Multiple Sclerosis
โรค Multiple Sclerosis (MS) เป็นโรคทางระบบประสาทโรคหนึ่งที่พบบ่อยในคนหนุ่มสาว เกิดจาก myelin
ถูกทำลาย (demyelinated) แล้วทำให้เกิดก้อน(plaques) เนื่องจากเกิดการอักเสบ
หรือสะสมของเม็ดเลือดขาวหรือสารเหลวรอบๆเส้นเลือดที่อยู่ภายใน CNS ก้อนเหล่านี้อาจพบกระจายตัวอยู่ตลอดCNSโดยเฉพาะในส่วนของ
white matter ผลจากการที่ myelin ถูกทำลาย
ทำให้การนำกระแสประสาทช้าลง
โดยทั่วไปโรค Multiple Sclerosis (MS) พบได้ในช่วงอายุ 15-50
ปีพบอัตราการเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย(2:1)
พบมากในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวดำ นอกจากนี้อัตราความชุก(prevalence
rate) จะพบในประชากรในเขตหนาว ยิ่งอยู่ใกล้โลกมากเท่าไหร่
อัตราความชุกของโรค Multiple Sclerosis (MS)จะเพิ่มขึ้นมาก
พยาธิสภาพของ Multiple sclerosis ( MS)
พยาธิสภาพของ Multiple sclerosis จะมีการทำลายของเยื่อไมอีลีน ( demyelinating lesion) เป็นลักษณะของ plaque
กระจายไปตาม white matter
ของระบบประสาทส่วนกลาง บริเวณที่มักเกิด คือบริเวณ periventricular
ของ cerebrum, cerebellum
, brain stem และ dorsal spinal cord โดยในระยะเริ่มแรก
( initial stage ) inflammation
นี้ จะเกิดร่วมกับการลดจำนวนของ oligodendroglia เป็นผลให้มีการทำลายของ myelin membrane ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวนรอบ axon
ระหว่าง node
of Ranvier ทำให้การนำกระแสประสาทรวดเร็วขึ้น
เป็นแบบ salutatory ดังนั้น การเกิด demyelination จึงทำให้กระบวนการนำกระแสประสาทบกพร่อง และทำให้ส้นประสาทเกิดการล้าง่าย
นอกจากนี้การที่พบ T cellและ macrophagegx เป็นจำนวนมาก
ยังแสดงถึงลักษณะทางพยาธิสภาพที่เกี่ยวข้องระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การ infiltrate
เข้ามาของเซลล์เหล่านี้ซึ่งจะค่อยๆลดลงอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค
multiple sclerosis มีลักษณะเป็นช่วงสลับกับไประหว่างระยะแสดงอาการและระยะพัก
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยผู้ป่วย MS จะอาศัยลักษณะอาการทางคลินิก
แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดโรคและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ลักษณะทางคลินิกที่เป็นแนวทางช่วยในการวินิจฉัยโรค
1. มีอาการทางระบบประสาท
ที่แสดงถึงพยาธิสภาพของ white
matter ( long tract
damage )มากกว่า 1 ตำแหน่ง
2. ลักษณะอาการมีช่วงแสดงอาการสลับกับช่วงพัก
อย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาห่างกันมากกว่า 1 เดือน
3.
อาการรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆการปรากฏอาการครั้งแรกมักจะหายเป็นปกติ
4.อายุที่เป็นอยู่ช่วงประมาณ 15-50 ปี โดยเฉพาะการปรากฏอาการครั้งแรก มักพบในช่วงวัยรุ่น
หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
อาการและอาการแสดง
Visual disturbances ความผิดปกติของสายตาและการมองเห็น เป็นลักษณะที่พบได้ในผู้ป่วย MS ประมาณ 80% โดยมีพยาธิสภาพของ optic และ oculomotor nerves จะทำให้เกิดกลุ่มอาการเหล่านี้
ได้แก่ เห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน มีความบกพร่องของลานสายตา หรืออาจสูญเสียการมองเห็น
นอกจากนี้
อาจพบอาการ optic neuritis จะมีอาการเห็นภาพไม่ชัด หรือสูญเสียการมองเห็นร่วมกับอาการปวดเบ้าตา
Motor
disturbances ความผิดปกติทางด้าน motor ได้แก่
การอ่อนแรง (weakness)
Spasticity และความผิดปกติในการเคลื่อนไหว (movement
disorders)
Weakness
เป็นผลมาจากพยาธิสภาพในส่วนของ motor cortex หรือ
pyramidal tract เป็นลักษณะอ่อนแรงแบบ upper motor
neuron lesion ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่มีการอ่อนแรงเล็กน้อย
จนถึงอัมพาต นอกจากนี้ยังอาจมีการอ่อนแรงที่เป็นมาจากการไม่ได้ใช้งาน
หรือการไม่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมใดๆเป็นระยะเวลานานๆ
Spasticity
เกิดมาจาก demyelination ที่ส่วน descending
pyramidal tract พบได้มากประมาณ 90%
ของผู้ป่วย MS ทั้งหมด
จะมีลักษณะเพิ่มความไวของ spinal motor neuron และเพิ่มการตอบสนองต่อการกระตุ้น
segmental reflexs อาการเป็นได้ตั้งแต่ mild จนถึง severe spastic และมักสัมพันธ์กับอาการแสดงของ
UMNL
Movement
disorders การที่มี
demyelination ของ cerebellum และ cerebellar
tract ทำให้เกิดกลุ่มอาการ intention tremor ซึ่งมีระดับความรุ่นแรงได้ตั้งแต่น้อยจนมาก
ความบกพร่องในการกะระยะทางหรือช่วงการเคลื่อนไหว
การไม่สามารถทำการเคลื่อนไหวสลับได้
รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวหรือการเดินที่ไม่ประสานสัมพันธ์กัน
Sensory disturbances ความผิดปกติในการรับความรู้สึกเป็นลักษณะอาการที่พบได้มากในผู้ป่วย
MS กลุ่มอาการของความผิดปกติในการรับความรู้สึกได้แก่
Parethesia ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกคล้ายเข็มแทง
หรือชา ตามบริเวณต่างๆของร่างกาย มักพบร่วมกับความบกพร่องในการรับรู้ข้อต่อ
ส่วนการสูญเสียการรับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งโดยสมบูรณ์มักไม่ค่อยพบ
Hyperathia ความไวมากกว่าปกติในการรับการกระตุ้น แม้เพียงการกระตุ้นน้อยๆ เช่น การแตะ
หรือการได้รับแรงกดเพียงเบาๆ
แต่ผู้ป่วยกลับรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง
Dysesthesia การรู้สึกเจ็บหรือแสบร้อนอย่างผิดปกติ
Cognitive and Behavioral disturbances ความบกพร่องทางด้าน cognitive
function ในผู้ป่วย MS ส่วนใหญ่พบในระดับน้อยถึงปานกลาง
ประกอบด้วย ความบกพร่องทางด้านความคิด ความจำ
ความตั้งใจ การเรียนรู้ ความคิดอย่างมีเหตุผล และทักษะเกี่ยวกับการกะระยะด้วยสายตา
Fatique
เป็นปัญหาสำคัญและพบได้มากในผู้ป่วย
MS และเป็นสาเหตุของความบกพร่องทางด้านร่างกายด้วย มีลักษณะเฉพาะในแต่ละวัน คือ
