ยาบ้า เหล้า บุหรี่ เสรีเหมือนกันได้ จริงหรือ
ที่มาของข่าวที่เป็นประเด็น
ความเห็นเปิดหัว
ใครที่คิดว่ายาบ้ากับเหล้าบุหรี่เหมือนกันเนี่ย ถามหมอสักคำมั้ย ไปดูที่โรงพยาบาลจิตเวช ศูนย์บำบัดยาเสพติดบ้างมั้ย อ่านข่าวบ้างมั้ย ข่าวเสพยาบ้าแล้วทำอะไรร้ายๆ จับเป็นตัวประกัน ทำร้ายพ่อแม่ ทำร้ายลูก ทำร้ายครอบครัว หรือแม้แต่การมีคนในครอบครัวเสพยาบ้า สภาพครอบครัวเหมือนตกนรกเพียงใด อย่านั่งอ่านแต่เอกสารแล้วบอกเทรนด์เปลี่ยน ต้องตามเทรนด์โลก บ้าไปแล้ว ถามหมอ ถามผู้เชี่ยวชาญสักนิด ก่อนที่จะคิดเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคม คิดสิคิด ไม่อยากจะเชื่อเลย เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่ต้องมานั่งอธิบายว่า เลวแปลว่าเลว ร้ายแปลว่าร้าย งงจริงๆ
หากอ่านจากข่าว จะพบว่า มีเรื่องสำคัญที่ รมว.ยุติธรรมกล่าวถึง อยู่ 3 ประเด็น
ประเด็นแรก คือ
"ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะเปลี่ยนเมทแอมเฟตามีนจากยาเสพติดรุนแรงเป็นยาปกติ เพราะในทางการแพทย์เมทแอมเฟตามีนมีผลทำลายสุขภาพและสมองน้อยกว่าบุหรี่และสุรา" (ไพบูลย์ คุ้มฉายา)
ความเห็นของผู้เขียน
กรณีนี้ หากนำไปใช้ในประโยชน์ในทางการแพทย์ ผู้เขียนก็เห็นด้วย แต่ต้องไม่ลืมว่าในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยคอรัปชั่น แม้แต่ในโรงพยาบาลก็ยังมีข่าวเภสัชกรบางโรงพยาบาลถูกจับจากกรณีประมาณนี้ แล้วท่านคิดว่าจะควบคุมเรื่องการนำเข้า การจำหน่ายสารตั้งต้นได้ หรือ ไม่ ผู้เขียนจึงขอเสนอความเห็นว่า ควรอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะยาที่มีสารเมทแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ คือปรุงสำเร็จเป็นยารักษาโรคเรียบร้อยแล้ว แต่ห้ามนำเข้าเมทแอมเฟตามีนบริสุทธิ์ที่อาจนำมาเป็นสารตั้งต้นยาบ้าได้
ประเด็นที่ 2
"ขณะนี้ทิศทางเรื่องยาเสพติดของโลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยการยอมรับและหันกลับมาคิดว่าจะอยู่ร่วมกับยาเสพติดได้อย่างไรบ้าง" (ไพบูลย์ คุ้มฉายา)
ความเห็นของผู้เขียน
ไม่เห็นด้วยกับกรณีนี้ คำว่า ยาเสพติดในประเด็นนี้ไม่ควรหมายรวมยาบ้า คือเหมารวมไม่ได้ ควรพิจารณาเป็นรายกรณี หากจะบอกว่า กัญชา ก็พูดเป็นรายๆ พูดทีละประเด็น กำจัดไม่ได้เลยต้องอยู่ร่วมคงไม่ใช่เหตุผล ถ้ากำจัดไม่ได้ต้องหาวิธีใหม่ในการกำจัด เป้าหมายคือให้มันหมดไปไม่ใช่อยู่ร่วมกัน
ประเด็นที่ 3
"ปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งจะเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำคุกหรือปรับที่น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ โดยให้พิจารณาเป็นรายกรณีและขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา" (ไพบูลย์ คุ้มฉายา)
ความเห็นของผู้เขียน
ก็ขอบอกว่าไม่เห็นด้วยอย่างหนักแน่น เพราะขนาดบทลงโทษหนักในปัจจุบัน ยังไม่สามารถที่จะกำจัดให้หมดไปได้เลย ถ้าหากเบาลง ใครจะกลัว
ความเห็นปิดท้าย
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นที่ผู้เขียน ต้องการเสนอแนะ ติติง ให้คิดให้รอบคอบมากขึ้น จริงอยู่บางแนวคิดอาจเป็นแนวคิดที่ดี เป็นความหวังดีของผู้บริหารระดับสูง แต่ต้องคิดต่อในเรื่องการนำไปปฏิบัติด้วย ต้องรอบคอบ รัดกุม ปิดช่องโหว่ต่างๆ ที่อาจจะทำให้ความหวังดีของท่าน เป็นช่องทางในการทำมาหากินของกลุ่มคนบางกลุ่มได้
ผู้เขียน
ฐานิกา บุษมงคล
พยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ความเห็นเปิดหัว
ใครที่คิดว่ายาบ้ากับเหล้าบุหรี่เหมือนกันเนี่ย ถามหมอสักคำมั้ย ไปดูที่โรงพยาบาลจิตเวช ศูนย์บำบัดยาเสพติดบ้างมั้ย อ่านข่าวบ้างมั้ย ข่าวเสพยาบ้าแล้วทำอะไรร้ายๆ จับเป็นตัวประกัน ทำร้ายพ่อแม่ ทำร้ายลูก ทำร้ายครอบครัว หรือแม้แต่การมีคนในครอบครัวเสพยาบ้า สภาพครอบครัวเหมือนตกนรกเพียงใด อย่านั่งอ่านแต่เอกสารแล้วบอกเทรนด์เปลี่ยน ต้องตามเทรนด์โลก บ้าไปแล้ว ถามหมอ ถามผู้เชี่ยวชาญสักนิด ก่อนที่จะคิดเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคม คิดสิคิด ไม่อยากจะเชื่อเลย เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่ต้องมานั่งอธิบายว่า เลวแปลว่าเลว ร้ายแปลว่าร้าย งงจริงๆ
หากอ่านจากข่าว จะพบว่า มีเรื่องสำคัญที่ รมว.ยุติธรรมกล่าวถึง อยู่ 3 ประเด็น
ประเด็นแรก คือ
"ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะเปลี่ยนเมทแอมเฟตามีนจากยาเสพติดรุนแรงเป็นยาปกติ เพราะในทางการแพทย์เมทแอมเฟตามีนมีผลทำลายสุขภาพและสมองน้อยกว่าบุหรี่และสุรา" (ไพบูลย์ คุ้มฉายา)
ความเห็นของผู้เขียน
กรณีนี้ หากนำไปใช้ในประโยชน์ในทางการแพทย์ ผู้เขียนก็เห็นด้วย แต่ต้องไม่ลืมว่าในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยคอรัปชั่น แม้แต่ในโรงพยาบาลก็ยังมีข่าวเภสัชกรบางโรงพยาบาลถูกจับจากกรณีประมาณนี้ แล้วท่านคิดว่าจะควบคุมเรื่องการนำเข้า การจำหน่ายสารตั้งต้นได้ หรือ ไม่ ผู้เขียนจึงขอเสนอความเห็นว่า ควรอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะยาที่มีสารเมทแอมเฟตามีนเป็นส่วนประกอบ คือปรุงสำเร็จเป็นยารักษาโรคเรียบร้อยแล้ว แต่ห้ามนำเข้าเมทแอมเฟตามีนบริสุทธิ์ที่อาจนำมาเป็นสารตั้งต้นยาบ้าได้
ประเด็นที่ 2
"ขณะนี้ทิศทางเรื่องยาเสพติดของโลกกำลังเปลี่ยนไปด้วยการยอมรับและหันกลับมาคิดว่าจะอยู่ร่วมกับยาเสพติดได้อย่างไรบ้าง" (ไพบูลย์ คุ้มฉายา)
ความเห็นของผู้เขียน
ไม่เห็นด้วยกับกรณีนี้ คำว่า ยาเสพติดในประเด็นนี้ไม่ควรหมายรวมยาบ้า คือเหมารวมไม่ได้ ควรพิจารณาเป็นรายกรณี หากจะบอกว่า กัญชา ก็พูดเป็นรายๆ พูดทีละประเด็น กำจัดไม่ได้เลยต้องอยู่ร่วมคงไม่ใช่เหตุผล ถ้ากำจัดไม่ได้ต้องหาวิธีใหม่ในการกำจัด เป้าหมายคือให้มันหมดไปไม่ใช่อยู่ร่วมกัน
ประเด็นที่ 3
"ปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งจะเปิดช่องให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำคุกหรือปรับที่น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ โดยให้พิจารณาเป็นรายกรณีและขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา" (ไพบูลย์ คุ้มฉายา)
ความเห็นของผู้เขียน
ก็ขอบอกว่าไม่เห็นด้วยอย่างหนักแน่น เพราะขนาดบทลงโทษหนักในปัจจุบัน ยังไม่สามารถที่จะกำจัดให้หมดไปได้เลย ถ้าหากเบาลง ใครจะกลัว
ความเห็นปิดท้าย
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นที่ผู้เขียน ต้องการเสนอแนะ ติติง ให้คิดให้รอบคอบมากขึ้น จริงอยู่บางแนวคิดอาจเป็นแนวคิดที่ดี เป็นความหวังดีของผู้บริหารระดับสูง แต่ต้องคิดต่อในเรื่องการนำไปปฏิบัติด้วย ต้องรอบคอบ รัดกุม ปิดช่องโหว่ต่างๆ ที่อาจจะทำให้ความหวังดีของท่าน เป็นช่องทางในการทำมาหากินของกลุ่มคนบางกลุ่มได้
ผู้เขียน
ฐานิกา บุษมงคล
พยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาพจาก http://office.bangkok.go.th/doh/daptd/Knowledge/knowledge001.html
ความคิดเห็น