ 
รศ.นพ. เทพกร  สาธิตเทพมณี เป็นอย่างสูงค่ะ
http://www.phimaimedicine.org/2009/11/177-respirator-bird.html

แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
http://thethanika.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html
http://medequip.st.mahidol.ac.th/File_Upload/P08.pdf
http://www.researchers.in.th/blogs/posts/4208
http://www.si.mahidol.ac.th/km/checklogin_star.asp?st_id=81
http://medi.moph.go.th/traning/crose/medicu/ICU/Ventilator_Setting.pdf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1