การสอนผู้ป่วย Pulmonary edema หายใจ by supachai triukose

เมื่อหลายวันก่อน มีนักศึกษาท่านหนึ่ง เขียนถามเพื่อนๆ 
เกี่ยวกับ การสอนและฝึกผู้ป่วยด้วยเทคนิคการหายใจ
ในผู้ป่วยที่หายใจลําบาก เนื่องจากมี Pulmonary edema ใน Congestive Heart Failure

ผมจะตอบตั้งหลายวันแล้ว แต่ระยะนี้มีงานมากหน่อย เพิ่งจะมีเวลา แต่ผมหาคําถามไม่พบ จึงนํามาเขียนไว้ที่นี่ เพราะคิดว่าเป็นคําถามที่ดี น่าจะมีประโยชน์ให้เราได้เรียนรู้......

จริงๆแล้วผู้ป่วยที่หายใจลําบาก 
เนื่องจากมี Pulmonary edema ใน Congestive Heart Failure 
ไม่มีเท็คนิคการหายใจที่ช่วยผู้ป่วยที่หายใจลําบาก
เนื่องจากสาเหตุ Pulmonary edema ในผู้ป่วย Congestive heart failure 
เกิดเพราะหัวใจล้มเหลว
เกิดจาก หัวใจห้องล่างซ้าย left ventricle ปั้มเลือดออกจากหัวใจได้ไม่ดีพอ (ได้น้อย) จึงทําให้มีจํานวนเลือดเหลือคั้งค้างในหัวใจข้างซ้าย เมื่อมีมากขึ้นก็มีผลให้เลือดคั้งอยู่ในปอด Pressure ใน pulmonary vein เพิ่มมากขึ้น จึงทําให้ fluids ในเส้นเลือดที่ปอดซึมออก (leak) ไปในปอดซึ่งเราเรียกว่า Pulmonary edema

จากสาเหตุของ Heart failure. การช่วยให้ผู้ป่วยหายใจดีขึ้นจากสาเหตุนี้ ก็คือ 
การลด fluids ที่คั้งในปอดให้น้อยลง อาทิเช่น.... 
1- ลด fluids intake ( such as decrease IV fluids and oral fluids intake )..... 
2 - กําจัด fluids ออกจากร่างกายโดยใช้ยาขับปัสสาวะ Diuretic ( โดยเฉพาะพวก Loop Diuretic such as Lasix or Bumex )... 
3 ช่วยหัวใจทํางานให้มีประสิทธภาพดีขึ้น เช่นการแก้ไขหัวใจที่เต้นผิดปกติให้เต้นเป็นปกติ เช่นการใช้ยาพวก Anti- Arrhythmic drugs หรือ Cardioversion or Pacemaker ( เต้นช้าไป ก็ทําให้เต้นไวขึ้นเพียงพอ เต้นไวไปก็ทําให้เต้นช้าลงเพียงพอ หรือเต้นผิดปกติอย่างเช่น Atrial Fibrillation, Ventricular tachycardia or Supraventricular Tachycardia เราจะใช้ยาพวก Anti-Arrhythmai drugs or Electrical Therapy cardioversion ) หรือใช้ยาบีบกล้ามเนื้อของหัวใจพวก Inotropic drugs ( Dobutamine, Milrinone ) เป็นต้น
4 - ลดจํานวนเลือดที่กลับมาที่หัวใจให้น้อยลง ( decrease Preload ) โดยการใช้ยาขยายหลอดเลือดพวก Nitrate ( Nitroglycerine ) หรือ Morphine ( Morphine ยังมีผลในการลด Anxiety อีกด้วย.
ส่วนการหายใจลําบากเนื่องจาก COPD , Emphysema 
Emphysema ถุงลมโป่งพอง มีการทำลายถุงลมที่มีขนาดเล็ก ภายในปอด (alveoli) ซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะเหมือนพวงองุ่น เมื่อผิวด้านในของถุงลมถูกทำลาย 
เป็นเหตุให้การแลกเปลี่ยน Oxygen และ carbon dioxide ลดลงนอกจากนั้น 

ในถุงลมโป่งพองยังทำให้ผนังของถุงลมอ่อนแอ ความยืดหยุ่นหายไป เมื่อเวลาหายใจออก ลมจะถูกกักไว้ในกลุ่มของถุงลม เพราะมันไม่เปิดให้ลมออกไปได้ เป็นเหตุให้คนไข้ต้องออกแรงเพิ่มขึ้น เพื่อขับดันเอาอาการออก ทำให้คนไข้หายใจถี่ และสั้น ( shortness of breath ) 
ด้วยเหตุผลดังนี้เราสามารถฝึกการหายใจ

ให้ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการหายใจลําบากได้
1. โดยสอนและฝึกผู้ป่วยด้วยเทคนิคการหายใจโดย “ การห่อปาก ” (Purse-Lip breathing) โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าทางจมูกช้าๆและลึกๆ จากนั้นหายใจออกทางปากโดย“ห่อปาก” เล็กน้อยลักษณะคล้ายผิวปาก โดยการหายใจออกทางปากนั้นให้ยาวนานเป็น 2 เท่าของการหายใจเข้า ซึ่งเป็นการทำให้เกิดแรงต้านของลมหายใจออกเพิ่มขึ้น ป้องกันการหดตัวของถุงลมและหลอดลมอย่างรวดเร็วทำให้อากาศไม่คั่งค้าง 
2. โดยสอนฝึก “ การหายใจ ” โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลม จะช่วยแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ ทำให้มีการระบายอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าช 
3. และฝึกสอนเทคนิค “ การไอที่มีประสิทธิภาพ ” เพื่อกำจัดเสมหะ และหลั่ง สิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในทางเดินหายใจ 

by  Supachai Triukose

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)