ดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับการทำ Endovascular Coiling by supachai triukose

วันนี้ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วย
ที่ได้รับการทำ Endovascular Coiling 
ซึ่งเป็นวิธีการรักษา Brain aneurysm 
ที่ทำกันมากขึ้น
เมื่อสมัย 10- 30 ปีก่อน
ที่ผมทำงานใน ICU 

ผู้ป่วย Brain aneurysm 
จะได้รับการรักษา ที่เรียกว่า
Surgical Clipping 
ต้องผ่าตัดผ่านกระโหลกศรีษะ
แล้วไป clip ที่ส่วนคอของ Aneurysm
แต่สมัยนี้วิทยาการก้าวหน้าไปมาก
การรักษาส่วนมากไม่ต้องผ่าตัด
เพียงสอดสาย Catheter เข้าไปทางเส้นเลือดแดง ปลายสาย อยู่ที่ตำแหน่งของ Aneurysm 

หลังจากนั้น หมอก็จะฉีดขดลวดที่ทำด้วย platinum ลวดนี้มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม เข้าไป fill aneurysm เพื่อป้องกันเลือดไหลผ่านเข้าไปในส่วนของ aneurysm

การทำ Coil embolization . เป็นวิธีการที่ผมไม่ค่อยได้พบบ่อยมากนัก เพราะ นอกจากเพิ่งจะมีการทําเมื่อปี ค.ศ.1991 ที่ UCLAและมีแพทย์ที่ชํานาญน้อย

เมื่อก่อนการดูแลรักษา Cerebral aneurysm ด้วยวิธีการผ่าตัดสมอง Craniotomy และทำ surgical clipping โดยใช้ silver clip ตรงส่วนคอของ aneurysm 

จุดประสงค์ในการทำ clipping หรือการทำ Coil embolization ที่ใช้ในการดูแลรักษา Cerebral aneurysm ก็เพื่อป้องกันการ rupture ของ unruptured aneurysm และป้องกันการ re-bleeding ในกรณีที่มีการ ruptured aneursm แล้ว

การทำ endovascular โดยการเจาะใส่สาย catheter เข้าไปทาง Femoral artery ไม่ต้องผ่าตัดสมอง Craniotomy สาย catheter นี้จะไปที่ส่วนของเส้นเลือด ที่มี aneurysm หลังจากนั้นจะฉีดสารที่เรียกว่า platinum coil เข้าไป fill ส่วนที่เป็น aneurysm การทำcoil embolization อาจทําร่วมกับ stent และ balloon เพื่อให้สาร coil อยู่ในส่วนของ Aneurysm.

เมื่อเปรียบเทียบการรักษาทั้งสองวิธีนี้ การใส่ขดลวด Coiling จะพบว่ามีปัญหาแทรกซ้อนน้อยกว่าการทำ Surgical Clipping ผู้ป่วยที่ทำ Coiling สวนมากจะได้กลับบ้านในวันรุ่งขึ้น และสามารถมีกิจกรรมเป็นปกติได้ในวันต่อไป ส่วนผู้ป่วย ผ่าตัด Clipping ส่วนมากต้องอยู่ในโรงพยาบาล 2 - 3 วัน และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องจำกัดกิจกรรมบางอย่างเป็นเวลา 2 - 3 เดือน

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)