ตอนตื่นนอน จะรู้สึกสดชื่นดี แต่จะค่อยๆมีความรู้สึกเหนื่อย ล้า
ในช่วงบ่าย
แจะรู้สึกดีขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็น
อาการเหนื่อยล้าที่ผู้ป่วยรู้สึก
จะมีลักษณะไม่มีแรง
รู้สึกล้าอยู่ตลอดเวลา
และมีขีดความสามารถจำกัดต่อการออกแรงหรือออกกำลังกาย
Bladder and Bowel disturbances เป็นผลจากพยาธิสภาพที่ระดับเหนือกว่า
sacral หรือจากการอุดตันทางกลไกบริเวณทางปัสสาวะ
ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือมีปัสสาวะคั่งค้าง
Communication disorders ความผิดปกติทางการสื่อความหมายและการกลืนอาหาร
เป็นผลเนื่องมาจาก demyelination ของ cranial nerve ลักษณะการพูดที่ผิดปกติในผู้ป่วย
MS ได้แก่ การพูดไม่ชัด
พูดช้าลง
หรือพูดเสียงเบากว่าปกติ
ส่วนความผิดปกติในการกลืนอาหาร
จะมีลักษณะกลืนลำบาก
ซึ่งจะเป็นผลให้ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการรับประทานอาหาร มักสะอึกหรือสำลักได้
ประเภทของ multiple
sclerosis
ลักษณะทางคลินิกของโรคซึ่งจะมีระยะปรากฏอาการและระยะพัก
ทำให้สามารถแยกประเภทของโรคได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ดังนี้
1.
Benige พบได้ประมาณ 20 % จะมีลักษณะทางอาการแสดงอย่างรวดเร็ว
โดยปรากฏอาการเพียง 1 -2 อย่าง และอาการจะหายไปอย่างสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์ โดยจะมีความผิดปกติหลงเหลือเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
2.
Relapse-Remission พบประมาณ 20-30 % ลักษณะอาการทันทีทันใด
โดยมีระยะพักอย่างสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์และผู้ป่วยจะยังคงอยู่ในช่วงระยะพักนี้อยู่เป็นเวลานาน
3.
Relapse-Remission-progressive ประเภทนี้พบได้มากที่สุดประมาณ
40% ของผู้ป่วยms ทั้งหมด
ลักษณะอาการคล้ายประเภทที่2แต่ไม่หายไปอย่างสมบูรณ์และลักษณะความบกพร่องของร่างกายจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
4.
progressive พบประมาณ 10-20% ลักษณะอาการทางคลินิกจะเพิ่มมากขึ้นหรือรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โดยไม่มีระยะพัก และนำไปสู่ความบกพร่องหรือความพิการอย่างรุนแรง
ลักษณะของอาการเริ่มแรกจะค่อนข้างช้างค่อยๆเพิ่มความรุนแรงขึ้นใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปีในผู้ป่วยบางรายซึ่งพบได้น้อย
มีการดำเนินโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตในที่สุด
การพยากรณ์โรค
การพยากรณ์โรคในผู้ป่วย MS แต่ละรายนั้นพบว่าทำได้ยากมาก สาเหตุเพราะโรคนี้ มีความหลากหลายของอาการ และอาการแสดงของโรคทางคลินิก แต่พบว่าข้อบ่งชี้ที่บอกเกี่ยวกับการพยากรณ์โรคที่เลว คือ เมื่อผู้ป่วยมีการดำเนินโรคแบบรุดหน้า(progressive course) หรือมีลักษณะของการดำเนินโรคแบบ secondary progressive phase ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับกันอย่างทั่วไปว่าโรคนี้จะมีพยากรณ์โรคที่เลว ถ้าเริ่มเกิดโรคนี้เป็นครั้งแรกในขณะที่ผู้ป่วยมีอายุมาก เพราะพบว่าผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคนี้เป็นครั้งแรกที่อายุ 40 ปีมักมีการดำเนินโรคแบบรุดหน้าอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเริ่มต้นแบบประสาทตาอักเสบ(optic neuritis) หรือมีความผิดปกติเรื่องความรู้สึกประสาทสัมผัส(sensory disturbance)นั้นมักจะมีการพยากรณ์โรคที่ดีกว่ากลุ่มที่มีพยาธิสภาพที่ก้านสมอง หรือมีความผิดปกติด้าน motor function
