เหตุผลที่ทราบข่าวสวรรคตของในหลวงแล้วมีปฏิกิริยาแตกต่างกัน
โดย ฐานิกา บุษมงคล
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
เมื่อคนเราได้รับข่าวร้าย ดังที่พวกเรากำลังได้รับทราบเรื่องการสวรรคตของในหลวง ร 9 ก็จะมีปฏิกิริยาต่างๆนาๆตามแนวคิดของ คูเบอร์ รอส (Kubler Ross) ดังนี้
1 ระยะปฏิเสธ (The stage of denial) เมื่อได้รับข่าวร้ายแล้วปฏิเสธความจริง คิดว่าไม่ใช่เรื่องจริง ซึ่งหลายคนที่ทราบข่าวสวรรคต ในเบื้องแรกก็คงรู้สึกแบบนี้
2 ระยะโกรธ (The stage of anger) เมื่อไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้นได้ ต่อมาก็รู้สึกโกรธต่อโชคชะตาของตัวเอง หรือกล่าวโทษผู้อื่น หรือระบายอารมณ์ใส่ผู้ใกล้ชิด หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุหรือเหตุผล เช่นเที่ยวไปไล่ด่าคนที่ไม่ทำตามที่ตัวเองคิด คนที่ไม่ใส่เสื้อดำ ไม่เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ หรือโกรธคนอื่นๆที่ทำไม่ถูกใจตัวเอง
3 ระยะต่อรอง (The stage of bargaining) เริ่มยอมรับแต่พยายามต่อรองกับสิ่งที่ตนเองนับถือหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่มีอำนาจที่มองไม่เห็น อาจบนบานหรือทำบุญ สิ่งเหล่านี้จะทำให้รู้สึกมีความหวังขึ้น เหมือนกับที่บางคนก็เปลี่ยนวิธีคิดว่า พระองค์ยังอยู่กับเรา ท่านอยู่บนสวรรคาลัย ท่านคอยปกปักรักษาเรา ประมาณนี้
4 ระยะซึมเศร้า (The stage of depression) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และแยกตัว เมื่อเริ่มตระหนักว่าเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน ในระยะนี้คนใกล้ชิด คนที่ทำใจได้ก่อน ก็ควรดูแลใกล้ชิด คอยให้กำลังใจ ย้ำเรื่องคำสอนของในหลวง เพื่อให้คนที่ซึมเศร้า หาความหมายของการมีชีวิตอยู่ต่อ เช่นเพื่อทำดีถวายในหลวง ในหลวงสอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น
5 ระยะยอมรับ (The stage of acceptance) ประชาชนยอมรับความเป็นจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น และยอมรับว่าการสวรรคตของในหลวงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามหลัก เกิด แก่ เจ็บตาย สิ่งที่เหลืออยู่คือบุญญาบารมีที่พระองค์สั่งสมสร้างไว้ และ ในฐานะลูกหลานไทยควรทำความดีถวายท่าน ไม่ลืมท่าน ทำทุกอย่างให้ท่านอย่างสมพระเกียรติ
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อข่าวร้าย ทั้ง 5 ระยะ ในสำหรับคนที่รับข่าวร้ายแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นตามขั้นตอนตามลำดับ บางคนอาจรับข่าวแล้วซึมเศร้าเลย บางคนรับข่าวแล้วโมโหโกรธาเป็นระยะปฏิเสธเลย หรือบางคนยอมรับความจริงได้อย่างสงบ แถมยังให้กำลังใจผู้อื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางร่างกาย จิตสังคม จิตวิญญาณ ของแต่ละบุคคลด้วย
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
เมื่อคนเราได้รับข่าวร้าย ดังที่พวกเรากำลังได้รับทราบเรื่องการสวรรคตของในหลวง ร 9 ก็จะมีปฏิกิริยาต่างๆนาๆตามแนวคิดของ คูเบอร์ รอส (Kubler Ross) ดังนี้
1 ระยะปฏิเสธ (The stage of denial) เมื่อได้รับข่าวร้ายแล้วปฏิเสธความจริง คิดว่าไม่ใช่เรื่องจริง ซึ่งหลายคนที่ทราบข่าวสวรรคต ในเบื้องแรกก็คงรู้สึกแบบนี้
2 ระยะโกรธ (The stage of anger) เมื่อไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้นได้ ต่อมาก็รู้สึกโกรธต่อโชคชะตาของตัวเอง หรือกล่าวโทษผู้อื่น หรือระบายอารมณ์ใส่ผู้ใกล้ชิด หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุหรือเหตุผล เช่นเที่ยวไปไล่ด่าคนที่ไม่ทำตามที่ตัวเองคิด คนที่ไม่ใส่เสื้อดำ ไม่เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ หรือโกรธคนอื่นๆที่ทำไม่ถูกใจตัวเอง
3 ระยะต่อรอง (The stage of bargaining) เริ่มยอมรับแต่พยายามต่อรองกับสิ่งที่ตนเองนับถือหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่มีอำนาจที่มองไม่เห็น อาจบนบานหรือทำบุญ สิ่งเหล่านี้จะทำให้รู้สึกมีความหวังขึ้น เหมือนกับที่บางคนก็เปลี่ยนวิธีคิดว่า พระองค์ยังอยู่กับเรา ท่านอยู่บนสวรรคาลัย ท่านคอยปกปักรักษาเรา ประมาณนี้
4 ระยะซึมเศร้า (The stage of depression) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และแยกตัว เมื่อเริ่มตระหนักว่าเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน ในระยะนี้คนใกล้ชิด คนที่ทำใจได้ก่อน ก็ควรดูแลใกล้ชิด คอยให้กำลังใจ ย้ำเรื่องคำสอนของในหลวง เพื่อให้คนที่ซึมเศร้า หาความหมายของการมีชีวิตอยู่ต่อ เช่นเพื่อทำดีถวายในหลวง ในหลวงสอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น
5 ระยะยอมรับ (The stage of acceptance) ประชาชนยอมรับความเป็นจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น และยอมรับว่าการสวรรคตของในหลวงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามหลัก เกิด แก่ เจ็บตาย สิ่งที่เหลืออยู่คือบุญญาบารมีที่พระองค์สั่งสมสร้างไว้ และ ในฐานะลูกหลานไทยควรทำความดีถวายท่าน ไม่ลืมท่าน ทำทุกอย่างให้ท่านอย่างสมพระเกียรติ
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อข่าวร้าย ทั้ง 5 ระยะ ในสำหรับคนที่รับข่าวร้ายแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นตามขั้นตอนตามลำดับ บางคนอาจรับข่าวแล้วซึมเศร้าเลย บางคนรับข่าวแล้วโมโหโกรธาเป็นระยะปฏิเสธเลย หรือบางคนยอมรับความจริงได้อย่างสงบ แถมยังให้กำลังใจผู้อื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางร่างกาย จิตสังคม จิตวิญญาณ ของแต่ละบุคคลด้วย
ความคิดเห็น