สำหรับการเกิดที่เป็นซ้ำของโรค หรือการกำเริบของโรคนี้ พบว่าอัตราการเกิดเป็นซ้ำๆไม่มีความสำพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่เลวแต่อย่างใด แต่กลับพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรคแบบ relapsing-remitting course ตั้งแต่แรกเริ่ม และกลุ่มอาการที่มีอาการกำเริบของโรคไม่บ่อยในระยะแรก จะมีพยากรณ์ดีกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีลักษณะอาการแบบ progressive course และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบของโรคที่เกิดบ่อยๆนอกนี้ยังพบว่าในผู้ป่วยMSรายที่ภายใน 5 ปีที่เกิดโรคแล้วยังไม่มีความพิการใดๆปรากฏออกมา มักบ่งบอกว่าผู้ป่วยรายนั้นน่าจะเป็น benign MS ซึ่งมีการพยากรณ์ที่ดี สำหรับผู้ป่วยMS พบว่าโดยเฉลี่ยราว 15 ปี มักจะเกิดมี ความพิการเกิดขึ้นและต้องการใช้เครื่องพยุงในการเดินในอัตราสูงราวร้อยละ 50
โรค MS นี้พบว่ามีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ป่วยอย่างมากมีผลกระทบสูงกว่าโรคไตวายเรื้อรังและโรคข้อ Rheumatoid arthritis ที่พบบ่อยในชาวตะวันตกเนื่องจากโรค MS มีอัตราการเกิดโรคไม่แน่นอนและคาดคะเนไม่ได้ ดังนั้น จึงมีผลต่อทางด้านจิตใจของผู้ป่วยโรคนี้อย่างมาก แต่พบว่าร้อยละ 50-80 ของผู้ป่วย MS มักจะต้องออกจากงานและทำงานและอาชีพเดิมไม่ได้ภายหลังเป็นโรคมานาน 10 ปี ปัญหาทางด้านจิตใจของผู้ป่วย MS นั้น พบว่าเป็นปัญหาสำคัญยิ่งเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้จักโรคนี้ดีและมีความเกรงกลัวว่าจะเกิดอาการกำเริบของโรค หรือมีการดำเนินของโรคไปในทางที่เลวลงแบบรุดหน้า ดังนั้น พบว่าราวร้อยละ 27-54 ของผู้ป่วย MS ยังมีอุบัติการณ์ในการฆ่าตัวตายสูงกว่าประกรทั่วไปอีกด้วย สำหรับปัญหาด้านความจำและสติปัญญาในผู้ป่วย MS นั้น พบว่าราวร้อยละ 50 จะมีปัญหาในด้านนี้ด้วยในความรุนที่แตกต่างกัน ผู้ป่วย MS นั้นพบว่าปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดแต่เพียงเฉพาะตัวผู้ป่วยเท่านั้นแต่ยังผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัวและผู้ดูแลผู้ป่วยอีกด้วย
การรักษา
โรคเอ็มเอสเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แพทย์จึงรักษาตามอาการของโรคในขณะนั้น โดยมุ่งหวังให้เกิดทุพพลภาพน้อยที่สุด อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายผู้ป่วยทุกคนต้องทุพพลภาพ เพราะประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสสามารถทำงานต่อไปได้จนเกษียณ เพียงแต่ต้องการกำลังใจและข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้
การป้องกันโรคเอ็มเอส
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดของโรคเอ็มเอสอย่างแน่ชัดจึงยังไม่ทราบวิธีที่จะป้องกัน ดังนั้นการดูแลสุขภาพตัวเอง ทั้งใจและกาย รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ไม่เครียด ซึ่งจะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ น่าจะเป็นวิธีการป้องกันโรคเอ็มเอสที่ได้ผลดีที่สุด
อ้างอิงและอ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น